Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8904
Title: วาทกรรมวิเคราะห์ของสนธิ ลิ้มทองกุลในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
Other Titles: Discourse analysis of Sondhi Limthongkul's "Muang Thai Rai Sabda"
Authors: ธิดารัตน์ อเนกะเวียง
Advisors: อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Orawan.P@Chula.ac.th
Subjects: สนธิ ลิ้มทองกุล
วจนะวิเคราะห์
การพูด
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและแบ่งกลุ่มเนื้อหาที่มีมิติทางการเมืองจากรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การประกอบสร้างความจริงของชุดวาทกรรมทางการเมืองแต่ละประเภทและศึกษาวิเคราะห์พลังอำนาจวาทกรรมของสนธิ ลิ้มทองกุล โดยขอบเขตงานวิจัย ผู้วิจัยจะศึกษาวาทะของสนธิ ลิ้มทองกุล จากบันทึกรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ทางเวบไซด์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ (http://www.manager.co.th) ที่ออกอากาศตั้งแต่วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2546 ถึงวันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2548 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 108 ตอน สำหรับระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เน้นการวิเคราะห์เนื้อหาวาทกรรมของสนธิ ลิ้มทองกุล และวิธีการศึกษาจะให้น้ำหนักกับการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis and Textual Study) ผลการวิจัย พบว่า 1.รายการเมืองไทยรายสัปดาห์มีประเด็นย่อยที่ออกอากาศทั้งหมด 299 ประเด็น โดยมีปริมาณวาทกรรมที่มีมิติทางการเมืองรวมทั้งสิ้น 169 ประเด็นจากประเด็นที่มีการออกอากาศทั้งหมด และวาทกรรมที่มีมิติทางการเมืองสามารถจำแนกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ วาทกรรมเกี่ยวกับกระบวนการในระบอบประชาธิปไตย วาทกรรมเกี่ยวกับนโยบายและโครงการของรัฐบาล วาทกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล วาทกรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของนักการเมือง วาทกรรมเกี่ยวกับตำรวจในสังคมไทย 2.สนธิ ลิ้มทองกุลมีการประกอบสร้างความจริงจากชุดวาทกรรมที่มีมิติทางการเมือง ดังนี้ 1) วาทกรรมเกี่ยวกับกระบวนการในระบอบประชาธิปไตย คือ การเมืองในสภาพความเป็นจริงต่างกับการเมืองในรัฐธรรมนูญอย่างสิ้นเชิง 2) วาทกรรมเกี่ยวกับนโยบายและโครงการของรัฐบาล คือ การที่รัฐบาลเน้นนโยบายเฉพาะด้านเศรษฐกิจจะนำพาประเทศไปสู่ความเป็นอำนาจนิยม 3) วาทกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโดยรัฐบาล คือ รัฐบาลขาดความจริงใจในการแก้ไขปัญหาของประเทศ 4) วาทกรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของนักการเมือง คือ นักการเมืองที่ดีต้องมีคุณธรรมประจำใจ และ 5) วาทกรรมเกี่ยวกับตำรวจในสังคมไทย คือ ตำรวจไทยต้องเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน ต้องสามารถตรวจสอบได้ สำหรับการประกอบสร้างความจริงจากวาทกรรมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ คือ พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจอยู่ แต่คนมักจะไม่รู้และไม่ใส่ใจในพระราชอำนาจนั้น 3.พลังอำนาจวาทกรรมของสนธิ ลิ้มทองกุล เกิดจากส่วนประกอบ 4 ประการ 1) ลักษณะด้านภาษา 2) พลังจากกรอบวาทกรรมหลัก 3) พลังจากอัตลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นจากหลักศีลธรรมจริยธรรม, นักประวัติศาสตร์และผู้หวังดี-ผู้ให้โอกาส 4) บทบาทที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ในรายการฯ ได้แก่ บทบาทการเปิดประเด็นในการสนทนา, บทบาทการเน้นย้ำ, บทบาทช่วยสรุป, บทบาทเป็นตัวแทนฝ่ายตรงข้ามและบทบาทการถามคำนิยาม
Other Abstract: The objectives of this research are as follows 3 points: 1) to survey and categorize political content of "Muang Thai Rai Sabda" 2) to analyze the construction of social reality from each political discourse.3) to analyze the power of discourse from Sondhi Limthongkul. The researcher studied the text from the record of “Muang Thai Rai Sabda” at website http://www.manager.co.th that had been on air from 4 July 2003 to 9 September 2005.This research used qualitative methodology by using content analysis and textual Study. The results showed that : 1. Two hundred and twenty-nine issues were found in "Muang Thai Rai Sabda" programs, of which 169 were political. Political discourse could be divided into 5 kinds: process of democracy, government's policies and projects, government's problems solution, politician's performance and the role of policemen in Thai society. 2. Sondhi 's construction of social reality on political discourse : realistic politics was different from politics in constitution; emphasis of government’s economic policy would lead to absolute power situation; the government had no sincerity in solving problem, the good politicians must hold on to the moral in mind and Thai police must adapt and clear themselves for working. As for construction of social reality on royal discourse, the King had royal command but people were indifferent to that. 3. Sondhi's power of discourse came from four sources : his use of language, the frame of discourse, Sondhi's identity as one who was ethical, one who was a historian, one who was a well-wisher, and one who gave others an opportunity and last, one whose role from interaction with his co-host in Muang Thai Rai Sabda TV program.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8904
ISBN: 9741418159
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thidarat.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.