Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8944
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจักรพันธ์ สุทธิรัตน์-
dc.contributor.authorปัญญา จารุศิริ-
dc.contributor.authorSinclair, Gavin-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.contributor.otherไม่มีข้อมูล-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคตะวันออก)-
dc.coverage.spatialชลบุรี-
dc.coverage.spatialระยอง-
dc.date.accessioned2009-06-04T02:53:42Z-
dc.date.available2009-06-04T02:53:42Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8944-
dc.description.abstractหินแกรนิตบริเวณจังหวัดชลบุรีและระยองแทรกดันตัวขึ้นมาใหม่ในช่วงเวลาประมาณ 207-221 ล้านปีที่แล้ว หรือปลายยุคไทรแอสซิก (Late Triassic) จัดอยู่ในแนวหินแกรนิตตอนกลางของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าสามารถแบ่งออกเป็น 7 กลุ่มตามลักษณะทางศิลาวรรณนาประกอบด้วย 1) หินไบโอไทต์-มัสโคไวท์แกรนิตเนื้อละเอียด 2) หินไบโอไทต์-มัสโคไวท์แกรนิต 3) หินมัสโคไวท์แกรนิต 4) หินฮอร์นเบลนด์-ไบโอไทต์แกรนิต 5) หินไบโอไทต์-มัสโคไวท์แกรนิตเนื้อดอก 6) หินไบโอไทต์แกรนิต และ 7) หินทัวร์มาลีนแกรนิต ผลวิเคราะห์ธรณีเคมีของหินทั้งก้อนพบว่าส่วนใหญ่มีปริมาณซิลิกาสูงกว่า 70% และเปลี่ยนแปลง อยู่ในช่วงแคบๆ ประมาณ 70-72% ปริมาณอะลูมินาส่วนใหญ่ตกอยู่ในช่วงประมาณ 12-14% มีเพียงบางตัวอย่างที่สูงกว่า 17% องค์ประกอบโพแทสเซียมทั้งหมดอยู่ในระดับสูงคือ 6-7% โซเดียมในช่วง 4-8% องค์ประกอบเหล็กรวมเกือบทุกอย่างในทุกกลุ่มมีช่วง 1-2% แมกนีเซียมในตัวอย่างหินแกรนิตทั้งหมดมีค่าต่ำกว่า 2% เช่นเดียวกับแคลเซียมที่ต่ำกว่า 2% สำหรับธาตุองค์ประกอบรองอีกสามธาตุคือ ไทเทเนียมฟอสฟอรัส และแมงกานีส นั้นทั้งหมดมีค่าต่ำกว่า 0.5% ในทุกตัวอย่างโดยเฉพาะผลวิเคราะห์ MnO ซึ่งมีค่าต่ำกว่า 0.1% การเปลี่ยนแปลงของธาตุองค์ประกอบเคมีทั้งธาตุหลักและรอง โดยทั่วไปพบว่าหินแกรนิตในพื้นที่นี้มีการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างขององค์ประกอบไม่มากนัก บ่งชี้ว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบนั้นอาจเป็นผลมาจากกระบวนการตกผลึกลำดับส่วนของหินหนืด และพบว่าส่วนใหญ่เป็นหินที่มีองค์ประกอบทางเคมีตกอยู่ในช่วงของ syenite และquartz syenite บางส่วน ขณะที่หินกลุ่มฮอร์นเบลนด์-ไบโอไทต์แกรนิตมีองค์ประกอบทางเคมีคาบเกี่ยวระหว่าง tonalite-quartz diorite และ adamellite-granodiorite หินหนืดต้นกำเนิดจัดว่าเป็น metalumina ซึ่งมีองค์ประกอบธาตุอัลคาไลค่อนข้างสูง โดยผลวิเคราะห์ตัวอย่างทั้งหมดตกอยู่ในพื้นที่องค์ประกอบของ within plate granite คือ หินแกรนิตที่เกิดบนทวีปหลังจากการชนกันของทวีปจนก่อให้เกิดแนวภูเขาจากการชนกัน (late orogeny) ต่อเนื่องไปถึงหลังการเกิดภูเขา (post-orogeny) หรือช่วงไม่มีการเกิดภูเขาไฟ (anarogeny) จึงสามารถสันนิษฐานได้ว่าการเกิดหินแกรนิตกลุ่มนี้น่าจะมีตำแหน่งที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นจุลทวีปชาน-ไทยภายหลังจากการชนกันของแผ่นจุลทวีปอินโดจีน จากผลการศึกษาปริมาณธาตุอาหารพืชจากองค์ประกอบเคมีหลักในหินทั้งก้อนและกลุ่มแร่เฟลด์สปาร์สรุปได้ว่าหินแกรนิตเหล่านี้ไม่เหมาะสมที่จะนำมาพัฒนาทำปุ๋ยซึ่งสอดคล้องกับดินโดยรอบพื้นที่ศึกษาที่มีความสมบูรณ์ต่ำต่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร แต่หินแกรนิตเหล่านี้อาจนำไปบดเป็นผงสำหรับใช้ปรับปรุงสภาพความเป็นกรดของพื้นที่ปนเปื้อนได้en
dc.description.abstractalternativeChonburi-Rayong granite intruded about 207 to 221 Ma ago (Late Triassic); it is a part of central granite belt of Thailand. Sample collection under this study are grouped, based on petrographic features, into 7 groups including 1) fine-grained biotite-muscovite granite, 2) biotite-muscovite granite, 3) muscovite granite, 4) hornblende-biotite granite, 5) porphyritic biotite-muscovite granite, 6) biotite granite and 7) tourmaline granite. Geochemical whole-rock analyses show that most samples have high silica contents (more than 70%) varying within a narrow range between 70 and 72%. Alumina contents mostly fall within rang of 12-14%, besides, a few samples are higher than 17%. Potassium and sodium contents are quite high about 6-7% and 4-8%, respectively, whereas total iron, magnesium and calcium compositions of all groups are low (less than 2%). The rest of minor elements (Ti, P and Mn) are negligible. In general, chemical compositions of all sample groups are similar and varying within narrow range. This indicates the same magma source that appears to have been involved by crystal fractionation process. In addition, their chemical compositions are mostly related to those of syenite and partly similar to quartz syenite; however, hornblende-biotite granite falls between compositions of tonalite-quartz diorite and adamellite-granodiorite. Initial magma is expected as metalumina which likely had high alkali content. Tectono-diagram plotting suggests continuous processes during late orogeny to post orogeny or anorogeny that had caused partial melting of the granitic magma within continental plate. Therefore, they might be taken place within Shan-Thai micro-continent after collision with Indochina micro-continent. Based on whole-rock composition and feldspar chemistry, these granites are not sufficient for producing fertilizer. This result is comparable to decomposed soils around the study area in which they are low quality for agricultural utility. However, they may be grinded and used as acid neutralizer for contaminated land.en
dc.description.sponsorshipทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภชen
dc.format.extent5412319 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectธรณีวิทยากายภาพ -- ไทย (ภาคตะวันออก)-
dc.subjectหินแกรนิต -- ไทย -- ชลบุรี-
dc.subjectหินแกรนิต -- ไทย -- ระยอง-
dc.titleเคมีและศิลาวิทยาของหินแกรนิต ในพื้นที่ชลบุรี-ระยอง ภาคตะวันออกของประเทศไทย : รายงานวิจัยen
dc.title.alternativeChemistry and petrology of granitic rocks in Chonburi-Rayong area, eastern Thailanden
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.email.authorCpunya@chula.ac.th-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chakkaphan.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.