Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8479
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนววรรณ วุฒฑะกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2008-11-27T04:02:30Z-
dc.date.available2008-11-27T04:02:30Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8479-
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ ศึกษาสาระสำคัญและแนวคิดของแผนการศึกษาแห่งชาติ หลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่เริ่มต้นปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงสิ้นสุดยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งผลสำเร็จของการจัดการศึกษาในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนำไปสู่เป้าหมายสำคัญ คือ การสร้างคนและสร้างชาติ ผลการวิจัยพบว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติรวมทั้งสิ้น ๙ แผน และหลักสูตรรวมทั้งสิ้น ๘ หลักสูตร ถือเป็นการกำหนดแนวการจัดการศึกษาของประเทศให้เป็นระบบและเป็นกระบวนการครั้งแรก แผนการศึกษาแห่งชาติมีความสำคัญในฐานะที่เป็นแม่บทหลักในการจัดการศึกษาของประเทศ อันก่อให้ก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านรูปแบบการจัดการศึกษา คือ การจัดทำหลักสูตร และการปรับปรุงหลักสูตร สำหรับการจัดการเรียนการสอนปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการจัดการศึกษา ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ คือการผลิตครูผู้มีความรู้ความสามารถ ตลอดจนทักษะในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน โดยเริ่มต้นจากการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูใน พ.ศ. ๒๔๓๕ และพัฒนาสืบเนื่องมาเป็นการผลิตครูบัณฑิตโดยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน พ.ศ. ๒๕๐๐ จากการศึกษาสาระสำคัญและวัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ หลักสูตรทุกฉบับ และการจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ผู้วิจัยพบว่าพระราชญานทัศน์ พระราชกรณียกิจ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการศึกษาทั้ง ๓ รัชกาลทรงยึดหลักการสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาคือการสร้างคน สร้างชาติ ด้วยการศึกษาตามแบบอารยประเทศ การสร้างคนที่มีความรู้ความสามารถตามแบบอย่างวิทยาการตะวันตก สำหรับเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชาติให้เจริญเท่าเทียมอารยะประเทศและรักษาชาติให้รอดพ้นจากภัยลัทธิจักรวรรดินิยม โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย และวิถีชีวิตของคนไทย โดยมิได้มีพระราชประสงค์จะลอกเลียนแบบแนวคิดตะวันตกทั้งหมด การจัดการศึกษาจึงควบคู่กับการกล่อมเกลาคุณธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา การปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย มิใช่วัตถุประสงค์เพื่อเข้ารับราชการเสียทั้งหมด จึงได้มีการจัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ตลอดจนการจัดการศึกษาเพื่อปลูกฝังให้คนไทยมีจิตสำนึกของความรักชาติ เสียสละเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นส่วนรวม จึงกล่าวได้ว่าการจัดการศึกษาในอดีตของไทย แม้ว่าจะพบอุปสรรคในด้านขาดแคลนงบประมาณและบุคลากรก็ตาม แต่ก็สามารถจัดการได้ประสบความสำเร็จอย่างงดงามและเหมาะสมสำหรับสังคมไทย สมควรที่นักการศึกษาในปัจจุบันจักนำมาเป็นแบบอย่างเพื่อบริหารจัดการศึกษาของไทยให้เกิดการพัฒนาคนและพัฒนาชาติอย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบไปen
dc.description.abstractalternativeThe main purpose of this research is to study the principle concept and method of the national scheme of education, curriculum, teaching and learning management involved in the foundation of basic education in Siam from the reign of King Rama V , which was the start of the education reform in Siam until the end of the absolute monarchy. The success of education plan during this period made it possible for the nation to achieve the crucial goal in producing civilized citizens and unifying the country. The study finds that in the reigns of King Rama V, King Rama VI and King Rama VII, there were altogether 9 national schemes of education and 8 curricula. This was considered the milestone for systematic and methodical scheme of education in the country. The national scheme of education was of considerable importance because it was the model upon which other changes in education plans such as education patterns, curriculum designs and reforms were based. With regards to the teaching and learning management, the production of qualified and skillful teachers was the leading factor that contributed to standardized education. This began with the establishment of the teacher’s training school in 1892 which would later become teacher’s colleges, for example Faculty of Education, Chulalongkorn University, with its first BA degrees in education in 1957. From the research study which pinpoints the objective of each national scheme of education and curriculum during this period, the researcher found that the three kings had displayed a far vision in using education that was modeled after the west as a way to produce civilized citizens and stabilize the country. The national scheme of education had as its main objective the necessity to produce westernized and educated citizens that would bring about a unified country that would not fall victim to western colonization. Suitability to the Thai way of life and environment was taken into consideration ; education of the citizens went hand in hand with Buddhist dharma teaching. Desirable qualities of learners were part of the plan. Moreover, there was a curriculum design regarding regional farming resources since farming was the backbone of the country. The national scheme of education did not prepare the Thai people only for work having to do with government services but also for vocational fields with an emphasis on nationalism and personal sacrifice for greater good. In conclusion, the Thai national scheme of education in the past was successful and suitable for the Thai society although it had certain obstacles in terms of budget and personnel shortage. Educators of today should not ignore the founding concepts of the national scheme of education in the past.en
dc.description.sponsorshipทุนวิจัยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2550en
dc.format.extent1013029 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453en
dc.subjectการศึกษาขั้นพื้นฐาน -- ไทยen
dc.subjectการปฏิรูปการศึกษา -- ไทยen
dc.subjectแผนการศึกษาแห่งชาติen
dc.subjectการศึกษา -- ไทย -- หลักสูตรen
dc.titleแผนการศึกษาแห่งชาติ หลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงสิ้นสุดยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์en
dc.title.alternativeNational scheme of education, curriculum, teaching and learning management of basic education from the reign of King Rama V to the end of the absolute monarchyen
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordการเรียนการสอนen
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Navawan.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.