Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/894
Title: การสื่อความหมายและอุดมการณ์ในเพลงมหาวิทยาลัย
Other Titles: Communicative meaning and ideology in the University Songs
Authors: ชัยวัฒน์ หอวรรณภากร
Advisors: อวยพร พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Uayporn.P@chula.ac.th
Subjects: เพลงมหาวิทยาลัย
การสื่อสาร
อุดมการณ์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ตัวบท ตลอดทั้งการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของเพลงมหาวิทยาลัย วิเคราะห์วัจนกรรม แรงจูงใจ และอารมณ์ที่ใช้ในการสื่อความหมาย ตลอดจนเพื่อทราบถึงความเข้าใจและทัศนคติของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อเพลงมหาวิทยาลัย และเพื่อทราบถึงช่องทางการเผยแพร่บทเพลงมหาวิทยาลัย โดยนิสิตนักศึกษาในแต่ละมหาวิทยาลัยทำการคัดเลือกเพลงมหาวิทยาลัยของตนมหาวิทยาลัยละ 2 เพลง จำนวน 5 มหาวิทยาลัย เพื่อนำมาเป็นกรณีศึกษา จำนวน 10 เพลง ผลการศึกษาพบว่า เนื้อหาและความหมายของเพลงมหาวิทยาลัยมีส่วนแปรผันไปตามปริบททางการเมืองน้อยมาก ส่วนใหญ่จะแปรผันไปตามปริบทแวดล้อมของผู้ประพันธ์ สำหรับผลการสื่อความหมายในเพลงมหาวิทยาลัย พบว่ามีการสื่อความหมายโดยใช้ถ้อยคำสร้างภาพพจน์ประเภทอนุนามมัยมากที่สุด รองลงมาคือ นามมัย และอติพจน์ ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่ามีการใช้คำเพื่อสร้างอารมณ์รักในมหาวิทยาลัยมากที่สุด รองลงมาคืออารมณ์ภาคภูมิใจและอารมณ์สนุกสนาน ตามลำดับ นอกจากนั้นกลวิธีที่ผู้ประพันธ์นำมาใช้ในการตอกย้ำอารมณ์คือ การสร้างคำสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ขณะเดียวกันพบว่าในทุกเพลงมีการสร้างอารมณ์ให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของผู้ประพันธ์ในการสื่อความหมายโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อเพื่อความสอดคล้องในการสื่อความหมาย ในส่วนของผลการวิเคราะห์วัจนกรรมและแรงจูงใจ พบว่ามีการใช้วัจนกรรมประเภทการบรรยายข้อมูลและการแสดงความรู้สึกมากที่สุด เพื่อสร้างความรู้สึกรักและผูกพันในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ แรงจูงใจที่ผู้ประพันธ์นำมาใช้มากที่สุดคือ ความต้องการผูกพันกับสถาบันและเป็นที่รักของสังคม รองลงมาคือด้านความมีคุณภาพและความมีชื่อเสียง ตามลำดับ ในส่วนของความเข้าใจและทัศนคติของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อเพลงมหาวิทยาลัย ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามแก่นิสิตนักศึกษาทั้ง 5 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยละ 100 ชุด รวมทั้งสิ้น 500 ชุด พบว่า นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่มีความเข้าใจในความหมายและอุดมการณ์ของเพลงมหาวิทยาลัยของตนในระดับดีและมีทัศนคติต่อเพลงมหาวิทยาลัยของตนในเชิงบวก นอกจากนี้ สื่อที่ถูกนำมาใช้เป็นช่องทางการสื่อสารบทเพลงมหาวิทยาลัยมากที่สุด คือ สื่อบุคคล
Other Abstract: This research, which is historical, contextual and survey were to study the history of the University's Songs, their communicative meaning, the motivations, emotional meaning and speech act analysis. Moreover, these research objectives were to study student's attitude toward their University's Songs and channel which is the tool of ideology embedding. Students from each university selected ten University's Songs. The results showed as: texts and meanings of the University's Songs almost are not variable to the political contexts. For the figure of speech analysis, the composer applied synecdoche, metonymy and hyperbole, respectively. Love, proud and fun, respectively were the emotion mostly used in the University's Songs. The motive terms that were used mostly in the University's Song are the sense of belongingness and love needs, quality and reputation, respectively. Moreover, the method in emphasizing the feeling was the repetitive use of rhymed vowels and consonants that go along with the song. For the speech act analysis and motivation, the composer applied the representative and expressive mostly. The composers' objetives were to create the love feeling in students' mind, to make students appreciate the kindness and goodness of their university and to create the feeling of unity or harmony. The research also found that every University's Song used rhythm to create the emotion. Besides, the results from 500 questionnaires that were gathered from students from 5 universities found that students of each university understand the meaning and ideology of their University's Songs. Students have the positive attitude toward their University's Songs. Moreover, people is a kind of channel that is mostly used for ideology embedding.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/894
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.421
ISBN: 9741707533
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.421
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaiwat.pdf23.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.