Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/911
Title: การเปรียบเทียบผลการเปิดรับสื่อภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ที่ใช้ความน่ากลัวและความเอื้ออาทรเป็นแรงจูงใจ
Other Titles: Comparison of results of exposure to fear and sympathy appeals TV.spots on AIDS
Authors: วิชชุตา ชินกุลประสาน, 2521-
Advisors: อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Ubolwan.P@chula.ac.th
Subjects: โรคเอดส์ในสื่อมวลชน
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่อง "การเปรียบเทียบผลการเปิดรับสื่อภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ต่อิต้านโรคเอดส์ที่ใช้ความน่ากลัวและความเอื้ออาทรเป็นแรงจูงใจ" เป็นการวิจัยเชิงทดลองรูปแบบ Posttest-Only Control Group Design ศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครทั้งชายและหญิงจำนวนทั้งสิ้น 270 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 90 คน กลุ่มที่เปิดรับภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ที่ใช้ความน่ากลัว 90 คน กลุ่มที่เปิดรับภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ที่ใช้ความเอื้ออาทร 90 คน โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1.เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของสื่อภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ที่ใช้ความน่ากลัวและความเอื้ออาทรกับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ 2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของสื่อภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ที่ใช้ความน่ากลัวและความเอื้ออาทรต่อทัศนคติที่มีต่อโรคเอดส์ 3. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของสื่อภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ที่ใช้ความน่ากลัวและความเอื้ออาทรต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมต่อโรคเอดส์ 4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมปลายที่มีต่อสื่อภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ที่ใช้ความน่ากลัวและความเอื้ออาทร จากผลการศึกษาพบว่านักเรียนทั้งที่ได้รับสื่อและไม่ได้รับสื่อไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้งในเรื่องของความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมที่มีต่อโรคเอดส์ อีกทั้งนักเรียนที่ได้รับสื่อภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ต่างชนิดกันคือที่ใช้ความน่ากลัวกับความเอื้ออาทรเป็นแรงจูงใจต่างก็ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในเรื่องของความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจเชิงพฤติกรรม ทางด้านความคิดเห็นที่มีต่อสื่อภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ที่ได้รับชมพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ชอบภาพยนตร์โฆษณาที่ได้ชมและเห็นว่าการให้ผู้ป่วยเอดส์เป็น Presenter เป็นวิธีที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตามนักเรียนยังเห็นว่าเนื้อหาสื่อขาดความทันสมัยและซ้ำๆ กัน
Other Abstract: "Comparison of results of exposure to fear and sympathy appeals spots on Aids" is an experimental research study following the posttest-only control group design. Its sample consisted of 270 high-school male and female students studying in Bangkok. The students were divided into 3 groups each of which was composed of 90 students. The first group was the control group that did not watch any spots. The second group was exposed to the fear-appeal spots on AIDS whereas the third group was exposed to the sympathy-appeal spots on AIDS. The objectives of the study were as follows: 1. To compare the effectiveness of the fear-appeal and the sympathy-appeal spots on AIDS with respect to knowledge about AIDS. 2. To compare the effectiveness of the fear-appeal and the sympathy-appeal spots on AIDS with respect to attitude towards AIDS. 3. To compare the effectiveness of the fear-appeal and the sympathy-appeal spots on AIDS with repect to behavioral intention about AIDS. 4. To survey the high-school students' opinion about the fear-appeal and the sympathy-appeal spots on AIDS. The study found that there were no significantly statistical differences in knowledge, attitude, and behavioral intention between students who were exposed and who were not exposed to the spots. Furthermore, the students exposed to the fear-appeal spots were not significantly different from the students exposed to the sympathy-appeal spots in terms of knowledge, attitude, and behavioral intention. Regarding opinion towards the spots on AIDS, most of the students liked the spots and thought that the best way to create the spots on AIDS was to have AIDS patients as the presenters. However, the students thought that the contents of the spots were old-fashioned and repetitious.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/911
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.478
ISBN: 9740307558
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.478
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
witchuta.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.