Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84122
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน | - |
dc.contributor.author | วันวิสาข์ เสาว์สิงห์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2024-02-05T09:54:06Z | - |
dc.date.available | 2024-02-05T09:54:06Z | - |
dc.date.issued | 2566 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84122 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสำรวจสภาพกรอบความคิดเติบโตในการเรียนออนไลน์ของนักเรียน 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลพหุระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อกรอบความคิดเติบโตในการเรียนออนไลน์ของนักเรียน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนากรอบความคิดเติบโตในการเรียนออนไลน์ของนักเรียน ตัวอย่างวิจัยประกอบด้วยครูจำนวน 63 คน และนักเรียน จำนวน 1,201 คน กำหนดตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากโรงเรียนในสังกัด สพฐ. เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ 2 ฉบับ คือ แบบสอบถามสำหรับครูและสำหรับนักเรียน ส่วนข้อมูลสำหรับการออกแบบแนวทางการพัฒนากรอบความคิดเติบโตในการเรียนออนไลน์ของนักเรียนเก็บรวบรวมโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายในการบรรยายสภาพกรอบความคิดเติบโตในการเรียนออนไลน์และปัจจัยต่าง ๆ ในขณะที่การวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อกรอบความคิดเติบโตในการเรียนออนไลน์ของนักเรียนจะวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ (2 ระดับ) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพจะวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ากรอบความคิดเติบโตในการเรียนออนไลน์ของนักเรียนภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียนพบว่าโรงเรียนทุกขนาดมีกรอบความคิดเติบโตในการเรียนออนไลน์ของนักเรียนอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์ MSEM พบว่าโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของกรอบความคิดเติบโตในการเรียนออนไลน์ของนักเรียนสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 121.477, df = 66, p = .000, CFI = .996, TLI = .988, RMSEA = .026) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยระดับนักเรียนพบว่าแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีอิทธิพลต่อกรอบความคิดเติบโตในการเรียนออนไลน์สูงที่สุด นอกจากนี้แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ยังส่งผ่านอิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อกรอบความคิดเติบโตในการเรียนออนไลน์ ส่วนการสนับสนุนของเพื่อนมีอิทธิพลทางบวกในขณะที่การสนับสนุนของผู้ปกครองมีอิทธิพลทางลบต่อกรอบความคิดเติบโตในการเรียนออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยระดับครูพบว่าทั้งการจัดการเรียนรู้ของครูและการสนับสนุนของครูมีอิทธิพลต่อกรอบความคิดเติบโตในการเรียนออนไลน์ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพสามารถนำมาใช้ออกแบบแนวทางในการเรียนออนไลน์ของนักเรียนที่มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การประเมินระหว่างทาง และการให้ข้อมูลป้อนกลับ แนวทางที่นำเสนอในงานวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 แนวทางย่อย คือ 1) การส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ผ่านกิจกรรมในชั้นเรียนออนไลน์ และ 2) การประสานความร่วมมือระหว่างบ้านและโรงเรียนในการส่งเสริมกรอบความคิดเติบโตในการเรียนออนไลน์ | - |
dc.description.abstractalternative | The research aimed to 1) survey students’ growth mindset in online learning, 2) analyze the multilevel effects of factors on students’ growth mindset in online learning, and 3) propose guidelines for growth mindset development to enhance online learning efficiency of students. Samples were 63 teachers and 1,201 students using multi-stage random sampling from OBEC schools. Online questionnaires were used for data collection which separated into 2 forms, one for students, and another for teachers. Data to design guidelines were collected using a focus group method. Descriptive statistics were used to describe the status of students’ growth mindset in online learning and its factors, while the 2-level MSEM was used to analyze the multilevel effects of factors on students’ growth mindset in online learning. Moreover, the qualitative data were analyzed using content analysis technique. The results showed that the overall growth mindset in online learning of students was high level. When classifying by school size, all of school sizes had scores of growth mindset in online learning in high level. Considering the results from MSEM, the multilevel model of growth mindset in online learning was consistent with the empirical data ( = 121.477, df = 66, p = .000, CFI = .996, TLI = .988, RMSEA = .026). The results from the student-level, achievement motivation had the highest effect on growth mindset in online learning. Moreover, achievement motivation mediated the effect form self-efficacy to growth mindset in online learning. Peer support had a significantly positive effect while parental support had a significantly positive effect on growth mindset in online learning at .05 level. When the results from the teacher-level revealed that both teacher learning management and teachers support were significantly influenced the growth mindset in online learning at .05 level. According to quantitative research results and qualitative data, guidelines for growth mindset development to enhance online learning efficiency of students were designed focusing on active learning activities, formative assessment, and feedback. The guidelines were divided into 2 parts consisted of 1) promoting self-efficacy and achievement motivation using online learning activities, and 2) family-and-school cooperation to promote growth mindset in online learning. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | แนวทางการพัฒนากรอบความคิดเติบโตเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการเรียนออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ | - |
dc.title.alternative | Guidelines for growth mindset development to enhance online learning efficiency of high school students : a multilevel structural equation model analysis | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | สถิติและสารสนเทศการศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6183414627.pdf | 4.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.