Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84083
Title: The difference of plasma 16s ribosomal bacterial deoxyribonucleic acid level between cirrhotic patients with and without hepatic encephalopathy
Other Titles: ความแตกต่างของระดับ 16 เอส ไรโบโซมอลดีเอ็นเอของแบคทีเรียในพลาสมาของผู้ป่วยตับแข็งที่มีและไม่มีอาการทางสมองเนื่องจากโรคตับ
Authors: Kessarin Thanapirom
Advisors: Piyawat Komolmit
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Medicine
Issue Date: 2022
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Background: Bacterial translocation (BT) and systemic inflammation play a key role in the pathogenesis of cirrhotic complications. The 16S ribosomal bacterial DNA (bactDNA) has been widely used as a marker of BT. The data on the relationship between BT, systemic inflammation and hepatic encephalopathy (HE) are scarce. This study aimed to assess the difference between plasma 16s ribosomal bactDNA and HE in patients with cirrhosis. Method: Cirrhotic patients without bacterial infection were enrolled at Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, from August 2021 to December 2022. Grading of HE was classified by the West Haven Criteria and Psychometric hepatic encephalopathy score (PHES) ≤ -5. BactDNA, lipopolysaccharide-binding protein (LBP), tumor necrosis factor-alpha (TNF-α), interleukin-6 (IL-6), soluble CD14, and venous ammonia levels were all measured. Results: Overall, 294 cirrhotic patients were enrolled, with 92 (31.3%) and 58 (19.7%) having covert and overt HE, respectively. BactDNA was found in 31.3%, 35.9%, and 48.3% of patients with no HE, covert HE and overt HE, respectively. Patients with overt HE had more bactDNA translocation, and higher levels of serum LBP, neutrophil-to-lymphocyte ratio, TNF-α, IL-6, and ammonia than those without HE. Patients with detectable bactDNA had higher white cell counts and serum LBP and IL-6 levels than those without. Levels of plasma bactDNA had a weak significantly positive correlation with venous ammonia, TNF-α and IL-6 (r=0.13-0.32, p0.05). Conclusion: Apart from hyperammonemia, bactDNA translocation-related systemic inflammation might be a potential pathophysiological mechanism of overt HE in cirrhotic patients.
Other Abstract: ที่มาของงานวิจัย: การเคลื่อนย้ายของเชื้อหรือองค์ประกอบของแบคทีเรียออกนอกลำไส้และการอักเสบทั่วร่างกายมีบทบาทสำคัญในพยาธิกำเนิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในผู้ป่วยตับแข็ง การตรวจ 16 เอส ไรโบโซมอลดีเอ็นเอของเชื้อแบคทีเรียได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการบ่งชี้ภาวะการเคลื่อนย้ายของเชื้อหรือองค์ประกอบของแบคทีเรียออกนอกลำไส้ ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างระดับของ16 เอส ไรโบโซมอลดีเอ็นเอและการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมองจากโรคตับ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ศึกษาความแตกต่างระหว่าง 16 เอส ไรโบโซมอลดีเอ็นเอ และอาการแทรกซ้อนทางสมองในผู้ป่วยโรคตับแข็ง ระเบียบวิธีการวิจัย: ผู้ป่วยตับแข็งที่ไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ยินยอมเข้าร่วมการศึกษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2565 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการประเมินระดับของอาการทางสมองโดยใช้เกณฑ์เวสต์ฮาเวน แบบประเมินอาการทางสมองในผู้ป่วยโรคตับที่คะแนน ≤ -5 และตรวจค่าพลาสมา 16 เอส ไรโบโซมอลดีเอ็นเอ ซีรัมไลโปโพลีแซคคาไรด์บายดิ้งโปรตีน ทูเมอร์เนคโครซิสแฟกเตอร์ อินเตอร์ลิวคิน-6 โซลูเบิ้ลซีดี 14 และระดับของแอมโมเนียในหลอดเลือดดำ ผลการศึกษา: ผู้ป่วยตับแข็งทั้งสิ้น 294 รายเข้าร่วมการศึกษา ในจำนวนนี้ร้อยละ 31.3 มีภาวะแทรกซ้อนทางสมองแอบแฝง และร้อยละ 19.7 มีภาวะแทรกซ้อนทางสมองแบบเด่นชัด ตรวจพบดีเอ็นเอของแบคทีเรียร้อยละ 31.3 ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการทางสมอง ร้อยละ35.9 ในผู้ป่วยที่มีอาการทางสมองแอบแฝง และร้อยละ 48.3 ในผู้ป่วยที่มีอาการทางสมองแบบเด่นชัดตามลำดับ ผู้ป่วยที่มีอาการทางสมองแบบเด่นชัดจะพบการเคลื่อนย้ายของดีเอ็นเอแบคทีเรีย และมีระดับซีรัมไลโปโพลีแซคคาไรด์บายดิ้งโปรตีน สัดส่วนของเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลต่อลิมโฟไซท์ ทูเมอร์เนคโครซิสแฟกเตอร์ อินเตอร์ลิวคิน-6 และแอมโมเนียสูงกว่าผู้ที่ไม่มีอาการทางสมอง ระดับของดีเอ็นเอของแบคทีเรียมีความสัมพันธ์เชิงบวกเล็กน้อยแบบมีนัยสำคัญทางสถิติไปกับระดับทูเมอร์เนคโครซิสแฟกเตอร์ อินเตอร์ลิวคิน-6 และแอมโมเนีย ขณะที่ระดับของดีเอ็นเอของแบคทีเรียไม่มีความสอดคล้องไปกับระดับซีรัมไลโปโพลีแซคคาไรด์บายดิ้งโปรตีน ทูเมอร์เนคโครซิสแฟกเตอร์ โซลูเบิ้ลซีดี 14 อินเตอร์ลิวคิน-6 แอมโมเนียและคะแนนจากแบบประเมินทางสมอง สรุป: นอกจากระดับแอมโมเนียที่สูง การเคลื่อนย้ายของเชื้อแบคทีเรียอาจจะเป็นอีกพยาธิกำเนิดที่สำคัญของการเกิดอาการทางสมองแบบเด่นชัดในผู้ป่วยโรคตับแข็ง
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2022
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Medicine
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84083
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6371002830.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.