Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/893
Title: | ความสามารถในการสื่อสารของผู้หญิงในส่วนราชการที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพของสำนักงาน ก.พ. |
Other Titles: | Women's communication competence in government offices participating in OCSC's public performance improvement project |
Authors: | ผานิต อมราพิทักษ์, 2521- |
Advisors: | นงลักษณ์ ศรีอัษฎาพร เจริญงาม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nongluck.C@chula.ac.th |
Subjects: | ผู้บังคับบัญชาสตรี--บทบาท |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสถานภาพและการยอมรับบทบาทการทำงานของผู้หญิง ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อสถานภาพและการยอมรับบทบาทการทำงานของผู้หญิง ตลอดจนลักษณะการสื่อสารของ ผู้หญิงที่ได้รับการยอมรับและไม่ได้รับการยอมรับในส่วนราชการที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพของสำนักงาน ก.พ. ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ตอบจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 252 คน ซึ่งเป็นข้าราชการใน 5 องค์กรที่เข้าร่วมใน โครงการฯ (กรมทะเบียนการค้า กรมสรรพากร กรมที่ดิน สำนักงาน ก.พ. สำนักงานประกันสังคม) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้หญิงได้รับการยอมรับในบทบาทและสถานภาพในการทำงานมากขึ้นกว่าในอดีต องค์กรเปิดโอกาสให้ผู้หญิงและผู้ชายแสดงความสามารถในการทำงานได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทและสถานภาพในการทำงานของผู้หญิงในส่วนราชการที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และ คอมพิวเตอร์อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และ ระดับการศึกษา 3. ลักษณะการสื่อสารของผู้บังคับบัญชาผู้หญิงที่ได้รับการยอมรับ เช่น สามารถทำงานเป็นทีม ถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบและชัดเจน ให้คำแนะนำและช่วยแก้ไขให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ลักษณะการสื่อสารของผู้ใต้บังคับบัญชาผู้หญิงที่ได้รับการยอมรับ เช่น สามารถถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบและชัดเจน ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายเป้าหมายขององค์กร สามารถทำงานเป็นทีม สามารถนำเสนองานได้ชัดเจนและน่าสนใจ พูดจาสุภาพอ่อนหวานให้เกียรติคู่สนทนา ลักษณะการสื่อสารของผู้ร่วมงานที่ได้รับการยอมรับ เช่น สามารถทำงานใจผู้ร่วมงานเมื่อเกิดปัญหาในการทำงาน ช่วยรักษาหน้าไม่ปล่อยให้ผู้ร่วมงานกระทำผิดพลาดออกไปทั้งที่ทราบว่าผิด สามารถถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบชัดเจน และกล้าแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา 4. ลักษณะการสื่อสารของผู้บังคับบัญชาผู้หญิงที่ไม่ได้รับการยอมรับ เช่น ทำทุกอย่างให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม พูดถึงข้อผิดพลาดของผู้อื่นในอดีต พูดจาไม่ถนอมน้ำใจผู้อื่น พูดจาส่อเสียดกระทบกระเทียบ และไม่สามารถโน้มน้าวใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อในความสามารถ ลักษณะการสื่อสารของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไม่ได้รับการยอมรับ เช่น พูดเข้าข้างผู้บังคับบัญชาของตนอย่างไม่มีเหตุผล ไม่รู้จริงในสิ่งที่พูด และนำคำพูดของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นคำพูดของตนโดยไม่มีการอ้างอิง ลักษณะการสื่อสารของผู้ร่วมงานผู้หญิงที่ไม่ได้รับการยอมรับ เช่น ...นำข้อเสียของผู้ร่วมงานไปพูดกับผู้อื่น ไม่สามารถโน้มน้าวใจให้ผู้อื่นเชื่อในความสามารถ พูดจาไม่ถนอมน้ำใจผู้อื่น และชักสีหน้าเมื่อได้รับมอบหมายให้ทำงานร่วมกัน |
Other Abstract: | The present survey research was conducted in attempts to study Thai women's work roles and status and factors affecting the acceptance of their work competence. In addition, the study investigated the characteristics of communicatively competent and incompetent Thai working women. Questionnaire data (N=252) were collected from 5 government offices participating in OCSC's Public Performance Improvement Project (i.e., the Department of Commercial Registration, the Department of Revenue, the Department of Lands, the Office of Civil Service Commission, and the Office of Social Security). The study results indicated that : 1. Today Thai women gain more acceptance in work roles and status than before. Moreover, Thai organizations provide more opportunities for women to demonstrate their work competence equally to men. 2. The factors which affected the acceptance of women's work roles and status in government offices were the levels of English competency and computer literacy, age, length of work experience and educational background. 3. The characteristics of communicatively competent female superiors were such as ability to work with a team, ability to pass on knowledge with a clear and systematic manner, ability to give suggestions to subordinates and to help solve their subordinates' problems. The characteristics of communicatively competent female subordinates were such as, ability to pass on knowledge with a clear and systematic manner, ability to follow organizational rules, regulations and policies, ability to work with a team, ability to make clear and interesting presentations on their work, and ability to speak with polite and respectful manners. The characteristics of communicatively competent female co-workers were such as ability to provide supports for others and save their co-workers' faces when coping with work problems, ability to pass on knowledge with a clear and systematic manner and ability to assertively express candid opinions. 4. Communicatively incompetent female superiors were found to do anything to get what they want, to often criticize others' mistake, and to speak in inconsiderate, sarcastic and nonpersuasive manners. Communicatively incompetent female subordinates spoke along with their superiors with nonrational ingratiating manners, had no knowledge on what they talked about, and took credits from others' ideas. Communicatively incompetent female co-workers often criticized others' mistakes, spoke in inconsiderate and nonpersuasive styles, and expressed dissatisfaction when being assigned to work with others. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วาทวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/893 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.453 |
ISBN: | 9741706065 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.453 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phanit.pdf | 14.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.