Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9003
Title: ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมองค์กรต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย
Other Titles: Impact of organizational culture on new product development of food industries in Thailand
Authors: เขจร พงษ์ธรรมรักษ์
Advisors: ชูเวช ชาญสง่าเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chuvej.C@Chula.ac.th
Subjects: ผลิตภัณฑ์ใหม่
อุตสาหกรรมอาหาร -- ไทย
วัฒนธรรมองค์การ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำเร็จและความล้มเหลว ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในอุตสาหกรรมอาหารของไทย และเปรียบเทียบผลการวิจัยกับผลการศึกษาของต่างประเทศ โดยใช้ปัจจัยทางวัฒนธรรมจากการศึกษาของ Hofstede ในการเปรียบเทียบ ซึ่งได้แก่ Power Distance, Individualism-Collectivism, Masculinity-Femininity, Uncertainty Avoidance, Confucian Dynamics กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ พนักงานแผนกวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากบริษัทในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย จำนวน 75 ตัวอย่าง จาก 8 บริษัท โดยในจำนวนนี้ แบ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรจำนวน 6 คน และเป็นพนักงานระดับล่างตลอดจนระดับกลางจำนวน 69 คน ผลการวิจัยที่สำคัญแบ่งได้เป็นสามส่วนคือ 1) วัฒนธรรมของกลุ่มตัวอย่างที่ได้ทำการศึกษามีความสอดคล้องกับกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในระยะปฏิบัติมากกว่าในระยะเริ่ม และพบว่าปัจจัยอื่นได้แก่ สัดส่วนของเพศชายในองค์กร อายุ และระดับการศึกษาของพนักงานมีความสัมพันธ์กับ ค่าปัจจัยทางวัฒนธรรม 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ การทำงานที่มีแบบแผนชัดเจน การให้ความสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง การสื่อสารระหว่างฝ่ายเทคนิคและฝ่ายการค้า การมีส่วนร่วมในการกำหนดเรื่องที่จะต้องตัดสินใจของฝ่ายการค้า การที่พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างเพียงพอ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างฝ่ายเทคนิคและฝ่ายการค้า ตามลำดับ และ 3) ผลการคำนวณดัชนีทางวัฒนธรรมเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของ Hofstede (1991) มีความแตกต่างกันมาก เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยของ Hofstede ใช้พนักงานทุกคนในบริษัทและใช้เพียงบริษัทเดียว ส่วนในการวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างจากแผนกวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และพนักงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แต่มาจากหลายบริษัท ส่วนการนำไปเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของประเทศนิวซีแลนด์ปรากฏว่า ประเทศไทยมีปัจจัยทางวัฒนธรรมในด้าน Power Distance สูงกว่านิวซีแลนด์มากซึ่งแสดงถึงการมีอำนาจไม่เท่าเทียมกันของบุคคล ส่วนในด้าน Uncertainty Avoidance และ Masculinity ทั้งสองประเทศมีค่าสูงและใกล้เคียงกัน ซึ่งแสดงถึงความชอบในการทำงานที่มีแบบแผนชัดเจน และให้ความสำคัญกับงานมาก ส่วนปัจจัย Individualism ทั้งประเทศไทย และนิวซีแลนด์มีค่าต่ำโดยเฉพาะนิวซีแลนด์มีค่าต่ำมาก ซึ่งแสดงถึงความชอบทำงานเป็นกลุ่ม ส่วนในปัจจัยสุดท้ายคือ Confucian Dynamics ประเทศไทยมีค่าสูงกว่านิวซีแลนด์เล็กน้อย แสดงถึงการคำนึงถึงผลได้ผลเสียในอนาคตมากกว่า
Other Abstract: The purpose of this research is to study the relationship between the cultural factors and the success and failure of the new product development process of food industries in Thailand and compare the result of the research with the outcome of the study in other countries. The cultural dimensions used to compare the results are from hofstede's research such as power distance, individualism-collectivism, masculinity-femininity, uncertainty avoidance, confucian dynamics. The sample groups in this research comprise of the personnel involved in new product research and development and the persons in charge of product development from a total of eight food manufacturing companies in Thailand. The total of 75 respondents consisted of 6 executives and 69 low and middle ranking personnel. The results of the research can be divided into three groups. 1) The cultures of the studied sample groups are in agreement with new product development procedure in implementation stage. There was a relationship between cultural dimension and other factors, such as percent of male employees in the firm, age and level of education. 2) The most influential factor is the pattern working procedure, the top management support, the communication between technical and commercial department, the participation in problem solving decision by the commercial department, the adequate participation in the decision making by people in the project, and the information exchange between the commercial and technical department respectively. 3) The results of cultural index calculation compared with that of Hofstede (1991) research are much differences due to the differences of sample group. The sample groups of hofstede research are from all officers in one company while that of this research are from the new product development department and persons in charge of research and development department from many companies. The results comparing to that of the research conducted in New Zealand indicated that Thailand has much more power distance than New Zealand, this shows the inequality of persons. For uncertainty avoidance and masculinity, both countries has high scores similarty which indicated the preference in pattern working and paying more attention to work. Both countries score low on individualism but New Zealand score lower than Thailand, this shows the preference in working in group. The last dimension is confucian dynamics, Thailand score a little more than New Zealand, this explains the consideration of the future outcomes.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9003
ISBN: 9741300085
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kajen.pdf764.62 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.