Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9202
Title: | การผลิตวัสดุผสมอะลูมิเนียม-อะลูมินาจากระบบอะลูมิเนียม-แมงกานีสไดออกไซด์ โดยกระบวนการตีขึ้นรูปผงโลหะ |
Other Titles: | Production of aluminium-alumina composite from aluminium-manganesedioxide system by powder forging process |
Authors: | เลอเลิศ ธำรงภูวดล |
Advisors: | ธาชาย เหลืองวรานันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | tachai.l@chula.ac.th |
Subjects: | โลหะผง อะลูมินัม -- การขึ้นรูป โลหะผสม |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาการผลิตวัสดุผสมอะลูมิเนียม-อะลูมินา โดยกระบวนการตีขึ้นรูปผงโลหะ และผลของส่วนผสม, อุณหภูมิ, เวลา และแรงที่ใช้ในกระบวนการ การผลิตวัสดุผสมอะลูมิเนียม-อะลูมินาจากกระบวนการตีขึ้นรูปผงโลหะเริ่มจากการผสมผงอะลูมิเนียมเข้ากับผงแมงกานีสไดออกไซด์ที่ส่วนผสม 1%, 5%, 10% และ 15% โดยอะตอม ในการทดลองมีการผสมแบบสุ่มโดยการคนให้เข้ากัน และการผสมโดยเครื่อง rocking mill พบว่าการผสมโดยเครื่อง rocking mill จะให้ผงที่มีคุณสมบัติทางความร้อนที่ดีต่อการทดลองมากกว่าการผสมแบบสุ่มโดยการคน จากการวิเคราะห์ด้วย DTA พบว่าเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนอย่างรุนแรงที่ช่วงอุณหภูมิ 190 degrees celsius-250 degrees celsius และที่ช่วงอุณหภูมิ 560 degrees celsius-650 degrees celsius เมื่อนำผงที่ได้มาทำการอัดขึ้นรูปพบว่ายิ่งปริมาณส่วนผสมของแมงกานีสออกไซด์มากขึ้นจะทำให้ความสามารถในการอัดขึ้นรูปต่ำลง ชิ้นงานเมื่อตีขึ้นรูปร้อนแล้วพบว่าการต้านทานแรงดึงมีค่าต่ำมาก เมื่อนำไปตรวจสอบด้วย XRD พบว่าการแตกตัวของแมงกานีสไดออกไซด์เกิดขึ้นไม่สมบูรณ์และไม่มีอะลูมินาเสริมแรงเกิดขึ้น นอกจากนั้นการเชื่อมประสานกันของผงยังเกิดขึ้นน้อย จึงมีการเพิ่มขั้นตอนในการอบให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 600 degrees celsius โดยใช้เวลา 10, 20, 30 และ 40 ชั่วโมงพบว่าที่อุณหภูมิสูงกว่าและเวลาที่มากกว่าจะให้ชิ้นงานที่มีความต้านทานแรงดึงดีกว่า ในการตีขึ้นรูปร้อนพบว่าความต้านทานแรงดึงของชิ้นงานมากขึ้นเมื่อแรงที่ใช้ในการตีขึ้นรูปมากขึ้น ความแข็งที่ได้พบว่าที่อุณหภูมิในการอบให้ความร้อน 650 degrees celsius และที่เวลาในการอบให้ความร้อนนานกว่าจะได้ชิ้นงานที่มีความแข็งมากกว่า ชิ้นงานวัสดุผสมอะลูมิเนียม-อะลูมินาที่ผลิตได้พบว่ามีค่าความเค้นแรงดึงสูงสุดมากที่สุดที่ 125 MPa และมีความแข็งที่ผิวสูงสุด 53.6 HV เมื่อทำการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคพบว่าอะลูมินาที่เกิดขึ้นจะเกิดที่บริเวณสัมผัสระหว่างอะลูมิเนียมกับแมงกานีสไดออกไซด์ |
Other Abstract: | The present work aims to study the production of Al-A[subscript 2]- O[subscript 3] composite by powder forging process and understand the influence of composition, temperature, time and pressure in the process. Al-MnO[subscript 2] powder with 1.0, 5.0, 10.0 and 15.0 atom% MnO[subscript 2] were mixed by agitation and rocking mill machine. The mixture from rocking mill machine mixing showed better thermal characteristic than agitation mixing. From analyzing by DTA, the mixture from rocking mill machine mixing have violence exothermic reaction at 190 degrees celsius-250 degrees celsius and 560 degrees celsius-650 degrees celsius. The cold compaction ability varies with amount of MnO[subscript 2] Mechanical property of hot forged specimen from tensile test is very low. From analyzing by XRD, Alumina phase is not form and oxidation of MnO[subscript 2] is incomplete. Then additional process is by annealing at 600 degrees celsius and 650 degrees celsius for 10, 20, 30 and 40 hours after hot forged. The resulting from tensile test showed good mechanical property specimen. The specimen from annealing at high temperature and long time shows better mechanical properties than the specimen from annealing at low temperature and short time. The best mechanical properties of specimen from this work are 125 MPa in ultimate tensile strength and 53.6 HV. From analyzing microstructure by SEM and EDS, Al[subscript 2]O[subscript 3] formation is at the interface between Al and MnO[subscript 2+] |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโลหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9202 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1436 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1436 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Lerlert_Ta.pdf | 4.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.