Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8732
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประวิตร อัศวานนท์-
dc.contributor.authorจิรสิน กิจลือเกียรติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-01-29T02:08:02Z-
dc.date.available2009-01-29T02:08:02Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8732-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractการรักษาโรคด่างขาวปัจจุบันมีหลายวิธี การรักษาด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตบีเป็นวิธีการหนึ่งที่ได้ผลการรักษาดี ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้มีเครื่องฉายแสงแบบเฉพาะที่ ซึ่งมีผลโดยตรงกับผิวหนังเฉพาะบริเวณรอยโรค โดยไม่มีผลต่อผิวหนังปกติของร่างกายส่วนอื่นๆ จึงเหมาะที่จะใช้กับผู้ป่วยที่มีจำนวนรอยโรคไม่มากนัก นอกจากนี้ยังไม่เคยมีผู้ทำวิจัยเปรียบเทียบการใช้รังสีอัลตราไวโอเลตบีชนิดความยาวคลื่นช่วงแคบ และชนิดความยาวคลื่นช่วงกว้างโดยใช้เครื่องฉายแสงแบบเฉพาะที่ในการรักษาผู้ป่วยโรคด่างขาวมาก่อน ศึกษาความแตกต่างของการเกิดเม็ดสีผิว โดยการใช้รังสีอัลตราไวโอเลตบีชนิดวามยาวคลื่นช่วงแคบและชนิดความยาวคลื่นช่วงกว้างในการรักษาผู้ป่วยโรคด่างขาว ชนิดเฉพาะที่หรือชนิดที่เป็นทั่วตัว วิธีการทำวิจัย: ศึกษาผู้ป่วยที่เป็นโรคด่างขาวชนิดเฉพาะที่หรือชนิดที่เป็นทั่วตัว 8 ราย โดยผู้ป่วยแต่ละคนจะถูกเลือกรอยโรค 2 ตำแหน่งที่คล้ายคลึงกันในการรักษา แล้วสุ่มเลือกรอยโรคว่าตำแหน่งใดจะรักษาด้วยวิธีใดโดยตำแหน่งหนึ่งจะได้รับการรักษาด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตบีชนิดความยาวคลื่นช่วงแคบ อีกตำแหน่งหนึ่งจะได้รักการรักษาด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตบีชนิดความยาวคลื่นช่วงกว้าง ทำการฉายแสงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ทำการถ่ายรูปรอยโรคก่อนทำการศึกษาและทุก 4 สัปดาห์จนครบ 12 สัปดาห์แล้วประเมินผลโดยการเปรียบเทียบร้อยละของการเกิดเม็ดสีผิว โดยแพทย์ผิวหนัง 3 ท่าน หลังจากนั้นจึงนำมาประมวลผลทางสถิติโดยใช้วิธี Wilcoxon signed-rank test การเกิดเม็ดสีผิวในผู้ป่วยแต่ละรายมีลักษณะแตกต่างกัน พบว่าผู้ป่วย 6รายตอบสนองต่อการรักษาด้วยการฉายแสงทั้ง 2 ชนิดไปในทางเดียวกัน เมื่อนำข้อมุลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ Wilxoxon signed-rank test พบว่า การรักษาด้วยแสงทั้ง 2ชนิด ให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 4 สัปดาห์ (p= 0.157), 8 สัปดาห์ (p = 1.000) และ12 สัปดาห์ (p = 0.564) สรุปผลการวิจัย: การฉายแสงอัลตราไวโอเลตบีชนิดความยาวคลื่นช่วงแคบแบบเฉพาะที่ ให้ผลในการรักษาผู้ป่วยโรคด่างขาวชนิดเฉพาะที่หรือชนิดที่เป็นทั่วตัว ไม่แตกต่างกับการฉายแสงอัลตราไวโอเลตบีชนิดความยาวคลื่นช่วงกว้างแบบเฉพาะที่จึงน่าจะนำมาประยุกต์ใช้เป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยโรคด่างขาวได้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีรอยโรคจำนวนไม่มากนัก และต้องการลดปริมาณแสงสะสมที่จะได้รับจากการรักษาen
dc.description.abstractalternativeTotal body narrowband ultraviolet B phototherapy is a well-established treatment modality for vitiligo. Targeted UVB phototherapy is the most recent addition to this light-based therapeutic armamentarium. Its major benefits are that only diseased skin is irradiated and fewer treatment sessions can improve the lesions. Our purpose was to compare the efficacy of targeted narrowband UVB with targeted broadband UVB for induction of repigmentation in focal or generalized vitiligo. 8 patients with focal or generalized vitiligo from the dermatology clinic at King Chulalongkorn Memorial Hospital were enrolled in this study. Two areas within the lesions that had the same characteristic were selected in each patients. One was treated with targeted narrowband UVB and the other treated with targeted broadband UVB phototherapy. The treatments were done 2 times a week for 12 weeks and take a photograph every 4 week. Degree of repigmentation was assessed at week 12 by 3 dermatologists. 6 patients responded to both type of the phototherapy in the similar pattern. However, each patient had variable response to treatments, Repigmentaion during treatment between two groups was not statistically significantly different at 4th week (p=0.157), 8th week (p=1.000) and 2th week (p=0.564) by Wilcoxon signed-rank test. Conclusion: We conclude that both targeted narrowband UVB and targeted broadband UVB were effective for the treatment of focal or generalized vitiligo. No significant differences in terms of repigmentation were demonstrated with the 2 modalities.en
dc.format.extent1984893 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1596-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรคด่างขาว -- การรักษาen
dc.subjectผิวหนัง -- โรคen
dc.subjectรังสีเหนือม่วง -- การใช้รักษาen
dc.subjectการบำบัดด้วยแสงen
dc.subjectความผิดปกติทางการสร้างเม็ดสีผิวen
dc.titleการศึกษาผลของการใช้รังสีอัลตราไวโอเลตบีชนิดความยาวคลื่นช่วงแคบและชนิดความยาวคลื่นช่วงกว้างในการรักษาผู้ป่วยโรคด่างขาวen
dc.title.alternativeTargeted narrowband UVB and targeted broadband UVB for the treatment of vitiligoen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorpravit@adsl.loxinfo.com, fibrosis@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.1596-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirasin.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.