Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9373
Title: ประสิทธิผลของการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ ในโครงการอะเมซิ่งไทยแลนด์ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
Other Titles: Effectiveness of public relations media in the Amazing Thailand Project Under the Tourism Authority of Thailand
Authors: ศิริลักษณ์ อริยบัญโญทัย
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Tanawadee.B@chula.ac.th
Subjects: การท่องเที่ยว -- การประชาสัมพันธ์
การสื่อสารทางการตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ของโครงการอะเมซิ่งไทยแลนด์ในระยะแรก และความสัมพันธ์ระหว่าง 1) การเปิดรับสื่อกับความรู้เกี่ยวกับโครงการอะเมซิ่งไทยแลนด์ 2) การเปิดรับสื่อกับทัศนคติเกี่ยวกับโครงการอะเมซิ่งไทยแลนด์ และ 3) การเปิดรับสื่อกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวไทย ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวน 449 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่ ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อมวลชน และสื่อเฉพาะกิจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวไทยของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทสื่อมวลชน ได้แก่ โทรทัศน์ กับความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวไทยของประชาชน ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทสื่อเฉพาะกิจ ได้แก่ ตู้ไฟนีออน นิตยสารสวัสดี นิตยสารกินรี ซีดีรอม และอินเตอร์เน็ท กับทัศนคติของประชาชน ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ประเภท สื่อมวลชน ได้แก่ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารทั่วไป กับพฤติกรรมท่องเที่ยวไทยของประชาชน ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทสื่อเฉพาะกิจ ได้แก่ นิตยสารสวัสดี นิตยสารกินรี สติกเกอร์ แผ่นพับ จุลสาร วิดีโอ ซีดีรอม และอินเตอร์เน็ท กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวไทยของประชาชน ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 6. การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทสื่อบุคคล ได้แก่ เจ้าหน้าที่ในโครงการ กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวไทยของประชาชน ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The objectives of this research are to study 1) the effectiveness of Public Relations activities at the first phase of the Amazing Thailand Project and 2) the relationships between media explosure and knowledge, attitude and travelling to Thailand. Questionnairs were used to collect data from 449 samples in Bangkok. Findings : 1. Exposure to mass, interpersonal, and specialized media about Amazing Thailand Project is significantly correlated with knowledge, attitude and visiting Thailand. 2. Exposure to television is not correlated with knowledge about Amazing Thailand. 3. Exposure to specialized media : neon board, Sawasdee magazine, Kinnaree magazine, CD-Rom and Internet is not significantly correlated with attitude toward Amazing Thailand Project. 4. Exposure to radio, newspapers and general magazines is not significantly correlated with visiting Thailand. 5. There is no correlations between exposure to Sawasdee magazine, Kinnaree magazine, stickers, folders, booklets, Video, CD-Rom, Internet and visiting Thailand. 6. Contact to PR officers in the Amazing Thailand Project is not correlated with visiting Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9373
ISBN: 9746390112
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirilux_Ar_front.pdf777.49 kBAdobe PDFView/Open
Sirilux_Ar_ch1.pdf834.41 kBAdobe PDFView/Open
Sirilux_Ar_ch2.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Sirilux_Ar_ch3.pdf804.05 kBAdobe PDFView/Open
Sirilux_Ar_ch4.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Sirilux_Ar_ch5.pdf981.55 kBAdobe PDFView/Open
Sirilux_Ar_back.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.