Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9112
Title: ปัญหาและอุปสรรคในการใช้สิทธิเสนอกฎหมายของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
Other Titles: Problems of and obstacle to initial implementation under the constitution of Kingdom of Thailand B.E. 2540
Authors: ปัญจนี เจียมสันดุษฎี
Advisors: นันทวัฒน์ บรมานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
กฎหมาย
รัฐธรรมนูญ -- ไทย
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการใช้สิทธิริเริ่มเสนอกฎหมายของประชาชนในประเทศไทย ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการใช้สิทธิเสนอกฎหมายของประชาชนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการใช้สิทธิเสนอกฎหมายของประชาชนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครองให้มากที่สุด ทั้งนี้ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนากระบวนการใช้สิทธิเสนอกฎหมายของประชาชนให้สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าว จากการศึกษา พบว่า ปัญหาที่อาจเป็นอุปสรรคในการใช้สิทธิเสนอกฎหมายของประชาชนในประเทศไทย ทั้งในการเสนอกฎหมายระดับประเทศและระดับท้องถิ่นนั้น อาจเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการใช้สิทธิในขั้นตอนต่างๆ นับตั้งแต่การจัดทำหรือยกร่างกฎหมาย การเข้าชื่อหรือรวบรวมรายชื่อประชาชน การตรวจสอบความถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายของคำร้องขอเสนอกฎหมาย และการพิจารณาร่างกฎหมายของรัฐสภาหรือสภาท้องถิ่น ซึ่งอาจส่งผลให้การใช้สิทธิเสนอกฎหมายของประชาชนไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและอาจตกเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ได้โดยง่าย ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการปรับปรุงกระบวนการใช้สิทธิเสนอกฎหมายในขั้นตอนต่างๆ นับตั้งแต่การริเริ่มจัดทำร่างกฎหมาย ซึ่งภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทในการยกร่าง การให้คำปรึกษาหรือการตรวจสอบร่างกฎหมายก่อนจะนำไปให้ประชาชนเข้าชื่อ การจัดทำโฆษณาเผยแพร่ และการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น จัดทำเอกสารแนะนำร่างกฎหมายที่กลุ่มผู้เริ่มก่อการยื่นคำร้อง ซึ่งสามารถให้ข้อมูลทั้งข้อดีข้อเสีย ตลอดจนผลกระทบของร่างกฎหมายดังกล่าว เผยแพร่แก่ประชาชนก่อนนำร่างกฎหมายไปให้ประชาชนเข้าชื่อ ในชั้นตอนของการตรวจสอบความถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายของการเข้าชื่อ เช่น การปรับปรุงระบบฐานข้อมูลทางทะเบียนของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัยเป็นระยะๆ, การให้ความสำคัญกับการตรวจสอบลายมือชื่อของผู้ร่วมเข้าชื่อว่าเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของผู้ร่วมเข้าชื่อ, การกำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบเอกสารและคำร้องของประธานรัฐสภาและคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ดำเนินการให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ตลอดจนการวางแผนพัฒนาบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนที่เป็นข้าราชการประจำและข้าราชการเมืองทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เพื่อเพิ่มศักยภาพและความชำนาญในการวินิจฉัยหรือตรวจสอบคำร้องขอเสนอกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับในขั้นตอนของการพิจารณาร่างกฎหมายของรัฐสภาและสภาท้องถิ่นนั้น รัฐสภาและกระทรวงมหาดไทยจะต้องเร่งปรับปรุงข้อบังคับการประชุมให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิเสนอกฎหมายประชาชนเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายในรัฐสภาและสภาท้องถิ่นได้ นอกเหนือจากการใช้สิทธิเสนอร่างกฎหมายแต่เพียงประการเดียว
Other Abstract: This thesis focuses on problem of initiative process under the constitution of Kingdom of Thailand B.E. 2540 which shall be an obstacle to initial implementation due to the Constitution's will of encouragement people's role in political participation so as to meet the suitable measure in development the efficiency of initial implementation. According to the study, it is found that the problem and obstacle of nationwide initiatives as well as local initiatives shall originate in each step of initiatives process such as law-making or drafting, circulation, petition checking and legislation by the parliament or local assembly which shall result to inefficiency of initial implementation and became means of any interest groups easily. The researcher, therefore, proposes the following options to overcome the difficulty by improving in each step of initiative process. Starting with initial in law drafting in which the government shall be role in drafting, consulting or checking before circulation. To advertising and public relations by providing initiative pamphlet with information of pro-con and influence of the such initiative to propagate to people before circulation. On the step of validity verification, such as update date data base system of voter registration frequently enough. To emphasize on identified for authenticity of petition signer's name. To limit the verification period on the validity checking by the president of parliament or the election committee must be completed including planning to develop government official and political official of both nationwide and local level who are related in order to gain their potential and skill in consideration or verification with efficiency. On the step of legislation in parliament or local assembly, the Parliament and Ministry of Interior must adjust the meeting charter to be compatible with the provisions of the constitution and the relevant laws in order to encourage people to participate in legislate implementation in parliament or local assembly in addition to initiative only.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9112
ISBN: 9741303505
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panjanee.pdf12.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.