Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8644
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อาภา ศิริวงศ์ ณ อยุธยา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม | - |
dc.date.accessioned | 2009-01-13T03:53:46Z | - |
dc.date.available | 2009-01-13T03:53:46Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.citation | วารสารประชากรศาสตร์. 20,2(ก.ย. 2547),77-94 | en |
dc.identifier.issn | 0857-2143 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8644 | - |
dc.description.abstract | บทความชิ้นนี้ต้องการนำเสนอแนวความคิด และวิธีการพัฒนาระบบข้อมูลเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหายาเสพติดและเรื่องอื่นๆ ของกลุ่มเยาวชนที่กระทำความผิด โดยนักวิจัยสังเคราะห์ "แฟ้มประวัติ" ของเยาวชน ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงพรรณนาและความเรียง แล้วนักวิจัยสร้างเครื่องมือเพื่อถ่ายทอดข้อมูลเชิงพรรณนา เป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือเป็นตัวเลขรหัสที่สามารถนำมาวิเคราะห์เชิงสถิติได้ ข้อมูลจากแฟ้มประวัติของเยาวชนมีเอกสารที่เป็นรายงานจากแหล่งต่างๆ 7 แหล่ง ได้แก่ 1) หนังสือแจ้งการจับกุมของสถานีตำรวจ ณ ที่เกิดเหตุ 2) รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนของสถานพินิจฯ 3) รายงานการตรวจพิเคราะห์ทางกายโดยแพทย์ 4) รายงานการตรวจพิเคราะห์ทางจิตโดยจิตแพทย์ 5) รายงานการตรวจจิตวิทยาโดยนักจิตวิทยา 6) รายงานการพินิจโดยเจ้าหน้าที่สถานพินิจฯ และ 7) หนังสือแจ้งผลการพิจารณาจากศาลเยาวชนกลางและครอบครัว นักวิจัยพัฒนาข้อมูลจากแฟ้มประวัติ ให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ปรากฏว่ามี "ตัวแปร" ทั้งหมด 1,031 ตัวแปร ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ทางสถิติวิเคราะห์ได้ ซึ่งตัวแปรเหล่านั้นสามารถนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ของหน่วยงานได้ถึง 6 ประเภท คือ 1.เป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อรายงานผลการดำเนินงาน 2.เป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อการบริหารจัดการ 3.เป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อกำหนดนโยบายและแผนงาน 4.เป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์สถานภาพของเด็กและเยาวชน 5.เป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อประเมินและติดตามผลการดำเนินงาน และ 6.เป็นข้อมูลที่เก็บไว้เป็นคลังข้อมูล ข้อสนเทศ อย่างไรก็ตามการนำข้อมูลทั้ง 1,031 ตัวแปรมาใช้ประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาและคัดสรรจากผู้บริหารระดับสูง เพื่อใช้ประโยชน์ เพราะการพัฒนาให้เป็นระบบข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ได้ ต้องใช้งบประมาณมากในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือ และต้องใช้เวลามากในการพัฒนาบุคลากรให้รับผิดชอบงานระบบข้อมูลอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การใช้งานจากข้อมูลสามารถตอบสนองต่อการแก้ปัญหาของเยาวชนได้ในอนาคต | en |
dc.format.extent | 461 bytes | - |
dc.format.mimetype | text/html | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน -- ฐานข้อมูล | en |
dc.subject | เยาวชนผู้กระทำความผิดอาญา -- ฐานข้อมูล | en |
dc.title | การพัฒนาระบบข้อมูลเยาวชนในสถานพินิจฯ จากแฟ้มประวัติ | en |
dc.type | Article | es |
dc.email.author | Abha.S@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Pop - Journal Articles |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
default.html | 260 B | HTML | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.