Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8874
Title: ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาหินแกรนิต และการเกิดแนวแร่บริเวณพื้นที่ระหว่างจังหวัดเชียงรายและลำปาง : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: The structural geology, granite and mineralization in the area between Changwat Chiang Rai and Lampang
Authors: ปัญญา จารุศิริ
วสันต์ พงศาพิชญ์
สุวภาคย์ อิ่มสมุทร
Email: cpunya@chula.ac.th
pwasant@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
กรมทรัพยากรธรณี. สำนักทรัพยากรแร่
Subjects: ธรณีวิทยา -- ไทย (ภาคเหนือ)
หินแกรนิต -- ไทย -- เชียงราย
หินแกรนิต -- ไทย -- ลำปาง
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พื้นที่ที่ทำการศึกษา ครอบคลุมอาณาบริเวณท้องที่ 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน และลำปาง คิดเป็นเนื้อที่ 16,000 ตารางกิโลเมตร ข้อมูลที่ใช้ทำการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยภาพดาวเทียม Landsat TM5 ขนาดมาตราส่วน 1:125,000 สำหรับการศึกษาลักษณะโครงสร้างใหญ่ในพื้นที่ศึกษารวม และภาพถ่ายทางอากาศ ขนาดมาตราส่วน 1:50,000 สำหรับการศึกษาในขั้นกึ่งละเอียดบริเวณพื้นที่ย่อย 5 พื้นที่ ซึ่งได้แก่พื้นที่ย่อยเวียงป่าเป้า & วังเหนือ, พื้นที่ย่อยบ้านห้วยแก้ว, พื้นที่ย่อยบ้านสันต้นหมื้อ & บ้านแม่กรณ์, พื้นที่ย่อยรอยเลื่อนแม่ทาและพื้นที่ย่อยน้ำแม่ลาว รวมไปถึงข้อมูลชนิดของแหล่งแร่มีค่าทางเศรษฐกิจต่างๆ สภาพธรณีวิทยาของบริเวณศึกษาประกอบด้วย หินอายุตั้งแต่ แคมเบรียน จนถึงตะกอนควอเทอร์นารี หินอัคนีประกอบไปด้วยหินแกรนิตบริเวณตอนกลางของพื้นที่ศึกษาและหินภูเขาไฟที่ถูกแปรสภาพในบริเวณตะวันออกของพื้นที่ศึกษา การศึกษาในขั้นกึ่งละเอียดบริเวณพื้นที่ย่อย 5 พื้นที่โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ พบว่าสามารถแบ่งหินตะกอนและหินแปรในพื้นที่ย่อยเวียงป่าเป้า & วังเหนือได้ 12 หน่วยหิน (units) และแบ่งหินแกรนิตได้ 2 ชุด สามารถแบ่งหินตะกอนและหินแปรในพื้นที่ย่อยบ้านห้วยแก้วได้ 5 หน่วยหิน (units) และแบ่งหินแกรนิตได้ 5 ชุด สามารถแบ่งหินตะกอนหรือหินแปรในพื้นที่ย่อยบ้านสันต้นหมื้อ & บ้านแม่กรณ์ได้ 7 หน่วยหิน (units) และแบ่งหินแกรนิตได้ 5 ชุด สามารถแบ่งหินตะกอนหรือหินแปรในพื้นที่ย่อยรอยเลื่อนแม่ทาได้ 8 หน่วยหิน (units) และแบ่งหินแกรนิตได้ 3 ชุด สามารถแบ่ง หินตะกอนหรือหินแปรในพื้นที่ย่อยน้ำแม่ลาวได้ 10 หน่วยหิน (units) และแบ่งหินแกรนิตได้ 6 ชุด จากการแปลภาพถ่ายทางอากาศและภาพดาวเทียม พบรอยเลื่อนขนาดใหญ่ 5 แนว คือ รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนขุนตาล-น้ำแม่ลาว และรอยเลื่อนศรีธรณีในแนวเหนือ-ใต้ กลุ่มรอยเลื่อนดอยสะเก็ตในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ และกลุ่มรอยเลื่อนขุนตาลน้อยในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนแนวแตกที่พบมีที่สำคัญ 4 แนวคือแนว เหนือ-ใต้ แนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ แนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้และแนวตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งทุกแนวมีบทบาทต่อการควบคุมการเกิดแหล่งแร่ชนิดต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะที่มีการตัดกันของแนวรอยแตกหลายๆ ทิศจะมีโอกาสให้แหล่งแร่ได้มาก และมีผลต่อการสำรวจหาแหล่งแร่ใหม่ๆ ในอนาคตด้วย แนวรอยแตกบางแนวเป็นตัวควบคุมการเกิดแนวหินแกรนิตด้วย หินแกรนิตที่สำคัญคือ หินแกรนิตดอยหลวง (62 ล้านปี) หินแกรนิตพร้าว-เวียงป่าเป้า (204-215 ล้านปี) หินแกรนิตขุนตาล (204-212 ล้านปี) และหินแกรนิตดอยหมอก (202-222 ล้านปี) แกรนิตชนิดแรกเป็น I-type ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแหล่งแร่ทองพลวงและทังสะเตน แกรนิตสามชนิดหลังเป็นชนิด peraluminous S-type ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแหล่งแร่ดีบุก-ทังสะเตน REE และแหล่งแร่ฟลูออไรต์ จากการศึกษาแนวรอยแตกพบว่าแหล่งแร่พลวง ทอง เหล็ก แมงกานีส และทังสะเตน มีความสัมพันธ์กับรอยแตกย่อยแนวเหนือ-ใต้ และหินแกรนิต I-type แหล่งแร่ดีบุก-ทังสะเตนและยูเรเนียม มีความสัมพันธ์กับแนวรอยแตกเหนือ-ใต้ และตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนฟลูออร์ไรต์ น่าจะมีความสัมพันธ์กับรอยแตกในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ และแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งมีความสัมพันธ์กับ peraluminous S-type granite มวลไพศาล สำหรับแหล่งแร่แบร์ไรต์เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับ รอยแตกย่อยแนวเหนือ-ใต้ สำหรับรอยแตกที่มีลักษณะ เป็นรูปโค้งหรือวงแหวนซ้อนซึ่งมีอยู่เล็กน้อย เชื่อว่าเป็นผลจากการตัดตัวหินแกรนิตที่อยู่ข้างใต้และยังคงทำงานอยู่ และมีความเป็นไปได้ที่มันจะมีความสัมพันธ์กับแหล่งแร่อายุใหม่ๆ
