Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8430
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนภัสสวงศ์ โอสถศิลป์-
dc.contributor.authorเทพฤทธิ์ นทีรัยไทวะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-11-07T06:36:02Z-
dc.date.available2008-11-07T06:36:02Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741757832-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8430-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractนำเสนอผังความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาและสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดเวลานำของการผลิตที่ยาวนาน และหาแนวทางลดเวลานำของการผลิตของโรงงานกรณีศึกษา ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเทปลูกไม้ แนวคิดและหลักการที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์คือ การรวบรวมความสูญเปล่า 7 ประการ ความสูญเสียหลัก 16 ประการ รวมถึงปัญหาและสาเหตุต่างๆ ที่ส่งผลต่อเวลานำของการผลิต มาจัดทำเป็นผังความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาและสาเหตุ ที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดเวลานำของการผลิตที่ยาวนาน หลังจากนั้นจะนำแนวคิดเกี่ยวกับระบบการผลิตแบบโตโยต้า ระบบการผลิตแบบลีน และระบบการผลิตเพื่อการตอบสนองที่รวดเร็ว มาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขปัญหา ขั้นตอนการดำเนินงานของงานวิจัยนี้ จะทำตามขั้นตอนการทำงานของซิกซ์ ซิกม่า ประกอบด้วย การนิยามปัญหา การวัดและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหา การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา การปรับปรุงแก้ไขปัญหา และการควบคุมและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพบว่าสาเหตุที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเวลานำของการผลิตของผลิตภัณฑ์ที่ถูกเลือกศึกษาคือ ปัญหาในเรื่องการวางแผนกำลังการผลิต แนวทางในการแก้ปัญหาทำได้โดยการคำนวณค่าสัดส่วน ระหว่างปริมาณความต้องการสินค้าเทียบกับความสามารถในการผลิต เพื่อวางแผนในการเพิ่มจำนวนเครื่องจักร และใช้ทฤษฎีของข้อจำกัดมาพิจารณาหาขั้นตอนที่เป็นคอขวดของกระบวนการผลิต ปัญหาในเรื่องการไม่ทราบถึงจำนวนพนักงานที่เหมาะสม และหน้าที่ของพนักงานขาดความชัดเจน แนวทางในการแก้ปัญหาทำได้โดยการออกแบบระบบการทำงานในรูปแบบใหม่ และเพิ่มจำนวนพนักงานให้เหมาะสมโดยใช้เทคนิคการจำลองปัญหาช่วยในการคำนวณ ประกอบกับการสร้างมาตรฐานการทำงานมาใช้ควบคุมการปฏิบัติงาน ปัญหาเรื่องเครื่องจักรขาดการบำรุงรักษา แนวทางในการแก้ปัญหาทำได้โดยการจัดทำแผนบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน และการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง ปัญหาเรื่องความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน แนวทางในการแก้ปัญหาทำได้โดยการนำเทคนิค ECRS มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน และออกแบบอุปกรณ์สำหรับใช้ในการขนย้ายผลผลิตขึ้นใหม่ ปัญหาเรื่องพนักงานขาดการฝึกอบรมในวิธีการทำงาน แนวทางในการแก้ปัญหาทำได้โดยการจัดอบรมวิธีการทำงาน ให้กับพนักงานทุกคนให้มีวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งหลังการนำแนวทางการปรับปรุงแก้ไขไปใช้พบว่า เวลานำของการผลิตลดลงจาก 25.11 วัน เหลือ 19 วัน สัดส่วนเวลานำของการผลิตที่ลดลงคิดเป็น 24.33%en
dc.description.abstractalternativeTo create the relation diagrams between causes and effects that influence long-term lead time and develop methods of reducing manufacturing lead time. Lace tape factory was examined in this case study. In principal, the analytical method were that 7 wastes, 16 major losses and data including causes and effects that influence the manufacturing lead time were collected to the relation diagrams. Subsequently, Toyota production system, learn production and quick response manufacturing were utilized to improve the solutions for the problem. This research follows the six sigma procedure, involving of define, measure, analyze, improve and control phases. For chosen product in the case study, the problems affecting manufacturing lead time were split to 5 groups. The capacity planning problem can be solved by calculating demand/capacity ratio to help plan the appropriate number of machines. After that, theory of constraint was applied to identify the bottleneck process. The problem about the proper number of imployees and the duty of the employees can be solved by initiating new working system and using simulation method to help plan the appropriate number of employees. In addition, work standardization was used to control the operating system. The insufficient maintenance of machines problem can be overcome by employing preventive maintenance and autonomous maintenance. In addition, the non-value added activities problem was reduced by using ECRS technique and inventing new equipment to convey the products. Furthermore, the training program was performed to promote work standardization to solve the lack of training problem. As the policy regarding lead time reduction was applied, lead time was decreased from 25.11 days to 19 days, which is equal to 24.33% reduction.en
dc.format.extent2101737 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการควบคุมความสูญเปล่าen
dc.subjectการควบคุมการผลิตen
dc.subjectการกำหนดงานการผลิตen
dc.subjectซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ)en
dc.titleการพัฒนาแนวทางในการลดเวลานำของการผลิตในโรงงานผลิตเทปลูกไม้en
dc.title.alternativeDevelopment of guidelines for reduction of manufacturing lead time in lace tape factoryen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisornapassavong.o@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Theparit.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.