Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8854
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรีพร ธนศิลป์-
dc.contributor.authorนิตยา คชศิลา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-03-16T07:24:28Z-
dc.date.available2009-03-16T07:24:28Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741421214-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8854-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ร่วมกับการฝึกผ่อน คลายกล้ามเนื้อ ต่อความวิตกกังวลของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ติดเชื้อเอ็ชไอวีที่มีอาการที่เข้ารับการรักษาใน แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 40 ราย เลือกเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยคำนึงถึงคะแนนความวิตกกังวลตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันไม่เกิน 5 คะแนนและความสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ ได้กลุ่มทดลอง 20 รายและกลุ่มควบคุม 20 ราย โดยกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติและโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลและ อารมณ์ ร่วมกับการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเพียงอย่างเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามวัดความวิตกกังวลตามสถานการณ์ The State-Trait Anxiety Inventory Form Y-1 (STAI form Y-1) ของ Spielberger นำไปหาความเที่ยงได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการให้ข้อมูลและสนับสนุนทางอารมณ์กับการฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ความวิตกกังวลของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ติดเชื้อเอ็ชไอวี ที่มีอาการภายหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ ร่วมกับการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความวิตกกังวลของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ติดเชื้อเอ็ชไอวี ที่มีอาการกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ ร่วมกับการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0.5en
dc.description.abstractalternativeTo examine the effects of using informational and emotional support program combined with progressive muscle relaxation on anxiety of family caregivers of person with symptomatic HIV. 40 family caregivers of person with symptomatic HIV were purposively selected from the medical inpatient of King Chulalongkorn Hospital. The subjects were assigned equally into control and experimental group. The informational and emotional support program combined with progressive muscle relaxation developed by the researcher was provided for the subjects in the experimental group for 3 weeks of practice. The anxiety assessment form use in this study was the State-Trait Anxiety Inventory form Y-1 of Spielberger et al (1983). The data were analyzed by using t-test. Major results were as follows : 1. The post test state anxiety of the experimental group was significantly lower than at the pretest phase (p<.05). 2. The post test state anxiety of the experimental group was significantly lower than that of the control group (p<.05).en
dc.format.extent1923371 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรคเอดส์en
dc.subjectผู้ดูแลen
dc.subjectความวิตกกังวลen
dc.subjectผู้ติดเชื้อเอชไอวี -- การดูแลen
dc.titleผลของการใช้โปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ ร่วมกับการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อต่อความวิตกกังวลของผู้ดูแล ในครอบครัวของผู้ติดเชื้อเอ็ชไอวีที่มีอาการen
dc.title.alternativeThe Effects of using informational and emotional support program combined with progressive muscle relaxation on anxiety of family caregivers of person with symptomatic HIVen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSureeporn.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NITTAYA.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.