Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/948
Title: การใช้สัญญะในภาพยนตร์โฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย
Other Titles: Sign usage in Tourism Authority of Thailand's television commercial for Thai tourists
Authors: รักจิต มั่นพลศรี, 2521-
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kanjana.K@chula.ac.th
Subjects: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยว -- โฆษณา
ภาพยนตร์โฆษณา
สัญศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาการใช้สัญญะในภาพยนตร์โฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยการศึกษาดังกล่าวเป็นไปเพื่อตอบวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1 ) เพื่อวิเคราะห์ถึงวิธีการสร้างและถ่ายทอดสัญญะของผู้ผลิตสาร 2 ) เพื่อศึกษาถึงการรับรู้และตีความสัญญะของผู้อ่านสาร 3 ) เพื่อวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และตีความสัญญะของผู้อ่านสารกับวิธีการสร้างและถ่ายทอดสัญญะของผู้ผลิตสาร โดยระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหาจากภาพยนตร์โฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในระหว่างปี 2541 - 2544 , การสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้ผลิตสารของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและบริษัทตัวแทนโฆษณา จำนวน 8 คน และ การดำเนินสนทนากลุ่มกับผู้อ่านสารนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 12 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 72 คน โดยอาศัยแนวคิดเรื่ององค์ประกอบของการโฆษณา และ ทฤษฎีสัญญะวิทยา เป็นกรอบในการวิเคราะห์ โดยผลการศึกษาพบว่า1.ผู้ผลิตสารสร้างและถ่ายทอดสัญญะในภาพยนตร์โฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยมีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ ได้แก่ การเที่ยวเพื่อตนเอง และ การเที่ยวเพื่อชาติ ซึ่งสัญญะต่างๆ ที่สร้างสื่อความหมายหลักของการเที่ยวเพื่อตนเอง นำไปสู่ความหมายที่แสดงถึง การปลดปล่อย ผ่อนคลาย และ ความสนุกสนาน มีชีวิตชีวา ในขณะที่สัญญะต่างๆ ในการสร้างสื่อความหมายหลักของการเที่ยวเพื่อชาติ นำไปสู่ความหมายที่แสดงถึง ความภูมิใจ และ ความเป็นชาตินิยม 2.กลุ่มผู้อ่านสารส่วนใหญ่ที่สามารถอ่านความหมายของสัญญะในแบบเดียวกับที่ผู้ผลิตสารต้องการ คือ กลุ่มผู้อ่านสารวัยรุ่นและวัยทำงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รหัสของสัญญะในภาพยนตร์โฆษณาดังกล่าวเป็นรหัสของกลุ่มผู้อ่านสารสองกลุ่มนี้ 3.ผู้อ่านสารส่วนใหญ่สามารถอ่านความหมายของสัญญะได้ตรงตามที่ผู้ผลิตสารต้องการ แสดงให้เห็นว่า ผู้ผลิตสารสามารถควบคุมทิศทางการอ่านความหมายของผู้อ่านสารส่วนใหญ่ได้ และพบว่า ความสามารถของผู้ผลิตสารในการควบคุมทิศทางการอ่านความหมายของผู้อ่านสารเป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ผู้ผลิตสารมีการใช้รหัสอย่างหลากหลาย ผู้ผลิตสารมีการจัดระบบรหัสที่ควบคุมสัญญะมากกว่าหนึ่งระบบ และ ผู้ผลิตสารมีลีลาการนำเสนอเนื้อหาสารที่สอดรับกับภูมิหลังของผู้อ่านสาร
Other Abstract: This research was aimed at studying the sign usage in Tourism Authority of Thailand's television commercial for Thai tourists. The objectives of the study were as follows : firstly, to analyze the producer's signification process and sign conveying. Secondly, to study the reader's sign perception and interpreting. And lastly, to analyze the relations of sign encoding and decoding. Methodology in this research was based on the qualitative approach : content analysis in television commercial of TAT were to broadcast between 2541-2544, in-depth interview from producers of TAT and agency advertiser, and focus group interview in 12 group Thai tourist readers, totally 72 persons. With used the concept of advertising component and semiologys as conceptual framework for data analysis. The findings show that. 1.Producers use the signification process and sign conveying in Tourism Authority of Thailand's television commercial for Thai tourists with 2 purpose are tour for private and tour for public. Sign which construct the principle meaning in tour for private lead to the meaning of release and cheerful tone whereas sign which construct the principle meaning in tour for public lead to the meaning of esteem and nationalism. 2. The adolescence and adult group as the most of reader which have decoding from signs in preferred reading which show that the code of sign in this text are belong to the both groups. 3. The most of reader are able to decode the signs in preferred reading position which show that the producer are able to control the way of reader's decoding. And, the study indicated that the producer's ability in control the way of reader's reading result from many factors such as producer use the several codes, producer has manage the code system for control the sign more than one system and producer has the suitable presentation style for reader's background.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/948
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.485
ISBN: 9741711565
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.485
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RakjitMan.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.