Other Abstract: The area under study is located in 5 provinces, namely Chiang Mai, Chiang Rai, Phayao, Lamphun and Lampang, encompassing 16,000 km[superscript 2]. The existing information available for investigation includes Landsat TM5 imageries at a scale of 1:125,000 for surveying the regional geology of the total area, the aerial photographs at a scale of 1:50,000 for studying semi-detailed geology. Five subareas, including the Wiang Pa Pao-Wang Nua area, the Ban Huai Kaew area, the Ban San Ton Mu & Ban Mae Kon, the Mae Tha Fault area and the Nam Mae Lao area were selected for the detailed investigation. In addition types of economic mineral deposits are included. The regional geology of the total study area includes several types of rocks ranging from Cambrian to Quaternary. The igneous rocks, comprising mostly batholithic granitic rocks, occur in the central part and the (meta) volcanic rocks in the eastern part. Detailed geology of the 5 selected subareas is compiled mainly from air-photo interpretation along with minor field investigation and previous works. The Wiang Pa Pao-Wang Nua area comprises 12 rock units and 2 phases of granites. The Ban Huai Kaew area is composed of 5 rock units and 5-phase granites. The Ban San Ton Mu & Ban Mae Kon consists of 7 rock units and 5 phases of granites. The Mae Tha Fault area comprises 8 rock units and 3-phase granites and the Nam Mae Lao area can be divided into 10 rock units and 6-phase granites. Air-photo interpretation coupled with space-borne image investigation indicate that there are 5 major faults; i.e., the Mae Tha, the Kun Tan-Wiang Pa Pao and the Sri Toranee Faults, the Doi Saket and the Khun Tan Noi Faults. Four sets of lineaments have been observed, namely those of N-S, NE-SW and E-W trendings, all of which are considered to take an essential role in the occurrences of various mineral deposits. Special emphasis has been placed upon the areas where several sets of lineaments cross-cut each other, since it is believed that possibility to find concealed ore bodies or potential target areas is quite high and exploration for new target areas is incredibly enhanced in the future. Some sets of lineaments are likely to control Triassic and younger granitoid emplacements. Four major granitoid series are recognized in the study area, Doi Luang Granite (ca. 62 Ma), Prao-Wiang Pa Pao Batholith (204-215 Ma), Khun Tan Batholith (204-212 Ma) and Doi Mok Granite (202-222 Ma). Geochemical investigation indicates that the first and the last type of granite are I-type which has close relationships to gold, stibnite and some tungsten deposits, and the other granitoids are peraluminous S-type that have a close relationship to tin, tungsten, REE and fluorite deposits. Investigation of lineaments reveals that stibnite, gold, iron and manganese deposits may be related to the N-trending lineaments. In addition these mineral deposits may be related to I-type granite which intruded along this weak zone. The tin-tungsten and uranium deposits are likely to be related to the N-and NW-trending lineaments and fluorite deposits are similarly to be associated with the NW- and NE-trending lineaments and have close relationships to peraluminous S-type granite. The barite deposits are inferred to be related to the N-trending lineaments. The ovoid-shaped lineaments which were found only at a few locations were interpreted to indicate young granitoid emplacements and are thought to be important to the generation of concealed mineral deposits.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8874
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Punya_str.pdf12.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.