Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9350
Title: การประสานงานเพื่อพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่ในโรงงานสิ่งทอ โดยวิธีการวิศวกรรมควบคู่แบบทีมงาน
Other Titles: Co-ordination for development of a new product and process design in a textile factory by a team-based concurrent engineering approach
Authors: สุภาวดี นาคะเจริญ
Advisors: ชูเวช ชาญสง่าเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chuvej.C@Chula.ac.th
Subjects: วิศวกรรมคอนเคอร์เร็นท์
กลุ่มทำงาน
การบริหารความขัดแย้ง
ผลิตภัณฑ์ใหม่
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความเป็นไปได้และนำแนวคิดวิศวกรรมควบคู่แบบทีมงานมาประยุกต์ใช้จริงในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของโรงงานสิ่งทอกรณีศึกษาแทนรูปแบบเดิม เพื่อทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์มีประสิทธิผลมากขึ้นในระยะเวลาอันสั้น และลดการตัดสินใจผิดพลาดที่ไม่จำเป็นในระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการใช้บุคลากรจากหลายหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เข้าร่วมทีมงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ตลอดโครงการ จากการดำเนินงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โครงการเส้นด้ายและผ้าโพลีเอสเตอร์ของโรงงานกรณีศึกษาตามแนวคิดนี้ ได้ผลจากการสังเกตและสอบถามความคิดเห็นของผู้ร่วมทีมพัฒนาว่า พบปัญหาและอุปสรรคความขัดแย้งระหว่างสมาชิก การขาดประสบการณ์ และการขาดผู้ที่มีความรู้ทางเทคโนโลยีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่ผลดีของการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ทำให้สมาชิกทราบเป้าหมาย มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน รับผิดชอบผลิตภัณฑ์ร่วมกัน ตลอดจนมีการระดมความคิดสร้างสรรค์ใหม่ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางให้โรงงานสิ่งทอนำไปใช้ปรับปรุงรูปแบบงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดวิศวกรรมควบคู่แบบทีมงานกับโครงการอื่นๆ ต่อไป
Other Abstract: Studies the feasibility and applicability of product development in a textile factory by team-based concurrent engineering approach instead of the existing approach. Its propose is to improve effectiveness with less time and right decision in research and development process by all of people from different departments get together to work as a team for design a product. In the case studies on the development projects of polyester yarn and polyester fabrics, through observation and team member's comment it was found that there were problems and obstacles such as conflict between team member, less experience and no expert in technology and know-how of the products. However, this new approach succeeds in bringing unity among everyone in the team. Everyone was sharing responsibility in new product development and having more ideas in brainstroming. Thus, the team-based concurrent engineering approach will give improved results if applied to other projects in the textile factory
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9350
ISBN: 9743346759
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supawadee_Na_front.pdf866.94 kBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Na_ch1.pdf719.71 kBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Na_ch2.pdf837.96 kBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Na_ch3.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Na_ch4.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Na_ch5.pdf811.86 kBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Na_back.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.