Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9193
Title: | ผลกระทบของนโยบายประชานิยมที่มีต่ออุปสงค์ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ |
Other Titles: | The effect of populist policy on demand for mobile phones |
Authors: | กุสุมา อาฌาศัย |
Advisors: | อิศรา ศานติศาสน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Isra.S@chula.ac.th |
Subjects: | โทรศัพท์เคลื่อนที่ -- อุปทานและอุปสงค์ ประชานิยม |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | หลังจากที่พรรคไทยรักไทยได้เข้ามาบริหารประเทศในปี 2544 ได้มีการนำนโยบายประชานิยมมาใช้ ซึ่งมีผลให้อำนาจซื้อของประชาชนเพิ่มมากขึ้น ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น อัตราการขยายตัวของทั้งค่าใช้จ่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาถึงผลกระทบของนโยบายประชานิยมที่มีต่ออุปสงค์ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงแก้ไขการดำเนินนโยบายของรัฐบาลต่อไป วิทยานิพนธ์นี้ได้วิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคของครัวเรือนโดยใช้แบบจำลอง Linear Expenditure System (LES) ในการศึกษาผลกระทบดังกล่าว โดยประมาณค่าแบบ Seemingly Unrelated Regression ใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2545 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และข้อมูลราคาจากสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า นอกเหนือจากโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ทำให้แนวโน้มการบริโภคโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้น เฉพาะในภาคกลาง แล้ว โครงการอื่นๆ อีก 3 โครงการ คือ โครงการกองทุนหมู่บ้านฯ โครงการพักชำระหนี้ฯ และโครงการธนาคารประชาชน ล้วนทำให้แนวโน้มการบริโภคโทรศัพท์เคลื่อนที่ของครัวเรือนเพิ่มขึ้นในแทบทุกพื้นที่ และที่สำคัญ คือ การเข้าร่วมโครงการกองทุนหมู่บ้านฯ โครงการพักชำระหนี้ฯ และโครงการธนาคารประชาชน ของครัวเรือนในภาคเหนือ การเข้าร่วมโครงการกองทุนหมู่บ้านฯ และโครงการพักชำระหนี้ฯ ของครัวเรือนภาคอีสาน และการเข้าร่วมโครงการธนาคารประชาชนของครัวเรือนในภาคกลาง ทำให้แนวโน้มการบริโภคโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นพร้อมๆ กับแนวโน้มการบริโภคอาหารซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานมีสัดส่วนลดลงแสดงว่าการเข้าร่วมโครงการเหล่านี้ ผลที่เกิดขึ้นอาจไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการให้ครัวเรือนมีเงินรายได้สำหรับใช้ในการลงทุน สร้างงาน และพัฒนาอาชีพ โครงการแต่ละโครงการมีผลต่อครัวเรือนในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป การวางนโยบายจึงควรต้องมีการศึกษาถึงผล ได้ผลเสียก่อนการใช้นโยบาย และหลังการใช้นโยบายก็จะต้องมีการติดตามประเมินผล และมีมาตรการที่รัดกุม เพื่อให้การดำเนินนโยบายเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ |
Other Abstract: | After Thairakthai party won the election in 2001. The populist policies that raise the purchasing power of household were adopted. At the same time, growth rate of mobile phone expenditure and the number of subscribers rose rapidly. So the purpose of this thesis is to analyze the effect of populist policy on demand for mobile phones to improve the policy in the future. The consumption behavior of household is analyzed by Linear Expenditure System (LES) and Seemingly Unrelated Regression Technique. The study uses household data from the 2002 Household Socio-economic Survey (SES), and the 2002 regional price data from the Bureau of Trade and Economic Indices. Results show that while The Universal Health Coverage (30 baht) which increase the marginal expenditure for mobile phones especially in Central, other three policies; Village/Urban Fund (1 million baht), Occupational Rehabilitation Program (the moratorium or decrease the burden farmer's debt scheme) and People Bank Program increase the marginal expenditure for mobile phones in most areas. The importance is the participation in Village/Urban Fund and People Bank Program in North, the participation in Village/Urban Fund and Occupational Rehabilitation Program in Northeast and the participation in People Bank Program in Central, that increase marginal expenditure for mobile phones and decrease marginal expenditure for food, the necessity for living, at the same time. These results show that effects of the policies don't conform to the purposes which expect household to invest in capital goods and develop their occupation. Effect of each policy in each area is different. So the government must consider about gains and losses before proceed the policies. Furthermore, the measure to evaluate the policies are very necessary to lead the result conform to the purpose. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9193 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.387 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.387 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kusuma_Ar.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.