Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/918
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย ศิริกายะ-
dc.contributor.authorณัฏฐนุช มั่นสาคร, 2516--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-21T07:08:41Z-
dc.date.available2006-07-21T07:08:41Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741700733-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/918-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงลักษณะการดำเนินด้วยการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษร่วมกันของนักจัดรายการวิทยุ และเพื่อเข้าใจถึงประโยชน์ที่ผู้ฟังได้รับจากการมีส่วนร่วมในรายการวิทยุ โดยศึกษาจากรายการวิทยุที่มีนักจัดรายการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในขณะดำเนินรายการ 2 รายการ คือ Radio No Problem (F.M. 88.0 MHz.) และรายการ Channel [V] Radio (F.M. 102.5 MHz.) ผลการวิจัยพบว่า นักจัดรายการ Radio No Problem (F.M. 88.0 MHz.) และรายการ Channel [V] Radio (F.M. 102.5 MHz.) แต่ละท่านมีความแตกต่างในการสั่งสมประสบการณ์การใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งสามารถแบ่งนักจัดรายการออกเป็น 4 ประเภท คือ 1) นักจัดรายการที่พูดภาษาไทยเป็นภาษาแรก 2) นักจัดรายการที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก 3) นักจัดรายการที่พูดภาษาไทยเป็นภาษาแรกแต่พูดภาษาอังกฤษได้คล่องกว่าภาษาไทย 4) นักจัดรายการที่มีความสามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ดีเท่าเทียมกัน สำหรับลักษณะการสลับภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการดำเนินรายการของนักจัดรายการ แบ่งออกเป็น 6 ลักษณะ คือ 1) ใช้ภาษาอังกฤษล้วน 2) ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักแทรกภาษาไทย 3) ใช้ภาษาไทยเป็นหลักแทรกด้วยภาษาอังกฤษ 4) เรียนการใช้ภาษาไทยกับผู้ฟังที่มีส่วนร่วม 5) แก้ไขการใช้ภาษาอังกฤษของผู้ฟังที่มีส่วนร่วม 6) ใช้ภาษาไทยโดยไม่เคร่งครัดหลักเกณฑ์ของภาษา สำหรับประโยชน์ที่ผู้ฟังได้รับจากการมีส่วนร่วมในรายการ Radio No Problem (F.M. 88.0 MHz.) และรายการ Channel [V] Radio (F.M. 102.5 MHz.) พบว่ามี 2 ลักษณะคือ หนึ่งประโยชน์ด้านความบันเทิง ซึ่งสามารถแบ่งประโยชน์ด้านความบันเทิงออกได้เป็น ความบันเทิงจากการพูดคุยของนักจัดรายการวิทยุ ความบันเทิงจากการเล่นเกมในรายการ และสองประโยชน์ด้านการได้มีโอกาสในการพูดภาษาอังกฤษ สามารถแบ่งออกเป็นโอกาสในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อแสดงความทันสมัย และโอกาสในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการดำเนินรายการด้วยการสลับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คือ นักจัดรายการ แนวคิดหลักรายการ และผู้ฟังที่มีส่วนร่วมในรายการen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to study the style of presentation by using alternated Thai and English language on the radio programs and to understand the use of participants on the 2 radio programs: Radio No Problem FM 88.0 MHz and Channel [V] Radio FM 102.5 MHz. The results of the study as follows: There are 4 types of DJs; divided by life-background and experience in using English and experience in abroad, namely 1) English Native Speakers 2) Thai Native Speakers 3) Thai Native Speaker who can speak English more fluently than their language 4) Bilingual Speaker. Moreover, this study found that there are 6 different styles of conversation: 1) English as a whole in conversation 2) English are mainly used 3) Thai are mainly used 4) Learning and Practicing how to use Thai language with participant 5) Correcting English usage of participant 6) Using a non-strict Thai grammar. Within the presentation methodology it was found that participants also get benefits; Entertainment and opportunities to speak English. Influencing the style of presentation of these programs are Disk Jockeys, conversation and participants.en
dc.format.extent2673650 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.443-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสื่อมวลชนกับเยาวชนen
dc.subjectการสื่อทางภาษาen
dc.subjectสื่อมวลชนกับภาษาen
dc.subjectนักจัดรายการวิทยุen
dc.subjectรายการวิทยุen
dc.titleการสื่อสารสลับภาษาไทยและภาษาอังกฤษในรายการวิทยุสำหรับเยาวชนen
dc.title.alternativeAlternated Thai-English language on radio programs for youthen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSirichai.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.443-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuttanuch.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.