Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9156
Title: การติดตามอันตรกิริยาของยาในผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
Other Titles: Monitoring of drug-drug interactions in outpatients at Phramongkutklao Hospital
Authors: นงลักษณ์ โตรักษา
Advisors: นารัต เกษตรทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Narat.K@Chula.ac.th
Subjects: ยา -- ผลข้างเคียง
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์อัตราการได้รับยาที่มีแนวโน้มจะเกิดอันตรกิริยาที่มีความสำคัญทางคลินิกและการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากอันตรกิริยาของยาที่เกิดขึ้นจริงในผู้ป่วยนอก และศึกษาผลของการมีระบบการตรวจสอบอันตรกิริยาของยาในผู้ป่วยนอก วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการสั่งใช้ยาคู่ที่มีแนวโน้มเกิดอันตรกิริยาที่มีความสำคัญทางคลินิก ณ ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2548 ถึง เดือน เมษายน 2549 คัดเลือกผู้ป่วยที่ได้รับคู่ยาอันตรกิริยาของยาจากการตรวจสอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลขณะบันทึกข้อมูลการจ่ายยาร่วมกับการมีเภสัชกรคัดกรองผู้ป่วยเพื่อค้นหาและป้องกันหรือแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ผลการศึกษา พบการใช้ยาที่มีแนวโน้มเกิดอันตรกิริยาที่มีความสำคัญทางคลินิกจากระบบการตรวจสอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์พบร้อยละ 1.8 เภสัชกรทำการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยต่อจากระบบคอมพิวเตอร์โดยการใช้ปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วย 299 ราย (ร้อยละ 36.2 ของผู้ป่วยที่คัดกรองด้วยคอมพิวเตอร์) เป็นเพศชายเพศหญิงเท่ากับ 1:0.9 อายุเฉลี่ย 61.3 ปี (อายุระหว่าง 18-88 ปี) รายการยาที่ได้รับเฉลี่ย 7.9 รายการต่อในสั่งยา อัตราการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากอันตรกริยาเท่ากับร้อยละ 8.7 พบในผู้ป่วย 26 ราย ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของปัจจัยเสี่ยงที่ใช้คัดกรองผู้ป่วย ได้แก่ อายุ Serum creatinine และจำนวนรายการยา ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่เกิดและไม่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากอันตรกิริยาของยา อันตรกิริยาของยาที่พบมากที่สุดคืออันตรกิริยาของยา digoxin (188 ครั้ง) รองลงมาคือ potassium sparing diuretics (105 ครั้ง) และ warfarin (65 ครั้ง) อันตรกิริยาของยาที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ในอัตราสูงที่สุดคือจากยา warfarin (ร้อยละ 12.3 ของครั้งที่ใช้) รองลงมาคือ potassium-sparing diuretic (ร้อยละ 7.0) และ digoxin (ร้อยละ 6.7) มีการขอคำปรึกษาแพทย์จากเภสัชกรในอัตราร้อยละ 25.3 จากผู้ป่วย 77 ราย จากแบบสอบถามความคิดเห็นแพทย์เกี่ยวกับโครงการ พบว่าแพทย์ทุกคนเห็นด้วยกับการจัดทำโครงการ ร้อยละ 66.7 พอใจกับการปรึกษาแพทย์ของเภสัชกร จากการศึกษาระบบตรวจสอบคัดกรองอันตรกิริยาในใบสั่งยาโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมกับการคัดกรองและติดตามผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงโดยใช้เภสัชกร พบว่าสามารถช่วยลดและป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงในผู้ป่วยนอกได้
Other Abstract: The purpose of this study were to study rate of potential significant drug interactions and the rate of adverse drug reactions caused by these interactions. The outcome of the program implementation was studies as well. The study was descriptive prospective study, performed at outpatients-pharmacy division Phramongkutklao Hospital, from November 2005 to April 2006. Patients were recruited from whose prescriptions were alerted by drug-drug interaction computerized program, these patients were then referred to pharmacist for monitoring and managing the potential drug interaction problem. The rate of potential significant drug interactions screened by computerized program was 1.8% However 299 patients were screened and monitored by pharmacists using high risk factors. Of these patients, the ratio between male and female was 1:0.9, average age was 61.3 years (range from 18-88), average number of drug items were 7.9 per prescription. The rate of adverse drug reactions caused by these interactions was 8.7%, found in 26 patients. There was no statistically difference in the risks used for screening, including gender, age, serum creatinine as well as number of drug items, between actual and non-actual drug-drug interaction. The object drugs mostly found interaction were digoxin (188 episodes), potassium sparing diuetics (105 episodes) and warfarin (63 episodes), The drugs mostly caused adverse drug reaction were warfarin, potassium-sparing diuretics and digoxin with the rate at 12.3%, 7.0% and 6.7% respectively. There were 25.3% consultations from pharmacist to physicians in 77 patients. By questionnaire surveys, all physicians agreed with this program, 66.7% of them satisfied to the pharmacist's consultations. The implementation of drug-drug interaction screening program with pharmacist monitoring and managing the drug interaction problems can helped preventing and reducing serious ADRs in outpatients.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9156
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.370
ISBN: 9741427247
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.370
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nonglak.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.