Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8692
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิชชากร จารุศิริ-
dc.contributor.authorธราพงษ์ วิทิตศานต์-
dc.contributor.authorชินเทพ เพ็ญชาติ-
dc.contributor.authorจินตนา อุบลวัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยพลังงาน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยพลังงาน-
dc.date.accessioned2009-01-19T03:11:31Z-
dc.date.available2009-01-19T03:11:31Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8692-
dc.description.abstractวิกฤตการณ์พลังงานเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงในปัจจุบัน จึงมีความพยายามวิจัยหาพลังงานใหม่ขึ้นมาทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการแปรรูปน้ำมันพืช น้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว และพลาสติกใช้แล้วให้เป็นเชื้อเพลิงเหลวโดยปฏิกิริยาการแตกตัวด้วยความร้อน และ ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา ทำการทดลองในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อการเปลี่ยนสารตั้งต้นไปเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งประกอบด้วย อุณหภูมิอัตราการไหลของแก๊สไฮโดรเจน และอัตราการไหลของสารป้อนเข้าได้แก่น้ำมันพืช น้ำมันหล่อลื่นและพอลิพรอพิลีน อัตราส่วน 0.7 ต่อ ต่อ 0.1 ต่อ 0.2 เมื่อนำผลิตภัณฑ์ของเหลวมาวิเคราะห์ค่าการกระจายตัวตามคาบจุดเดือดด้วยเครื่องแก๊สโครมาโตรกราฟพร้อมซอฟต์แวร์จำลองการกลั่นพบว่าที่อุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียส อัตราการไหลของความแก๊สไฮโดรเจน 5 มิลลิลิตรต่อนาทีอัตราการไหลของสารป้อนเข้า 1.23 กรัมต่อนาที บนตัวเร่งปฏิกิริยา 5% เหล็กบนถ่านกัมมันต์ ให้ร้อยละของแก๊สโซลีนสูงที่สุดร้อยละ 50.95 เคโรซีนร้อยละ 10.38 แก๊สออยล์ ร้อยละ 21.68 และกากน้ำมันร้อยละ 16.99 โดยน้ำหนัก นำผลิตภัณฑ์ของเหลวที่ได้ไปกลั่นลำดับส่วนในช่วงการกลั่นตามคาบจุดเดือดของแก๊สโซลีน (ช่วงอุณหภูมิเริ่มต้น ถึง 200 องศาเซลเซียส) บนเครื่องกลั่นขนาดกำลังการกลั่น 1 ลิตรต่อชั่วโมง โดยนำผลิตภัณฑ์ของเหลวที่ได้จากการแตกตัวด้วยความร้อนบรรจุในเครื่องกลั่น ได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำมันแก๊สโซลีนสังเคราะห์ เมื่อวิเคราะห์สมบัติกายภาพ เช่น สีอัตราการไหลเท ความดันไอ มีสมบัติใกล้เคียงน้ำมันเบนซิน และการวิเคราะห์สมบัติทางเชื้อเพลิงมีค่าใกล้เคียงกับน้ำมันเบนซินออกเทน 91 จากนั้นนำน้ำมันแก๊สโซลีนสังเคราะห์ไปทดสอบกับเครื่องยนต์ทดสอบเพื่อทดสอบประสิทธิภาพด้านต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ พบว่าน้ำมันแก๊สโซลีนสังเคราะห์สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์เบนซินได้ โดยมีประสิทธิภาพต่ำกว่าการใช้น้ำมันเบนซินออกเทน 91 เล็กน้อยen
dc.description.abstractalternativeAs for the energy crisis is a problem that multiplies the violence in now, many researchers attempt to seek the new alternative energy upwards to the petroleum fuels replacement. This research aims to studies thermal cracking and catalytic cracking of used plastic, used vegetable oil, and used lubricating oil to gasoline as a liquid fuels for vehicles in a continuous reactor for study the affected of variable such as temperature, hydrogen flowing rate, and flow rate of feedstock which composed of used vegetable oil, waste lubricating oil and polypropylene in the ratio of 0.70 : 0.10 : 0.20 respectively. Liquid products were analyzed by simulated distillation gas chromatograph and the product distribution were obtained. At the condition of 550 [degree Celsius], hydrogen gas flowing rate of 5 ml/min, feedstock’s flowing rate of 1.23 gram/min over 5% Fe/AC shown the highest yield of gasoline amount of 50.95 wt%, kerosene 10.38 wt%, gas oil 21.68 wt% and long residue 16.99 wt%. Therefore the liquid product were distillated by boiling point of gasoline fraction (IBP – 200 [degree Celsius]) the synthetic gasoline were obtained. The testing results of gasoline on engine testing unit providing that the speed, maximum power and efficiency little lower than the premium gasoline octane number 91.en
dc.description.sponsorshipทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภชen
dc.format.extent4457579 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectน้ำมันพืช -- การนำกลับมาใช้ใหม่-
dc.subjectน้ำมันหล่อลื่น -- การนำกลับมาใช้ใหม่-
dc.subjectพลาสติก -- การนำกลับมาใช้ใหม่-
dc.subjectเชื้อเพลิงเหลว-
dc.subjectการแยกสลายด้วยความร้อน-
dc.subjectการแตกตัวด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา-
dc.titleการแตกตัวของพลาสติก น้ำมันพืช และน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วด้วยความร้อนเป็นแก๊สโซลีนในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง : รายงานวิจัยen
dc.title.alternativeThermal cracking of used plastics, used vegetable oil and used lubricating oil to gasoline and liquid fuels in a continuous reactoren
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorWitchakorn.c@chula.ac.th-
dc.email.authortharap@sc.chula.ac.th-
dc.email.authorfmecby@eng.chula.ac.th-
dc.email.authorjintana@eri.chulu.ac.th-
Appears in Collections:Energy - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Witchakorn_the.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.