Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84706
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิมพ์สิริ อรุณศรี-
dc.contributor.authorพรนรินทร์ มีกลิ่นหอม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2024-02-09T03:19:45Z-
dc.date.available2024-02-09T03:19:45Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84706-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนาการเตรียมความพร้อมข้าราชการที่จะไปประจำการในต่างประเทศ กรณีศึกษาสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาประสบการณ์และความท้าทายในมิติของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิตของข้าราชการในการไปประจำการ ณ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และวิเคราะห์หลักสูตรการเตรียมความพร้อมก่อนไปประจำการ โดยนำข้อมูลที่ได้รับจากผลการศึกษาที่ได้ข้อมูลจากผู้ไปประจำการซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการสร้างข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้ไปประจำการต่อไป การศึกษาดังกล่าวใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้มีประสบการณ์ในการไปประจำการ และฝ่ายทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน จำนวน 11 ราย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงช่องว่างในการปรับตัวของข้าราชการที่ไปประจำการ โดยพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความท้าทายในการไปประจำการ ณ สคต. 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความหลากหลายของภูมิหลังก่อนรับตำแหน่ง ความไม่คุ้นเคยในเนื้องานในต่างประเทศ และการปรับตัวเข้ากับภารกิจและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ใหม่ ในส่วนของความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรการเตรียมความพร้อมข้าราชการที่จะไปประจำการในต่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความเพียงพอของหลักสูตรการเตรียมความพร้อมฯ และข้อเสนอแนะหัวข้อที่ต้องการให้บรรจุเพิ่มเติมหรือการปรับปรุงรายละเอียดหลักสูตรการเตรียมความพร้อมฯ โดยผลการศึกษาดังกล่าว นำไปสู่ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการเตรียมความพร้อมข้าราชการที่จะไปประจำการในต่างประเทศ ได้แก่ ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงหลักสูตรการเตรียมความพร้อมข้าราชการที่จะไปประจำการในสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และข้อเสนอเชิงนโยบายในการคัดเลือกผู้ไปประจำการ-
dc.description.abstractalternativeThe qualitative study aims to investigate lived experiences of government expatriates in overseas assignment on behalf of The Office of Commercial Affairs (Thai Trade Center). Data collection was done through a documentary analysis and semi-structure interviews on eleven key informants. The study revealed three main challenges in overseas assignment: diverse background of officers who receive the assignment, unfamiliarity with overseas duties, and work and life adjustments. These challenges, if not handle well, could lead to serious consequences and termination of the assignment. The findings lead to an implication on current expatriate pre-departure preparation curriculum, which needs to be revisited for improvements.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.subject.classificationPublic administration and defence; compulsory social security-
dc.titleแนวทางการพัฒนาการเตรียมความพร้อมข้าราชการที่จะไปประจำการในต่างประเทศ:กรณีศึกษา สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ-
dc.title.alternativeGuidelines for preparation development for overseas posting officers: a case study of the office of commercial affairs (Thai trade center)-
dc.typeIndependent Study-
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6482036524.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.