Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8531
Title: พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และการแสวงหาการสัมผัสของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี : การศึกษาตามแนวรูปแบบบูรณาการของการเปลี่ยนพฤติกรรม
Other Titles: Alcohol drinking behavior and sensation seeking of undergraduate students :the intergrated model of behavior change study
Authors: จุฬาลักษณ์ เชาว์สุวรรณกิจ
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Theeraporn.U@chula.ac.th
Subjects: การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และการแสวงหาการสัมผัสของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ตามแนวรูปแบบบูรณาการของการเปลี่ยนพฤติกรรม โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 164 คน นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำนวน 146 คน นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตจำนวน 136 คน และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม จำนวน 149 คน ที่มีอายุระหว่าง 17-24 ปี ผลการวิจัยพบว่า 1. เจตคติต่อพฤติกรรม มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับผลรวมของผลคูณของความเชื่อเกี่ยวกับผลของการกระทำ และการประเมินผลของการกระทำ (r = .54, p < .001) 2. บรรทัดฐาน มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับผลรวมของผลคูณของความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิง และแรงจูงใจที่จะคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (r = .48, p < .001) 3. การรับรู้ความสามารถของตน มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความเชื่อเกี่ยวกับการควบคุม (r = .78, p < .001) 4. เจตคติต่อพฤติกรรม บรรทัดฐาน และการรับรู้ความสามารถของตน ล้วนมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับเจตนาเชิงพฤติกรรม (r = .47. .32, และ .68 ตามลำดับ, p < .001) 5. เจตคติต่อพฤติกรรม บรรทัดฐาน การรับรู้ความสามารถของตน การแสวงหาการสัมผัส และจำนวนครั้งในการดื่มแอลกอฮอล์ในอดีต สามารถอธิบายความแปรปรวนของเจตนาเชิงพฤติกรรมในการดื่มแอลกอฮอล์ได้ร้อยละ 51 (p < .001) โดยเจตคติต่อพฤติกรรมมีน้ำหนักในการทำนายเจตนาเชิงพฤติกรรมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .01 ([beta] = .10) ส่วนการรับรู้ความสามารถของตนและจำนวนครั้งของการดื่มแอลกอฮอล์ในอดีต มีน้ำหนักในการทำนายเจตนาเชิงพฤติกรรมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ([beta] = .54 และ .17 ตามลำดับ)6. เจตนาเชิงพฤติกรรม การควบคุมทางสภาพแวดล้อม และทักษะความสามารถ สามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตนักศึกษาได้ร้อยละ 21 (p < .001) โดยเจตนาเชิงพฤติกรรม และทักษะและความสามารถ มีน้ำหนักในการทำนายพฤติกรรมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ([beta] = .23 และ .29 ตามลำดับ)
Other Abstract: The purposes of this research were to study the variables related to alcohol drinking behavior and sensation seeking of undergraduate students according to the integrated model of behavior change. The sample, 17-24 years of age, consisted of 164, 146, 136, and 149 students of Chulalongkorn University, Kasetsart University, Suan Dusit Rajabhat University, and Chandrakasem Rajabhat University. Results show that: 1. Attitude has the significant positive correlation with the sum of the products between behavioral beliefs and outcome evaluations (r = .54, p < .001). 2. Norm has the significant positive correlation with the sum of the products between normative beliefs and motivation to comply (r = .48, p < .001). 3. Self-efficacy has the significant positive correlation with the sum of control beliefs (r = .78, p < .001). 4. Attitude, norm, and self-efficacy have significant positive correlations with intention (r = .47, .32, and .68, p < .001, respectively). 5. Attitude, norm, self-efficacy, sensation seeking, and frequency of past alcohol drinking behavior can significantly predict intention (R[superscript 2] = .51, p < .001). Attitude has significant standardized coefficients ([beta] = .10, p < .01). Self-efficacy and frequency of past alcohol drinking behavior have significant standardized coefficients ([beta] = .54 and .17, p < .001, respectively). 6. Intention, environmental constraints, and skills and abilities can significantly predict behavior (R[superscript 2] = .21, p < .001). Intention and skills and abilities have significant standardized coefficients ([beta] = .23 and .29, p < .001, respectively).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8531
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1014
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1014
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
julaluk.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.