Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9303
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกำธร ธีรคุปต์-
dc.contributor.advisorสุพจน์ จันทราภรณ์ศิลป์-
dc.contributor.authorศันสรียา วังกุลางกูร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-07-23T07:08:07Z-
dc.date.available2009-07-23T07:08:07Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.isbn9746388665-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9303-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en
dc.description.abstractการศึกษาปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่คาดว่ามีผลต่อการขึ้นวางไข่ของเต่าหญ้า Lepidochelys olivacea บนหาดทราย จังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินการโดยแบ่งประเภทของหาดที่ศึกษาออกเป็น 4 ประเภท คือ หาดที่มีเต่าหญ้าขึ้นวางไข่ในปัจจุบัน หาดที่เคยมีเต่าหญ้าขึ้นวางไข่ในอดีต หาดที่ไม่เคยมีเต่าหญ้าขึ้นวางไข่ และหาดทรายเทียมในบ่อเลี้ยง ผลการศึกษาพบว่า หาดในธรรมชาติที่มีการขึ้นวางไข่ของเต่าหญ้าในปัจจุบันจะมีค่าเฉลี่ยความกว้าง ความชันปริมาณน้ำและเกลือในทราย และค่ากลางขนาดเม็ดทราย แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับหาดในธรรมชาติที่ไม่เคยมีเต่าหญ้าขึ้นวางไข่ แต่ค่าเฉลี่ยความยาวของหาด และความเป็นกรดด่างของทรายไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่าปริมาณน้ำและเกลือในทราย ความเป็นกรดด่าง ค่ากลางขนาดเม็ดทราย ของหาดในธรรมชาติที่มีการขึ้นวางไข่ของเต่าหญ้าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับหาดทรายเทียมในบ่อเลี้ยง จากการศึกษานี้ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าปริมาณกิจกรรมของมนุษย์ และแสงไฟฟ้าจากแหล่งชุมชนบนพื้นที่หลังหาดจะเป็นปัจจัยที่รบกวนการขึ้นวางไข่ การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเปลือกไข่เต่าหญ้าที่ได้จากธรรมชาติและจากบ่อเลี้ยง พบว่าไข่ที่ได้จากธรรมชาติโดยเฉลี่ยจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของไข่ น้ำหนักของไข่ น้ำหนักเปลือก น้ำหนักไข่แดง และพลังงานในไข่แดง น้อยกว่าไข่ที่ได้จากบ่อเลี้ยงอย่างมีนัยสำคัญ แต่จากการวัดความหนาของเปลือกไข่ภายใต้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอซูม พบว่าความหนาของเปลือกไข่ในนั้น Calcareous และความหนาของเปลือกไข่ในชั้นเนื้อเยื่อของไข่ที่ได้จากธรรมชาติไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับไข่ที่ได้จากบ่อเลี้ยง และจากการศึกษาลักษณะของโครงสร้างโดยละเอียดของเปลือกไข่ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด พบว่าไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับโครงสร้างของเปลือกไข่en
dc.description.abstractalternativeThis study examined environmental factors on beaches which might affect nesting site selection of the Olive Ridley Turtle, Lepidochelys olivaceae, at Phuket island. The beaches were assigned to four categories: group 1 comprised of open sea beaches on which wild turtles still nest, group 2 were used by sea turtles 5 years or longer ago, group 3 contained beaches with no record of sea turtles ever nesting, and group 4 is an artificial nesting beach in an enclosure for captive Olive Ridley turtles at the Phuket Marine Biological Center. It was found that the average width, slope, water and salt content of the beach sand, and the median size of sand grains of the beaches in group 1 were significantly different from those of beaches which turtles had never used. However, the beach length and the pH of sand were not different statistically. The water and salt content of sand, pH, and median size of sand grains of the beaches in group 1 were not significantly different from those in the enclosure. This study found no clear evidence that the type and intensity of human activities behind the beaches was correlated to turtle nesting success. The comparative study on eggshell morphology of wild and captive Olive Ridley Turtles showed that averages of wild eggs were significantly less than in captive ones in diameter, total weight, weight of eggshell, wet weight of yolk and calorific content of yolk. Examination of the thickness of calcareous and fibrous layers of eggshell by stereo zoom microscope found no significant differences between eggs laid by wild and caaptive turtles.en
dc.format.extent827267 bytes-
dc.format.extent712673 bytes-
dc.format.extent1228366 bytes-
dc.format.extent829483 bytes-
dc.format.extent2077902 bytes-
dc.format.extent727206 bytes-
dc.format.extent878817 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเต่าหญ้า -- การวางไข่en
dc.subjectเปลือกไข่en
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมของแหล่งวางไข่ และสัณฐานวิทยาของเปลือกไข่เต่าหญ้า Lepidochelys olivacea จากธรรมชาติและจากบ่อเลี้ยงen
dc.title.alternativeComparative study on environmental factors of nesting sites and eggshell morphology of wild and captive Olive Ridley Turtle Lepidochelys olivaceaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสัตววิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorkumthorn@sc.chula.ac.th-
dc.email.advisorsmcrc@dmcr.go.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sansareeya_Wa_front.pdf807.88 kBAdobe PDFView/Open
Sansareeya_Wa_ch1.pdf695.97 kBAdobe PDFView/Open
Sansareeya_Wa_ch2.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Sansareeya_Wa_ch3.pdf810.04 kBAdobe PDFView/Open
Sansareeya_Wa_ch4.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Sansareeya_Wa_ch5.pdf710.16 kBAdobe PDFView/Open
Sansareeya_Wa_back.pdf858.22 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.