Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9188
Title: | การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นและองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในจังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Variation of concentrations and chemical compostions of PM10 in Samutprakarn province |
Authors: | กัลยกร ตั้งอุไรวรรณ |
Advisors: | สุรัตน์ บัวเลิศ วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | bsurat@pioneer.netserv.chula.ac.th, S.bualert@chula.ac.th Wongpun.L@chula.ac.th |
Subjects: | มลพิษทางอากาศ -- ไทย -- สมุทรปราการ ฝุ่น -- ไทย -- สมุทรปราการ คุณภาพอากาศ -- ไทย -- สมุทรปราการ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เป็นสารมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ นอกจากนี้ภายในฝุ่นละอองยังประกอบไปด้วยองค์ประกอบทางเคมีหลากหลายชนิด ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้เพื่อบอกแนวโน้มของแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองได้ ดังนั้นการศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาความเข้มข้น และองค์ประกอบทางเคมีทางเคมีของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในบรรยากาศบริเวณจังหวัดสมุทรปราการ โดยมีพื้นที่ศึกษาวิจัยที่มีลักษณะการดำเนินกิจกรรมที่แตกต่างกันทั้งหมด 4 แห่ง ซึ่งได้แก่ ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพและสถานสงเคราะห์คนพิการ พระประแดง โรงเรียนวัดกิ่งแก้ว โรงเรียนคลองเจริญราษฎร์ และโรงเรียนปากคลองมอญ ผลการศึกษาความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในบรรยากาศพบว่า บริเวณพื้นที่ศึกษาที่มีการดำเนินกิจกรรมหลายประเภท อาทิเช่น กิจกรรมจากโรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง การจราจร จะมีความเข้มข้นเฉลี่ยของฝุ่นละอองที่ค่อนข้างสูงกว่า บริเวณพื้นที่ศึกษาที่มีการดำเนินกิจกรรมประเภทเกษตรกรรม นอกจากนี้ยังพบว่าความเข้มข้นเฉลี่ยของฝุ่นละอองช่วงฤดูแล้งของทุกพื้นที่ศึกษา มีค่าสูงกว่าช่วงฤดูฝน โดยพบว่าความเข้มข้นเฉลี่ยของฝุ่นละอองในช่วงฤดูแล้งจะมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 60.86 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ช่วงฤดูฝนจะมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 39.29 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งพบว่ามีค่าลดลงประมาณ 14-51% ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากกระบวนการชะล้างของฝน เนื่องจากเป็นกระบวนการหลักที่สามารถช่วยลดระดับความเข้มข้นของฝุ่นละอองในบรรยากาศได้ ผลการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน พบว่าองค์ประกอบที่มีสัดส่วนสูงกว่า 1% ของทุกพื้นที่ศึกษาทั้งสองช่วงฤดูได้แก่ Na, Si, Fe, S, Cl, K, Zn, OC, EC, SO[subscript 4][superscript 2-], NO[subscript 3][superscript -], Cl[superscript -], Na[superscript +] และ K[superscript +] โดยคาดว่าองค์ประกอบดังกล่าวน่าจะมีแนวโน้มมาจากแหล่งกำเนิดประเภทอุตสาหกรรม เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงหรือจากกระบวนการผลิต นอกจากนี้ยังคาดว่าน่าจะมาจากยานพาหนะ การเผาขยะรวม การเผาไหม้ชีวมวล ฝุ่นดิน และฝุ่นถนน รวมทั้งจากละอองไอทะเล อย่างไรก็ตามพบว่า Ca, Sc และ NH[subscript 4][superscript +] จะมีสัดส่วนที่สูงในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งคาดว่าส่วนใหญ่น่าจะมาจากอุตสาหกรรม ในขณะที่ Al, Cr, Co, Ni, Cs และ Ce จะมีสัดส่วนที่สูงในช่วงฤดูฝน โดยคาดว่าน่าจะมีแนวโน้มมาจากแหล่งกำเนิดที่ใกล้เคียงมากขึ้น เช่น ยานพาหนะและฝุ่นดิน ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่าในช่วงฤดูฝนฝุ่นละอองที่ถูกพัดพามาในระยะทางไกลๆ จะเกิดการตกสะสมโดยกระบวนการชะล้างของฝน ดังจะเห็นได้จากความเข้มข้นเฉลี่ยของฝุ่นละอองที่มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน อาจสรุปได้ว่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในบรรยากาศบริเวณจังหวัดสมุทรปราการส่วนใหญ่ จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมประเภทอุตสาหกรรม เนื่องจากพบว่าเป็นจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมค่อนข้างหนาแน่น |
Other Abstract: | PM10 composed with various elements that could be used as marker elements for tendency sources. The study was focused on mass concentrations and chemical compositions of PM10 in atmosphere at Samutprakarn province. Four sampling sites were selected based on different activities namely Phrapradaeng Rehabilitation centre, Watkingkeaw school, Khlongjaroenrat school and Pakkhlongmon school. The result of ambient PM10 concentrations was showed that its depend on sources of particulate matter. The industrial, constructive, and traffic activities caused higher PM10 concentrations than agricultural activity. Furthermore, the PM10 concentrations in dry season were higher than rainy season. The average of PM10 mass concentration during dry season was 60.86 microgram m[superscript -3], whereas rainy season was 39.29 microgram m[superscript -3]. It was decreased approximately 14-51% because of precipitation removal. From the study of PM10 chemical composition, the composition fractions of Na, Si, Fe, S, Cl, K, Zn, OC, EC, SO[subscript 4][superscript 2-], NO[subscript 3][superscript -], Cl[superscript -], Na[superscript +], and K[superscript +] were more than 1% of PM10 total mass. These might be occurred from industrial sources such as fuel burning or production process, vehicles, incineration, biomass burning, dust, and sea spray. The high fractions of Ca, Sc and NH[subscript 4][superscript +] in dry season showed that the possible sources were industry and vehicles. However, because of precipitation in rainy season, the possible source was nearby soil dust, according to the high fractions of Al, Cr, Co, Ni, Cs and Ce. In conclude, most of ambient PM10 of Samutprakarn province was originated from industrial activities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9188 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1457 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1457 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanyakorn_Ta.pdf | 2.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.