Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9369
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการควบแน่นในโบราณสถาน : กรณีศึกษา พระอุโบสถ วัดกำแพง
Other Titles: Factors affecting condensation in Buddhist ordination hall : case study Wat Kumpang
Authors: สุริยน ศิริธรรมปิติ
Advisors: สุนทร บุญญาธิการ
แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, ม.ร.ว.
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: soontorn@asia.com, Soontorn.B@Chula.ac.th
Nangnoi.s@chula.ac.th
Subjects: ความชื้น
การควบแน่น
ความร้อน -- การถ่ายเท
วัดกำแพง
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โบสถ์และวิหารถือเป็นโบราณสถานและมรดกทางวัฒนธรรมประจำชาติที่ใช้ในการเผยแพร่ศาสนา ซึ่งปัจจุบันโบสถ์และวิหารมากมายมีสภาพชำรุดทรุดโทรม สาเหตุสำคัญประการหนึ่งมาจากความชื้น อันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศ น้ำฝน น้ำใต้ดิน และการระเหยของน้ำจากอิทธิพลของแสงอาทิตย์ ความชื้นดังกล่าวนอกจากจะก่อความเสียหายแก่งานสถาปัตยกรรมแล้ว ยังก่อให้เกิดความเสียหายให้กับภาพจิตรกรรมฝาผนังอีกด้วย ในอดีตเข้าใจกันว่าความชื้นที่เกิดขึ้นจากดินและน้ำใต้ดินเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ในความเป็นจริงยังมีสาเหตุต่างๆ อีกหลายสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความชื้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้มุ่งแสวงหาสาเหตุของปริมาณความชื้นที่เกิดขึ้นในโบราณสถานโดยการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดความชื้นนั้นๆ ขั้นตอนการศึกษากระทำโดย การสำรวจสถานที่จริง การสังเกตสภาพของอาคาร การสอบถามผู้มีประสบการณ์ในการบูรณะโบราณสถาน และการบันทึกข้อมูลด้วยเครื่องมืออันได้แก่ อุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ของอากาศ อุณหภูมิผิวผนังภายใน อุณหภูมิผิวกระเบื้องมุงหลังคาด้านใน และปริมาณความชื้นที่สะสมในผนังอาคาร จากการศึกษาดังกล่าวจะนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดความชื้นในอาคารที่ทำการศึกษา จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ภายในอาคารมีการสะสมความชื้นในปริมาณสูงอยู่ 2 แห่งที่ คือบริเวณผนังด้านล่างที่ใกล้กับพื้นดิน และบริเวณผนังส่วนบนใกล้กับหลังคา ความชื้นที่ส่วนบนดังกล่าวนี้เกิดจากการควบแน่นที่บริเวณผิวกระเบื้องมุงหลังคาด้านในช่วงเวลาประมาณ 24.00 น. ถึง 7.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงที่อุณหภูมิผิวกระเบื้องมุงหลังคาด้านในต่ำกว่าอุณหภูมิจุดน้ำค้างในช่วงหลังคา ส่วนความชื้นในผนังด้านล่างอาคารยังไม่พบสาเหตุหลักของการควบแน่น แต่เชื่อว่าความชื้นในส่วนนี้มาจากดินและน้ำฝน ในการเกิดการควบแน่นยังมีสาเหตุมาจากตัวแปรอีกหลายประการ เช่น จากผู้ใช้อาคารจำนวนมาก การรั่วไหลของอากาศภายนอกในช่วงเวลาที่อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์สูง หรือ ในช่วงที่อุณหภูมิอากาศภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาคารที่ไม่มีฝ้าเพดานมีแนวโน้มที่จะเกิดการควบแน่นที่ผิวกระเบื้องมุงหลังคาด้านในง่ายกว่าอาคารที่มีฝ้าเพดาน ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่า ความชื้นที่เกิดขึ้นในอาคารนั้นไม่ได้มีเพียงแต่ความชื้นที่มาจากดินเป็นสาเหตุสำคัญเพียงอย่างเดียว แต่ยังพบว่ามีการเกิดการควบแน่นที่ผิวกระเบื้องมุงหลังคาด้านใน และมีโอกาสที่จะเกิดที่ผิวผนังภายในได้ด้วย ข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและออกแบบในการบูรณะโบราณสถาน ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสในการสะสมความชื้นจากการควบแน่นสำหรับประเทศไทยต่อไป
Other Abstract: The buddhist temple is considered as ancient remains and represents the nation heritage as well. Nowadays, a large number of them, seriously, turn into deterotirated situation. One of the significant reasons is the moisture, which does not only create problems to architecture, but also mural paintings. It is believed in the past that the moisture is the major cause of deteroriration, which derived from soil and underground water. But actually, there are many factors more than that. This study is brought up for the purpose of discovering where the moisture comes from and analyzing the effective factors on the amount of moisture built up in the buildings. The experiment proceeded by surveying, observation, interviewing, and collecting data on air temperature, relative humidity, inner wall surface temperature, inner roof tiles surface temperature, and accumulated moisture in the wall. The results showed that there are two levels of moisture in the wall both in the upper part lower part as well. The moisture accumulated on the upper part is caused by condensation of surface under the roof during the early morning from 24.00 p.m. to 7.00 a.m. This phenomenon occurred when the inner roof tiles surface temperature drop below the dew point of attic air temperature. The lower part is not caused by condensation but should be caused by the ground water and the rain penetration. Moreover, the condensation may result from many other factors such as high occupancy, the infiltration of the outside air temperature, the fluctuation of the outside air temperature. The ceiling tends to have more levels of condensation. As a result, it can be concluded that moisture accumulated in Buddhist ordination hall did not only come from soil and underground water, but also condensation, which occurred on the surface of inner roof tiles and other factors and well. The outcome will be used as an informationto renovate the ancient remains in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีอาคาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9369
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.194
ISBN: 9743348026
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.194
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suriyon_Si_front.pdf834.8 kBAdobe PDFView/Open
Suriyon_Si_ch1.pdf823.37 kBAdobe PDFView/Open
Suriyon_Si_ch2.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Suriyon_Si_ch3.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Suriyon_Si_ch4.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Suriyon_Si_ch5.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Suriyon_Si_ch6.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Suriyon_Si_back.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.