Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8896
Title: ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่างในผู้ผลิตสินค้าประเภทไม้ในกลุ่มสหกรณ์วังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
Other Titles: Prevalence rate and associated factors of low back pain among woodworkers at Wangnumyen co-operation, Sakaew province
Authors: พิสิษฐ์ เลิศเชาวพัฒน์
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
อารยา เจียมวรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pornchai.Si@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ปวดหลัง
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่างในผู้ผลิตสินค้าประเภทไม้ ในกลุ่มสหกรณ์วังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว โดยใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานผลิตสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ไม้จำนวน 600 คน และทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเองในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 มีผู้ตอบกลับแบบสอบถามทั้งสิ้น 522 คน คิดเป็นร้อยละ 87 และถูกตัดออกจากการศึกษาจำนวน 14 คน เนื่องจากมีอายุการทำงานน้อยกว่า 1 ปี ดังนั้นคงเหลือกลุ่มศึกษาจำนวน 508 คน คิดเป็นร้อยละ 84.6 ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของอาการปวดหลังล่างในผู้ผลิตสินค้าประเภทไม้ ในกลุ่มสหกรณ์วังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้วเท่ากับ 61.4 คนต่อประชากร 100 คน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ค่าดัชนีมวลกาย =25-29.9 kg/m[superscript 2] ค่าดัชนีมวลกาย >=30 kg/m[superscript 2] การสูบบุหรี่ ระยะเวลาที่สูบบุหรี่มากกว่า 20 ปี ผู้ทีมีอายุการทำงาน 10.1-15 ปี และผู้ที่มีอายุการทำงาน >15 ปี ผู้ที่มีเวลาการทำงาน > 8 ชั่วโมงต่อวัน และผู้ที่มีเวลาการทำงาน >5 วันต่อสัปดาห์ ผู้ที่ต้องนั่งหรือยืนทำงานเป็นเวลานานๆติดต่อกัน ผู้ที่ต้องยก ลาก หรือเข็นของหนัก ความอิสระในการตัดสินใจในระดับต่ำ และแรงสนับสนุนทางสังคมในระดับต่ำ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างในเชิงผกผันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การออกกำลังกายทุกวัน สำหรับความรุนแรงของอาการดังกล่าวพบว่า ส่วนใหญ่มีอาการปวดหลังในแต่ละครั้งประมาณ 2-7 วันแต่ไม่รุนแรงถึงขั้นต้องหยุดงาน และตลอดระยะเวลา 1 ปีส่วนใหญ่มีอาการ 8-30 วัน และไม่ได้หยุดงาน การดูแลรักษาส่วนใหญ่ใช้วิธีซื้อยารับประทานเอง และป้องก้นโดยการรับประทานยา โดยสรุป จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าอาการปวดหลังส่วนล่างพบได้บ่อยในผู้ผลิตสินค้าประเภทไม้ และเป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าประเภทไม้ สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ดังนั้นควรจัดให้มีการป้องกันการเกิดอาการดังกล่าวจากปัจจัยที่พบต่อไป
Other Abstract: The purpose of this cross-sectional study was to determine the prevalence and associated factors of low back pain (LBP) among woodworkers at Wangnumyen Cooperation, Sakaew Province. Data were collected by self-administered questionnaires during November to December 2006. Totally 508 woodworkers were participated in the study, with the participation rate of 84.6 percents. Results showed that the prevalence rate of LBP among woodworkers during the last 12 months was 61.4%. Factors which were significantly related to LBP (p<0.05) included: body mass index=25-29.9 kg/m[superscript 2] , body mass index >= 30 kg/m[superscript 2], smoking, smoking period more than 20 years, work experience 10.1-15 years and >15 years, work>8 hours/day and >5 days/wk, long time working in static standing and sitting postures, lifting and forceful movements, low decision latitude and low psychosocial support. Factors which were significantly negatively related to LBP (p<0.05) included: regular exercise. Regarding severity of LBP symptom, almost all subjects suffered for 1.7 days for each LBP but did not leave their work. Half of the woodworkers reported using over-the-counter medicine to improve their LBP. For prevention of LBP, half of the woodworkers use their medicine. In conclusion, LBP was often found in woodworkers. Prevention program should be set up according to these associated factors.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาชีวเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8896
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1223
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1223
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pisit_Le.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.