Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9272
Title: การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อมีระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
Other Titles: Residential changes of Chulalongkorn University personnels when mass transit system is in operation
Authors: ธีรนันท์ โอภาสสัมพันธ์
Advisors: วิมลสิทธิ์ หรยางกูร
สุปรีชา หิรัญโร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ที่อยู่อาศัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- ข้าราชการ
เมือง -- การเจริญเติบโต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- การบริหาร
รถไฟฟ้า
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กรุงเทพมหานคร มีปัญหาการจราจรติดขัดอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อการเดินทางไปทำงาน ของบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รถไฟฟ้าเป็นทางเลือกใหม่ในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพ ในการศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อมีระบบรถไฟฟ้า โดยได้เก็บข้อมูลจากบุคลากรจุฬาฯทั้งหมด 7,623 คน ในทุกหน่วยงาน โดยแบ่งเป็น 2 รอบ คือ รอบที่ 1 แจกทุกคน เพื่อถามใน 2 ประเด็น คือ แนวโน้มการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางมาใช้บริการรถไฟฟ้าและแนวโน้มการเปลี่ยนแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ โดยได้รับคืนมา 802 ตัวอย่าง ส่วนรอบที่ 2 แจกเฉพาะกลุ่มที่คาดว่าจะเปลี่ยนทั้งรูปแบบการเดินทางและเปลี่ยนแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ ซึ่งมีจำนวน 155 คน จาก 802 ตัวอย่าง เพื่อถามในประเด็นที่ 3 คือ แนวโน้มการเลือกแหล่งและลักษณะที่อยู่อาศัยใหม่ และได้รับคืนมา 133 ตัวอย่าง จากการวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติอัตราส่วนร้อย เพื่ออธิบายแนวโน้มและเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางมาใช้บริการรถไฟฟ้าและเปลี่ยนแหล่งที่อยู่อาศัย การเลือกแหล่งและลักษณะที่อยู่อาศัยใหม่ และใช้ค่าสถิติไคสแควร์อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ พบว่า บุคลากรจุฬาฯ มีแนวโน้มการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางมาใช้บริการรถไฟฟ้าถึงร้อยละ 71.3 ด้วยเหตุผลอันดับที่ 1 คือ ควบคุมเวลาในการเดินทางได้ อันดับที่ 2 คือ สะดวกสบาย รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้เป็นประจำร้อยละ 34.4 และกลุ่มที่ใช้เป็นครั้งคราวร้อยละ 62.4 ในกลุ่มที่คาดว่าจะใช้บริการรถไฟฟ้านี้มีร้อยละ 27.1 คาดว่าจะเปลี่ยนแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ ด้วยเหตุผลอันดับที่ 1 คือต้องการที่อยู่อาศัยใหม่ที่มีความสะดวกเรื่องการเดินทาง โดยมีการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยใหม่ในลักษณะการซื้อใหม่ร้อยละ 71.0 และในกลุ่มที่คาดว่าจะเปลี่ยนทั้งรูปแบบการเดินทาง และเปลี่ยนแหล่งที่อยู่อาศัยนี้ คาดว่าจะเลือกแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ในเขตจังหวัดใกล้เคียงกรุงเทพฯถึงร้อยละ 60.6 ส่วนลักษณะที่อยู่อาศัยใหม่นั้นแบ่งได้ ดังนี้ ในรูปแบบบ้านเดี่ยวร้อยละ 36.1 ในระดับราคาไม่เกิน 2,000,000 บาท ขนาดที่ดินไม่น้อยกว่า 50 ตรว. รองลงมาคือ บ้านแบบทาวน์เฮ้าส์ร้อยละ 33.8 ในระดับราคาไม่เกิน 800,000 บาท ขนาดที่ดินไม่เกิน 20 ตรว. และอาคารชุดพักอาศัยร้อยละ 27.8 ในระดับราคา 300,001-500,000 บาท ขนาดพื้นที่ใช้สอย 31-40 ตรม. และแนวโน้มการเลือกแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่นั้นจะสอดคล้องกับเส้นทาง และสถานีรถไฟฟ้า โดยส่วนใหญ่ คาดว่าจำเป็นต้องเลือกที่ตั้งที่อยู่อาศัยใกล้สถานีรถไฟฟ้าในรัศมีไม่เกิน 1-2 กม. ข้อค้นพบดังกล่าวนำไปสู่ข้อสรุปว่า ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนส่งผลกระทบต่อบุคลากรจุฬาฯ ในเรื่องแนวโน้มการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางไปทำงานอย่างมาก และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ส่งผลต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยใหม่
Other Abstract: Bangkok has serious traffic congession problems that effect Chulalongkorn University personnels' commutation. Proposed mass transit is a new choice. This research investigates whether the mass transit will have any impact on the pattern of commutation. A first set of questionniares for all 7,623 personnels were distributed through all university's faculties and divisions, and 802 samples were returned. They were inquired about their changes in commutation to work by mass transit and changes in their residence. Two months later, another set of questionniares were distributed to 155 persons from 802 previous samples, particularly for those who were expected to change both their commutation and their residence. It was to inquire their trends and preferences of new housing. The analysis discovered that 71.3% if 802 Chulalongkorn University personnels prefer to use mass transit because it can control their limited commuting time. Secondly, it is expected to be comfortable and fast. Only 34.4% of these personels will use mass transit regularly while 62.4% will use mass transit occasionally. One third of the personnels would change their residence locations in order to fit with new mass transit system, and 71.0 percent of this group would have to buy a new house. 60.6 percent of 133 personnels expected to choose new residence outside Bangkok vicinity. Among these, 36.1% of them prefer single house pricing under 2 million bahts on 50 square wah land plot. Secondly, 33.8% of them prefer a town house pricing under 800,000 bahts on a 20 square wah land plot. 27.8 of them prefer 31-40 square meter condominium pricing under 500,000 bahts. All these new accomodation should be located within 1-2 kilometers from sub-stations. This research reveals that mass transit mostly effects Chulalongkorn University Personnels in changing their commutation, and their residence.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9272
ISBN: 9746387391
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teerana_Op_front.pdf895.87 kBAdobe PDFView/Open
Teerana_Op_ch1.pdf531.22 kBAdobe PDFView/Open
Teerana_Op_ch2.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open
Teerana_Op_ch3.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Teerana_Op_ch4.pdf575.06 kBAdobe PDFView/Open
Teerana_Op_ch5.pdf5.15 MBAdobe PDFView/Open
Teerana_Op_ch6.pdf579.03 kBAdobe PDFView/Open
Teerana_Op_back.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.