Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9025
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย-
dc.contributor.authorสันติ สุวรรณรังษี-
dc.contributor.otherDamrong.T@chula.ac.th-
dc.date.accessioned2009-06-11T02:35:28Z-
dc.date.available2009-06-11T02:35:28Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743471952-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9025-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพในกระบวนการของขั้นตอนการผลิตงานพิมพ์ โดยมีขอบเขตการวิจัยสำหรับการพิมพ์ประเภทออฟเซตชนิดกระดาษป้อนแผ่นในอุตสาหกรรมบริการประเภทโรงพิมพ์ เนื่องจากขั้นตอนการพิมพ์เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเพื่อบรรลุเป้าหมายคุณภาพที่ดีของการผลิตสิ่งพิมพ์ จากการศึกษาพบว่าโรงพิมพ์ตัวอย่างยังขาดระบบประกันคุณภาพสำหรับกระบวนการขั้นตอนการพิมพ์ที่ดี ทำให้เกิดปัญหาการผลิตงานพิมพ์ที่มีคุณภาพไม่สม่ำเสมอไม่เป็นที่พอใจของลูกค้า และทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจในคุณภาพที่จะได้รับ ผู้วิจัยได้เสนอระบบประกันคุณภาพสำหรับกระบวนการขั้นตอนการพิมพ์ให้แก่โรงพิมพ์ตัวอย่างไว้ดังนี้ 1. ระบบประกันคุณภาพที่สร้างความมั่นใจในปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพงานพิมพ์ ได้แก่ วัตถุดิบ ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ เครื่องพิมพ์ที่มีความพร้อมในการผลิต บุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างดี วิธีปฏิบัติงานที่มีมาตรฐาน และการตรวจวัดที่มีประสิทธิภาพ 2. ระบบประกันคุณภาพสำหรับกระบวนการขั้นตอนการพิมพ์ ประกอบไปด้วย การวางแผนคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การตรวจติดตามคุณภาพ การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน การบำรุงรักษาอุปกรณ์และสอบเทียบเครื่องมือวัด การฝึกอบรม การจัดองค์กรเพื่อคุณภาพ นอกจากนี้ในแต่ละขั้นตอนการผลิต ได้นำระบบการบันทึกคุณภาพ (แบบฟอร์ม) มาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือประเมินผลที่จะประกันได้ว่า คุณภาพของแผ่นพิมพ์สำเร็จรูปมีระดับคุณภาพที่ดี สม่ำเสมอก่อนส่งถึงลูกค้า การศึกษาระบบประกันคุณภาพสำหรับกระบวนการขั้นตอนการพิมพ์ชนิดกระดาษป้อนแผ่นในครั้งนี้ นอกจากจะช่วยปรับปรุงคุณภาพงานพิมพ์ให้ดีขึ้นและทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในคุณภาพแล้ว ยังอาจใช้เป็นแนวทางสำหรับพัฒนระบบประกันคุณภาพสำหรับขึ้นตอนอื่นของอุตสาหกรรมการพิมพ์ได้ด้วย หรือสำหรับอุตสาหกรรมอื่นที่มีความคล้ายคลึงกันen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is quality assurance improvement for printing process. The scope of research is for sheet off-set printing process. The printing process is directly effect to the quality of finish product. If the good printing process is established, so the products will be confident by customers. There is no quality assurance system for printing process in the case study factory, so customers may be not satisty because the product offered to them may be not of a consistent quality. The quality assurance for printing process was established that includes the following : 1. Ensuring that the production parameters ; material, machine, man, method, measurement are inspected and controlled. 2. The quality assurance system are consists of quality planning, quality control, quality audit, corrective and preventive action, preventive maintenance and calibration, training and organization. Quality record required by the quality assurance system were established and operated to provide evidence of acceptable quality products before delivery to customers. For the other process improvement in printing manufacture, this research is used for the guidance to established quality assurance system in the future. Furthermore, it is guidance for the similar manufacture development.en
dc.format.extent12596962 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectประกันคุณภาพen
dc.subjectการพิมพ์ออฟเซทen
dc.titleการพัฒนาการประกันคุณภาพในกระบวนการของขั้นตอนการผลิตงานพิมพ์en
dc.title.alternativeDeveloping process quality assurance of printing service productionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorDamrong.T@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunti.pdf12.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.