Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9123
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม | - |
dc.contributor.author | เฉลิมชัย หิรัญญะสิริ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-06-25T07:00:38Z | - |
dc.date.available | 2009-06-25T07:00:38Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9740300413 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9123 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | ประชาพิจารณ์ เป็นมาตรการหนึ่งในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐขององค์กรฝ่ายปกครอง และเป็นเครื่องมือส่งเสริมการมีส่วนร่วมการเมืองของประชาชน ในระบอบประชาธิปไตย แต่การจัดทำประชาพิจารณ์ในประเทศไทยที่ผ่านมา ไม่อาจบรรลุเป้าหมายของประชาพิจารณ์เท่าที่ควร ในการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ และวิธีการประชาพิจารณ์ รวมทั้งปัญหาและข้อบกพร่อง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 ปัญหาและข้อบกพร่องของการจัดทำประชาพิจารณ์ในประเทศไทย รวมทั้งวิเคราะห์หลักเกณฑ์และวิธีการประชาพิจารณ์ ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยใช้วิธีวิจัยเอกสาร ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเรื่องประชาพิจารณ์ ของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส และนำกรณีศึกษาการจัดทำประชาพิจารณ์ห้าโครงการมาเป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่าระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 ยังขาดความชัดเจนหลายประการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับโครงการของรัฐ ช่วงเวลาการจัดทำประชาพิจารณ์ การกำหนดองค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการประชาพิจารณ์ การกำหนดให้ผู้แต่งตั้งคณะกรรมการประชาพิจารณ์ เป็นผู้เปิดเผยรายงานการจัดทำประชาพิจารณ์ และการสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการประชาพิจารณ์ นอกจากนี้ ผลการศึกษาการจัดทำประชาพิจารณ์ในประเทศไทย ยังพบปัญหาการปรับแนวคิดประชาพิจารณ์ให้เหมาะสมกับบริบทของสังคม และวัฒนธรรมของประเทศไทยที่ยังไม่พร้อมกับการเผชิญความขัดแย้งซึ่งหน้า ปัญหาองค์ความรู้ของผู้เกี่ยวข้องที่ยังมีความเข้าใจ แนวคิดประชาพิจารณ์ไม่ถูกต้อง รวมทั้งปัญหาการที่รัฐได้ใช้ประชาพิจารณ์ เป็นกลไกในการแก้ไขความขัดแย้งทางด้านความคิดเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาดังต่อไปนี้ แก้ไขคำนิยามโครงการของรัฐ กำหนดช่วงเวลาการจัดทำประชาพิจารณ์โครงการให้มีความชัดเจน และเกิดปัญหาการตีความให้น้อยที่สุด แก้ไของค์ประกอบ ที่มา และอำนาจของคณะกรรมการประชาพิจารณ์ ที่จะพิจารณาเปิดเผยรายงานประชาพิจารณ์ได้ จัดรูปแบบการประชาพิจารณ์ที่หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ระหว่างผู้ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน โดยอาจให้มีการประชาพิจารณ์ทางเอกสาร หรืออาจให้แต่ละกลุ่มจัดตัวแทนในสัดส่วนจำนวนที่เท่ากัน เพื่อประชุมประชาพิจารณ์ พัฒนาความรู้เกี่ยวกับแนวคิดประชาพิจารณ์ แก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประชาพิจารณ์ที่ทุกฝ่ายสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนเท่าที่สามารถกระทำได้ | en |
dc.description.abstractalternative | Public hearing is one of measures in controlling state power, as well as, an instrument in promoting political public participation in democracy regime. However, public hearing in Thailand cannot successfully achieve such goals. The purposes of this research is to study the principles and methods of public hearing including its weak points. This is illustrated through the study of regulation of the Office of the Prime Minister on Public Consultation by Public Hearing, B.E. 2539, its applications and problems on public hearing situation in Thailand. The research is done by documentary study, comparative study by comparing regulations of USA, England, and France on public hearing, and selected five case studies. The suitably alternative solutions are recommended. The research output shows that regulation of the Office of the Prime Minister on Public Consultation by Public hearing, B.E. 2539 is still vaguely exercised especially on the projects of the state and the period of public hearing's arrangement. Those lead to the misinterpretation. Some parts are related to the principles of public hearing ; method of the selection and components of public hearing committee ; public hearing committee's responsibility in public hearing report ; and confidence of public in public hearing process. From this research, it was found that problems on adjustment public hearing with Thai society and perception of Thai people is still limited, therefore, led to misunderstanding in the meaning of public hearing. The research's recommendations are as follows: definition of "projects of the state" to be well defined; suitable period to arrange public hearing to have less unclear interpretation ; correction on component, source, and power of the public hearing committee to be able to unfoldd the public hearing report ; and organizing public hearing to be documentary, not confrontational and proportionally set up by representative of each side to the public hearing. Finally, supporting knowledge and creating better understanding, as well as, developing the public process giving more chance to all parties to participate in public hearing as much as possible will be long term solution. | en |
dc.format.extent | 2258457 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ประชาพิจารณ์ | en |
dc.title | การประชาพิจารณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ โดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 | en |
dc.title.alternative | Regulation of the Office of the Prime Minister on Public consultation by public hearing, B.E. 2539 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ChalermchaiHirun.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.