Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8999
Title: กฎหมายคุ้มครองข้อมูลในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
Other Titles: Legal protection of data in electronic databases
Authors: ปารเมศ บุญญานันต์
Advisors: สุธรรม อยู่ในธรรม
เฉลิมชัย ก๊กเกียรติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sudharma.Y@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ฐานข้อมูล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้เกิดจากความเป็นจริงในปัจจุบันที่โลกมีการพัฒนาระดับข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีความนิยมแพร่หลายอย่างกว้างขวางทั่วโลก จนก่อให้เกิดการปฏิวัติในระบบความคิดและวิธีการปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแนวทางหลัก รวมทั้งในเรื่องของการเก็บบันทึกข้อมูล (data) การรวบรวมข้อมูลให้อยู่เป็นระบบหรือเรียกว่าฐานข้อมูล (database) ที่ล้วนแต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มตัว ข้อมูล (data) ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด เกิดจากการสะสมความรู้ความสามารถและสติปัญญาของมนุษย์ได้ถูกนำไปใช้ในการคิดสร้างสรรค์งานต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สังคมโดยรวม สมัยก่อนข้อมูลจะเก็บไว้ในสมองของผู้คิดสร้างสรรค์บ้าง จดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรบ้าง กระจัดกระจายกันอย่างไม่เป็นระเบียบแบบแผน ต่อเมื่อมีการจัดหมวดหมู่ในภายหลังหรือเรียกว่า ฐานข้อมูล (database) ทำให้ข้อมูลมีระเบียบมากขึ้น นำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อนำข้อมูลในฐานข้อมูลมาสร้างสรรค์งานจะได้ผลงานออกมาเรียกว่า ทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) อย่างไรก็ดี แม้ในประเทศที่พัฒนาก้าวหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศ สหราชอาณาจักร และประเทศในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ยังมีปัญหาทางด้าน จริยธรรม และการควบคุมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย มีปัญหาผู้ทุจริต ปลอมแปลง ลอกเลียน เอาไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่เหมาะสม เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้สร้างสรรค์งาน จนในที่สุด ก็ได้ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเช่น กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามาใช้บังคับ และมีการพัฒนากฎหมายดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา พร้อมกันนี้ก็มีการผลักดันให้ประเทศภาคีในองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกยอมรับกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่พัฒนามาจากกฎเกณฑ์ของเหล่ามหาอำนาจทางการสื่อสารมาใช้ แต่ปัจจุบันยังไม่บรรลุผล ผลจากการศึกษาพบว่าประเทศไทยเห็นความสำคัญของการคุ้มครองงานสร้างสรรค์และมีกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาหลายฉบับออกใช้ เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า แต่ยังล้าหลังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานโลกและความก้าวหน้าของวิทยาการที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการคุ้มครองข้อมูลในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จึงควรหามาตรการและวิธีการคุ้มครองข้อมูลในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสม โดยศึกษาจากรูปแบบที่ใช้กันในระดับระหว่างประเทศ และกฎหมายที่มีอยู่ในประเทศไทย เพื่อเป็นพื้นฐานในการบัญญัติกฎหมายที่มีประสิทธิภาพต่อไป
Other Abstract: Information technology is among the fast growing industries of the world today. It leads to the new concept of thinking in various aspects including data and knowledge recording. Data collected in various forms play the crucial part of the formation of all humans' creativity. The collection of data named 'database' would be subsequently the main sources of creation publicly known as 'Intellectual Property'. However, the procedures of protection to the data themselves and the producers of such creations are not fully materialized. Piracy of those valuable data and database becomes the huge problem in information technology industry. All the leading nations such as the USA, UK and members of the European Union establish their own effective protection systems and updata the relevant laws regularly. Such effort has been extended to the international level as draft of agreement on intellectual property protection among the member states of the World Intellectual Property Organisation (WIPO). In Thailand, the concept of intellectual property protection is also recognised. However, only a few laws concerning copyright, patent and trademark already exist and nothing close to electronic data and databases at all. Therefore, more regulations on intellectual property protection based on international standard protection system would have to be enacted to cope with the rapid growth of the industry in the near future.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8999
ISBN: 9741311842
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
paramate.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.