Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9121
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนรินทร์ วรวุฒิ-
dc.contributor.advisorสุทธิลักษณ์ ปทุมราช-
dc.contributor.authorประสาร ขจรรัตนเดช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-06-24T04:33:15Z-
dc.date.available2009-06-24T04:33:15Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741310358-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9121-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อการทดลองการใช้สารยับยั้งการสร้างหลอดเลือดในการรักษามะเร็งตับในหนูทดลอง ซึ่งได้รับการปลูกเนื้อเยื่อมะเร็งตับที่เพาะเลี้ยงขึ้นจากสายพันธุ์ของเซลล์มะเร็งตับในมนุษย์ โดยการตรวจวัดปริมาณการสร้างหลอดเลือดใหม่ต่อหน่วยพื้นที่ในบริเวณที่ปลูกเซลล์มะเร็งด้วยวิธี intravital fluorescent microscopy และการตรวจนับจำนวนหย่อม (colony) ของเซลล์มะเร็งต่อหน่วยพื้นที่ วิธีดำเนินการ นำเซลล์สายพันธุ์มะเร็งตับจากมนุษย์ที่มีชื่อว่าสายพันธุ์ HEP G2 มาเพาะเลี้ยงในสารเพาะเลี้ยงจนได้ปริมาณมาก แล้วนำไปปลูกใน dorsal skin chamber บนผิวหนังของหนูทดลอง (nude mice) อายุ 7 สัปดาห์ ตัวละ 120,000 เซลล์ แล้วแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ หนูในกลุ่มทดลองจะได้รับการป้อนสารยับยั้งการสร้างหลอดเลือดกลุ่มละ 4 ตัว โดยมีจำนวนของหนูเพศผู้และเพศเมียเท่ากัน ซึ่งอยู่ในรูปสารละลายในน้ำบริสุทธิ์ ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ด้วยขนาดยา 0.1 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ทุกตัว หนูในกลุ่มเปรียบเทียบจะได้รับการป้อนน้ำบริสุทธิ์ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการในปริมาณเท่าเทียมกัน ทั้งนี้โดยมีการปิดบังข้อมูลสำหรับผู้ทำการทดลองและวัดผลด้วย หลังจากนั้นหนูทดลองทั้งสองกลุ่มจะได้รับการเลี้ยงในสภาพจำกัดเชื้อ (pathogen-limited condition) ภายในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นเวลา 7 วัน แล้วนำหนูทดลองมาฉีดและดมยาสลบก่อนจะทำการตรวจระบบการไหลเวียนเลือดในบริเวณ dorsal skin chamber โดยใช้ intravital fluorescent microscopy และบันทึกภาพด้วยกล้องถ่ายภาพโทรทัศน์ (video) ทางกล้องจุลทรรศน์หลังจากนั้นจะนำเทปบันทึกภาพมาคำนวณหาปริมาณหลอดเลือดในบริเวณ dorsal skin chamber ต่อหน่วยพื้นที่ และจำนวนหย่อมของเซลล์มะเร็ง (colony) ต่อหน่วยพื้นที่แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบสถิติโดยใช้วิธีทดสอบสมมติฐานแบบ unpaired t-test ผลการศึกษา การศึกษาพบว่าผลการวัดค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของหลอดเลือดที่ผิวหนังและความหนาแน่นของกลุ่มเซลล์มะเร็งในหนูทดลองกลุ่มควบคุมมีค่ามากกว่าในหนูกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยไม่พบว่ามีผลข้างเคียงใดในหนูกลุ่มทดลอง สรุป การให้ยาต้านการสร้างหลอดเลือดมาริมาสแตทสามารถยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่และการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับที่นำไปปลูกในชั้นใต้ผิวหนังของหนูทดลอง nude mice อย่างได้ผลดีen
dc.description.abstractalternativeObjective To determine the objective response of antiangiogenesis agent for treatment of hepatocellular carcinoma cell line implanted in nude mice Method The human hepatocellular carcinoma cell lines, HEP G2 and S 109, were cultured in media. The 7 week-old nude mice were operated under anesthesia and dorsal skin chambers were placed on the backs of all nude mice subcutaneously. The HEP G2 and S 109 cell lines were implanted in all chambers with the amount of 80,000 cells in each chamber. All nude mice were maintained in pathogen-limited condition in the appropriate environment. Then the nude mice were separated into two groups, experimental and controlled groups, with three mice in each. The antiangiogenesis agent, marimastat, were diluted with water to the concentration of 1 mg/ml. The experimental nude mice were fed by oral gavage with the dosage of 10 mg/kg/day of this agent twice a day. The controlled nude mice were also fed with water in the same volume. After 7 days each mice were examined under anesthesia by intravital fluorescent microscopy with video recording. Microvessel densities and colony count per unit area were calculated by image program. The results from both groups were compared for hypothesis testing using unpaired t-test method. Results The MMP inhibitor, marimastat, exerted a statistical significant therapeutic effect, reducing the percentage of microvascular area per one unit area and the percentage of area of cancer cells colony per one unit area. No sign of any side effect was found in the experimental group. Conclusion: The nude mice with implanted hepatocellular carcinoma cell lines were effectively treated with antiangiogenesis agent.en
dc.format.extent1276634 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหลอดเลือดen
dc.subjectมะเร็ง -- แบบจำลองในสัตว์ทดลองen
dc.subjectมะเร็งตับen
dc.titleการใช้สารยับยั้งการสร้างหลอดเลือดในหนูทดลองที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์มะเร็งตับจากมนุษย์en
dc.title.alternativeThe use of antiangiogenesis agent in a human-hepatocellular-carcinoma implanted nude mice modelen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PRASAN.PDF1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.