Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84711
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิมพ์สิริ อรุณศรี-
dc.contributor.authorภารัณ มัฆวานรังสรรค์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2024-02-09T03:19:46Z-
dc.date.available2024-02-09T03:19:46Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84711-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม โดยใช้กรอบแนวคิดการดูแลแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient-Centered Care) ซึ่งประกอบด้วย 7 ปัจจัย ดังนี้ 1) ความเคารพต่อค่านิยม ความชอบ และความต้องการของผู้ป่วย 2) การสอดประสานการดูแล 3) การให้ข้อมูล ให้ความรู้ และการสื่อสาร 4) ความสุขสบายทางกายภาพ 5) การสนับสนุนทางอารมณ์ 6) การมีส่วนร่วมของครอบครัวและญาติ และ 7) การดูแลอย่างต่อเนื่องและการส่งต่อ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามในผู้ป่วยที่เข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยใน (In-Patient) ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรม หอผู้ป่วยศัลยกรรม และหอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จำนวน 300 คน วิเคราะห์ผลด้วยสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ได้แก่ 1) ความสุขสบายทางกายภาพ Beta = .775 2) การให้ข้อมูล ให้ความรู้ และการสื่อสาร Beta = .558 3) การมีส่วนร่วมของครอบครัวและญาติ Beta = .434 4) ความเคารพต่อค่านิยม ความชอบ และความต้องการของผู้ป่วย Beta = .357 5) การดูแลอย่างต่อเนื่องและการส่งต่อ Beta = .268 6) การสนับสนุนทางอารมณ์ Beta = .255 และ 7) การสอดประสานการดูแล Beta = .236 แสดงให้เห็นว่าการดูแลแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางทั้ง 7 ปัจจัย สามารถส่งผลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม กล่าวคือ เมื่อมีการดูแลแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางมากขึ้น ความพึงพอใจของผู้ป่วยโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จะเพิ่มขึ้นด้วย-
dc.description.abstractalternativeThe study aims to investigate the effects of patient-centered care on patient satisfaction at Fort Prachaksinlapakhom Hospital. Seven factors of patients-centered care includes: 1) Respect for patients' values, preferences, and expressed needs. 2) Coordination of care. 3) Information, education and communication. 4) Physical comfort. 5) Emotional support. 6) Involvement of family and friends. 7) Continuity and transition. Data were collected from 300 in-patients who received care in surgery ward, medical ward, and obstetrics and gynecology ward. The result of multiple regression analysis suggested that all seven factors were significantly influencing patient satisfaction at Fort Prachaksinlapakhom Hospital, at the statistical significance levels of .05. This suggests that when healthcare providers prioritize patient-centered care, considering these aspects, it can lead to an increased patient satisfaction.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.subject.classificationPublic administration and defence; compulsory social security-
dc.subject.classificationNursing and caring-
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจผู้ป่วยโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม-
dc.title.alternativeFactors influencing patient satisfaction, fort Prachak Sinlapakhom hospital-
dc.typeIndependent Study-
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:FACULTY OF POLITICAL SCIENCE - INDEPENDENT STUDY

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6482043924.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.