Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9388
Title: | การปรับปรุงสายพันธุ์ streptococcus zooepidemicus ATcc 35246 เพื่อการผลิตกรดไฮยาลูโรนิค |
Other Titles: | Strain improvement of streptococcus zooepidemicus ATCC 35246 for hyaluronic acid production |
Authors: | นิภาพร ศิริเพ็ญ |
Advisors: | สุเทพ ธนียวัน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | fscisth@chulkn.car.chula.ac.th |
Subjects: | กรดไฮยาลูโรนิค สเตรปโตคอคคัส |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | Streptococcus zooepidemicus ATCC 35246 เป็นสายพันธุ์ตั้งต้นที่ได้จาก American Type Culture Collection สามารถผลิตกรดไฮยาลูโรนิคได้ 180.23 มิลลิกรัมต่อลิตรภายใต้ภาวะที่ทดสอบ เมื่อกลายพันธุ์สายพันธุ์นี้โดยการฉายแสงอัลตราไวโอเลตนาน 80-120 วินาที จำนวน 3 รอบ สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ CU47 ซึ่งผลิตกรดไฮยาลูโรนิคได้ 370.13 มิลลิกรัมต่อลิตร และเมื่อกลายพันธุ์ต่อด้วย NTG (N-methyl-N'-nitro-N-nitrosoguanidine) ที่ความเข้มข้น 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เป็นเวลา 5-40 นาที 37 องศาเซลเซียส จะได้สายพันธุ์กลายที่ผลิตกรอไฮยาลูโรนิคได้สูงจำนวนหนึ่ง หลังการคัดเลือกและกลายพันธุ์ซ้ำด้วย NTG อีก 4 รอบ ได้สายพันธุ์ CUN 5-10 ซึ่งผลิตกรดไฮยาลูโรนิคได้ 585.85 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการผลิตกรดไฮยาลูโรนิคโดยสายพันธุ์ CUN5-10 พบว่า การเลี้ยงที่อุณหภูมิห้อง (28-32 องศาเซลเซียส) ค่าความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นของอาหารเลี้ยงเชื้อ 7.5 ปริมาณซูโครสเริ่มต้นที่ 10 กรัมต่อลิตร อัตราเร็วในการเขย่า 200 รอบต่อนาที จุลินทรีย์ผลิตกรดไฮยาลูโรนิคได้ 829.11 มิลลิกรัมต่อลิตร และการเติมไลโซไซม์ที่ 40,000 ยูนิต ลงในเซลล์เพาะเลี้ยง สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตกรดไฮยาลูโรนิคได้สูงเพิ่มเป็น 2.50 กรัมต่อลิตร ในขณะที่การเติมทวีน 80 ที่ความเข้มข้น 0-2 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตรต่อปริมาตร) ไม่มีผลต่อการเพิ่มการผลิตกรดไฮยาลูโรนิคแต่อย่างใด |
Other Abstract: | Streptococcus zooepidemicus ATCC 35246, an organism acquired from American Type Culture Collection was capable of producing hyaluronic acid at 180.23 mg/ml. Upon exposing to UV-light for 80-120 seconds for 3 rounds, a mutant designated CU 47 capable of producing hyaluronic acid at 370.13 mg/l was obtained. Further mutation via NTG (N-methyl-N'-nitro-N-nitrosoguanidine) at 50 micrograms/ml, 5-40 minutes, 37 ํC yielded a number of mutants producing hyaluronic acid in higher yield. Subsequent isolation and mutation via NTG for 4 additional rounds, a mutant namely CUN5-10 was obtained with ability of producing hyaluronic acid at 585.85 mg/l Optimal conditions for hyaluronic acid production by CUN5-10 were : cultivation at room temperature (28-32 ํC), initial pH of 7.5, initial concentration of sucrose at 10 g/l with agitation rate of 200 rpm. Under such conditions CUN 5-10 could produce hyaluronic acid at 829.11 mg/l. The addition of lysozyme at 40,000 units to the culture medium could raise hyaluronic acid yield up to 2.50 g/l while the addition of tween-80 at 0-2% (v/v) did not show any significantly increase in hyaluronic acid production. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9388 |
ISBN: | 9743330593 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nipaporn_Si_front.pdf | 817.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipaporn_Si_ch1.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipaporn_Si_ch2.pdf | 799.24 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipaporn_Si_ch3.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipaporn_Si_ch4.pdf | 783.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipaporn_Si_back.pdf | 947.42 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.