Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9347
Title: | การบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต้นทางโดยใช้ถังกรองไร้อากาศ |
Other Titles: | Treatment of a petrochemical wastewater from the upstream petrochemical industry using an anaerobic filter |
Authors: | ทัยศักดิ์ ธรรมกุล |
Advisors: | สุธา ขาวเธียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sutha.K@eng.chula.ac.th |
Subjects: | อุตสาหกรรมปิโตรเคมี น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกรอง |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต้นทางด้วยระบบถังกรองไร้อากาศ การทดลองใช้ถังกรองไร้อากาศจำนวน 2 ชุด ทำด้วยอะคริลิกใส รูปทรงกระบอก สูง 1 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.1 เมตร ภายในบรรจุตัวกลางพลาสติกโพลีโพรไพลีน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 65 มิลลิเมตร สูง 22 มิลลิเมตร เปอร์เซ็นต์ช่องว่าง 95% และมีพื้นที่ผิว 187 ตร.ม./ลบ.ม. การป้อนน้ำเสียเป็นแบบไหลขึ้น น้ำเสียที่ใช้เป็นน้ำเสียจริง นำมาจากโรงงานปิโตรเคมีแห่งชาติ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง โรงงานแห่งนี้ผลิตผลิตภัณฑ์สายโอเลฟินส์ ซึ่งจัดเป็นประเภทของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต้นทาง ในการทดลองมีการแปรเปลี่ยนค่าอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ เท่ากับ 0.58 0.67 0.83 0.87 0.95 1.11 1.20 และ 1.78 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน จากการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีคิดเป็นร้อยละ 84.03 83.31 81.45 84.41 74.71 77.18 82.31 และ 79.96 ตามลำดับ ค่าพีเอชน้ำทิ้งมีค่าเท่ากับ 7.59 7.52 7.46 7.43 7.41 7.47 7.44 และ 7.34 ตามลำดับ ค่าโออาร์พีน้ำทิ้ง เท่ากับ -242 -258 -329 -270 -320 -337 -341 และ -323 มิลลิโวลท์ ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์การกำจัดไขมันและน้ำมัน ที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 0.67 0.83 0.87 0.95 1.11 1.20 และ 1.78 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน เท่ากับ 68.3% 79.4% 84.6% 84.2% 78.8% 89.8% และ 83.8% ตามลำดับ ประสิทธิภาพการกำจัดทีโอซี ในน้ำเสียที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 0.67 0.83 และ 0.87 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน มากกว่า 92% ในการทดลองครั้งนี้ พบว่าเกิดก๊าซชีวภาพขึ้นน้อยมากจนไม่สามารถทำการวัดปริมาณได้ ทั้งนี้เกิดจากผลของความเป็นพิษจากสารประกอบต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำเสียประเภทนี้ ทำให้เกิดการยับยั้งการทำงานของจุลินทรีย์ที่ผลิตก๊าซ ดังนั้นจึงได้มีการทำการทดลองส่วนเพิ่มเติม เพื่อศึกษาพารามิเตอร์บางตัวได้แก่ สารประกอบซัลเฟต ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาดังกล่าว ที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 2.50 และ 3.00 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน จากการทดลอง พบว่ามีปริมาณซัลเฟตอยู่ในปริมาณสูง คือ มากกว่า 900 มก./ล. ซึ่งเป็นปริมาณที่พอจะทำให้เกิดการยับยั้งการผลิตก๊าซชีวภาพในระบบได้ และประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีคิดเป็นร้อยละ 57.23 และ 51.53 ตามลำดับ ผลการทดลองสรุปได้ว่า การบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต้นทางโดยใช้ถังกรองไร้อากาศ ที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ต่างๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น มีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีสูง ที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ต่ำ และแนวโน้มของประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีจะลดลง เมื่อค่าภาระบรรทุกสารอินทรีย์มีค่าเพิ่มขึ้น |
Other Abstract: | In the last decade, petrochemical industry in Thailand has grown up rapidly. As a result, petrochemical wastewater should be more concerned. This paper presents the treatment efficiency of a petrochemical wastewater by using 2 laboratory scale upflow anaerobic filters. The reactors made from acrylic material with 1.0 meter height and 0.1 meter inside diameter. The wastewater was brought from National Petrochemical Public Company Limited (NPC) which is an upstream petrochemical industry, locate at Map Ta Phut Industrial Estate, Rayong province. This study focused on treatment efficiency of anaerobic filter by varying organic loading as the variable parameter as follows: 0.58, 0.67, 0.83, 0.87, 0.95, 1.11, 1.20 and 1.78 kg.COD/m3-day. According to the experiment data, the COD removal efficiencies were 84.03, 83.31, 81.45, 84.41, 74.71, 77.18, 82.31 and 79.96%, respectively. The pH of the effluent were 7.59, 7.52, 7.46, 7.43, 7.41, 7.47, 7.44 and 7.34 and the ORP were -242, -258, -329, -270, -320, -337, -341 and -323 mV., respectively. While organic loading were 0.67, 0.83, 0.87, 0.95, 1.11, 1.20 and 1.78 kg.COD/m3-day, the grease & oil removal efficiencies were 68.3, 79.4, 84.6, 84.2, 78.8, 89.8 and 83.8%, respectively. In addition the study showed that the biogas was not produced due to inhibition from toxic compounds and poor biodegradability of some substrate compounds present in this wastewater. Additional experiments were conducted to study parameters that can inhibit the methanogenic activity, at organic loading 2.50 and 3.00 kg.COD/m3-day. Sulfate is expected to be the main cause of the problem. The experiment indicated that the sulfate concentration in the wastewater was presented at high concentration, more than 900 mg./l, so this was a cause of the biogas inhibition. The COD removal efficiencies were 57.23 and 51.53%, respectively. However, that data showed the COD removal efficiency was more that 80% at organic loading less than 1.0 kg.COD/m3-day and it would drop with increasing organic loading. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9347 |
ISBN: | 9741300832 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thaisak.pdf | 6.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.