Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8402
Title: การศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยการรำมวยไทชิที่มีต่อความสามารถทางกลไกทั่วไป สมาธิและความแม่นยำในการยิงปืนของนักกีฬายิงปืนเยาวชนทีมชาติไทย
Other Titles: A study of the supplementary training with Tai-Chi on general motor ability, concentration and shooting accuracy of Thai national youth shooter
Authors: กษมา ซื่อสกุลไพศาล
Advisors: วิชิต คนึงสุขเกษม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว
ความสามารถทางกลไก
มวยจีน
ไทชิ
นักยิงปืน -- ไทย
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยการรำมวยไทชิที่มีต่อความสามารถของ กลไกทั่วไป สมาธิ ความแม่นยำในการยิงปืน และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับความแม่นยำในการยิงปืน ของนักกีฬายิงปืนเยาวชนทีมชาติไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬานักกีฬายิงปืนยาวอัดลมเยาวชน ทีมชาติไทย จำนวน 8 คน ประกอบด้วยนักกีฬาเพศชายจำนวน 4 คน และเพศหญิงจำนวน 4 คน อายุระหว่าง 15-19 ปี ได้มาด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้รับการทดลอง ฝึกเสริมด้วยการรำมวยไทชิและฝึกตามปกติ โดยฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ คือ วันจันทร์ พุธ และวันศุกร์ใช้เวลาในการฝึก 8 สัปดาห์ โดยทำการทดสอบ ความแม่นยำในการยิงปืน ค่าความแปรปรวนของอัตราการเต้นหัวใจ การไหลของเลือด ความจุปอด ความสัมพันธ์ของมือและตา เวลาในการตอบสนอง ความสมดุลของร่างกาย ความอ่อนตัว และความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อมือ ก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูล ทางสถิติโดยการหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า ที (t-test) วิเคราะห์หาสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สันโพรดัคโมเมนต์ (Pearson product moment correlation coefficient) ของค่าเฉลี่ย ความสัมพันธ์ของมือและตา เวลาในการตอบสนอง ความสมดุลของร่างกาย ความอ่อนตัว และความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อมือ กับความแม่นยำในการยิงปืน โดยทดสอบความมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ในนักกีฬายิงปืนที่ได้รับการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการรำมวยไทชิ แล้วตาม ด้วยการฝึกซ้อมตามปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง ผลปรากฏว่า มีค่าเฉลี่ยเวลาในการตอบสนอง ลดลง ความสมดุลของร่างกาย และความอ่อนตัวมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ในนักกีฬายิงปืนที่ได้รับการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการรำมวยไทชิแล้วตาม ด้วยการฝึกซ้อมตามปกติ ค่าความแปรปรวนของอัตราการเต้นหัวใจเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง ผลปรากฏว่าค่า HF และ LF/HF ratio ลดลง อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับความแม่นยำในการยิงปืน พบว่าค่า LF ค่า HF ค่า LF/HF ratio การไหลของเลือด ความจุปอด ความสัมพันธ์ของมือและตาเวลาในการตอบสนองความสมดุลของ ร่างกาย ความอ่อนตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ ไม่มีความสัมพันธ์กับความแม่นยำในการยิงปืน
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of the supplementary training with Tai-Chi on general motor ability, concentration and shooting accuracy of Thai national youth shooter and also to study the relationship between those variables and the shooting accuracy. The subjects were 8 Thai national youth rifle shooters; 4 males and 4 females, aged between 15-19 years old, sampled by purposive random sampling. The subjects were trained with Tai-Chi and the regular shooting training 3 times a week on Monday, Wednesday, and Friday for 8 weeks. The researcher measured shooting accuracy, Heart Rate Variability (HRV), blood flow, vital capacity, hand-eye coordination, reaction time, body balance, flexibility and grip strength both before and after 8 weeks of training. The results were statistically analyzed by Mean, S.D, t-test and Pearson product moment correlation coefficient. The experiment was employed to determine the significant difference at the .05 level. Research results indicated that : 1. After 8 weeks of the experiment, shooters who trained with Tai-Chi and the regular shooting training showed significant decrease in reaction time and significant increase in body balance and flexibility at the 0.05 level. 2. After 8 weeks of the experiment, shooters who trained with Tai-Chi and the regular shooting training showed no significant decrease of HF and LF/HF ratio in heart rate variability (HRV). 3. There were no correlation coefficients between LF, HF, LF/HF ratio, blood flow, vital capacity, hand-eye coordination, reaction time, body balance, flexibility, grip strength and shooting accuracy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8402
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1179
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1179
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kasama.pdf9.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.