Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9130
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรีชา คุวินทร์พันธุ์-
dc.contributor.authorศศิวิมล ศรีวิโรจน์มณี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-06-29T03:38:29Z-
dc.date.available2009-06-29T03:38:29Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9740300642-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9130-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractการศึกษาบทบาทของครอบครัวไทยเชื้อสายจีนในการอบรมเลี้ยงดูบุตร : กระบวนการการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมชุมชนคลองคูเมืองเดิมสามแพร่ง มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาบทบาทของครอบครัวไทยเชื้อสายจีน ในการอบรมเลี้ยงดูบุตรว่ามีผลทำให้เกิดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมเข้ากับสังคมไทย (2) เพื่อศึกษาค่านิยม และทัศนคติที่สำคัญของครอบครัวไทยเชื้อสายจีนในการอบรมเลี้ยงดูบุตร การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาในแนวมานุษยวิทยา โดยเก็บข้อมูลการศึกษาบทบาทของครอบครัวไทยเชื้อสายจีน โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวขยาย แต่จะจำกัดขอบเขตของการวิจัยเฉพาะเรื่อง กระบวนการอบรมเลี้ยงดูบุตรที่มีผลทำให้เกิดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม ของครอบครัวไทยเชื้อสายจีนจำนวน 8 ครอบครัว ใช้เทคนิคการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ประวัติครอบครัวเป็นหลัก ผลการศึกษามีดังนี้ บทบาทของครอบครัวไทยเชื้อสายจีนในการอบรมเลี้ยงดูบุตรคลายความเข้มงวดลงให้อิสระกับลูกมากขึ้น รวมถึงกระบวนการอบรมถึงทัศนคติที่สำคัญของครอบครัว และการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม ที่มีผลถึงการยอมรับในการประพฤติปฏิบัติตามวัฒนธรรม และประเพณีที่สำคัญบางอย่างของชนทั้งสองกลุ่มจึงเป็นตัวอย่างชี้ให้เห็นว่า การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมมีการรับและการให้ระหว่างวัฒนธรรมค่อนข้างสูง การอบรมเลี้ยงดูบุตรภายในครอบครัว ที่ลดความเข้มงวดลง การศึกษา การคบเพื่อน และยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมข่าวสารข้อมูล รวมทั้งการเห็นพ้องต้องกันในเรื่องการพัฒนาประเทศ ทำให้มีการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม มีการธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์วัฒนธรรมจีนที่พ่อแม่ถ่ายทอดไว้ให้ เช่น การไหว้เจ้า การไปศาลเจ้า การเซ่นไหว้บรรพบุรุษ การคงอยู่ของลักษณะวัฒนธรรมบางประการของลูกหลานจีนในเมืองไทย ก็เพื่อแสดงความเคารพความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่เข้ามาเมืองไทยแต่แรกเริ่ม เป็นการคงไว้ซึ่งความเป็นชาติพันธุ์จีนในระดับหนึ่ง ตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ดังนี้ สมมติฐานข้อที่ 1 การอบรมเลี้ยงดูบุตรภายในครอบครัวไทยเชื้อสายจีน บิดา-มารดา เป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในการถ่ายทอดค่านิยม ทัศนคติให้กับบุตรหลาน ซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับการอบรมมาจากบรรพบุรุษรุ่นปู่ย่า ตายาย (อากง-อาม่า) สมมติฐานข้อที่ 2 การอบรมเลี้ยงดูบุตร ของครอบครัวไทยเชื้อสายจีน รุ่นอายุที่ 2-3 มีค่านิยมที่เปลี่ยนไปมิได้เข้มงวด เคร่งครัด เหมือนในอดีตที่ผ่านมา จึงมีผลต่อการยอมรับและกลายเป็นไทยมากขึ้น สมมติฐานข้อที่ 3 คนไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่แม้จะมีโลกทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นไทยมากขึ้น แต่คงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและการปฏิบัติธรรมเนียมประเพณีจีนบางอย่างที่ครอบครัวถือปฏิบัติด้วยดีเสมอมาen
dc.description.abstractalternativeThis study is on socialization role of Sino-Thai family with emphasis on cultural assimilation process. Specifically, two purposes of the study are a) to study socialization process within Sino-Thai families whether it enhances the process of cultural assimilation b) to study changes in social values an attitudes involving in the process of socialization. Anthropological research methods are employed, i.e. participant observation and the illustration of life history of 8 Sino-Thai families. Both nuclear and extended families are included The result is socialization of children, at present, is not as strict as that of the first generation. Children have more freedom to choose what to study, with whom to mary and most importance what custom and some traditional practices to follow. Mixed cultural characteristics of Thai and Chinese are naticeable in their practices of their dialy life activities. Assimilation becomes more apparent. Nevertheless, some Chinese custom and traditions are also to a certain extent well preserved and worshipped e.g. ancestral worship and freguents to Chinese shrines. This is to remind them of their origin and their Chinese ancesters. They are assimilated into Thai society, but as an ethnic group they maintain some of their custom and thus maintain to a certain degree their Chineseness.en
dc.format.extent15935933 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectชาวจีน -- ไทยen
dc.subjectเด็ก -- การดูแล -- ไทยen
dc.subjectชุมชนคลองคูเมืองเดิมสามแพร่งen
dc.titleบทบาทของครอบครัวไทยเชื้อสายจีนในการอบรมเลี้ยงดูบุตร : กระบวนการการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมชุมชนคลองคูเมืองเดิมสามแพร่งen
dc.title.alternativeSocialization role of Sino-Thai family : cultural assimilation process in Khlong Khu Muang Derm Sam Phraeng Communityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameมานุษยวิทยามหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมานุษยวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasivimol.pdf15.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.