Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9487
Title: | พฤติกรรมการดูแลและความต้องการการสนับสนุนจากโรงพยาบาลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุในจังหวัดนนทบุรี |
Other Titles: | Caring behavior and hospital supporting needs of geriatric psychiatric patients caregivers in Nonthaburi province |
Authors: | นฤมล นาคเรือง |
Advisors: | องอาจ วิพุธศิริ วิฑูรย์ โล่ห์สุนทร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | fmedovp@md.chula.ac.th, Ong-Arj.V@chula.ac.th Vitool.L@Chula.ac.th |
Subjects: | การพยาบาลจิตเวชศาสตร์ การพยาบาลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจิตเวช ผู้สูงอายุ |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแล และความต้องการการสนับสนุนจากโรงพยาบาลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ประชากรเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุที่เคยมารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีธัญญา ในปีงบประมาณ 2543 และอยู่ในจังหวัดนนทบุรี สุ่มตัวอย่างโดยวิธี การสุ่มแบบสองขั้นตอน ขนาดตัวอย่าง 223 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษานี้ เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และรวบรวมข้อมูลได้คิดเป็นร้อยละ 68.2 วิเคราะห์ ข้อมูล โดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุที่ผู้ดูแลให้การช่วยเหลือผู้ป่วยใน 3 อันดับแรก คือ การดูแลให้ไปพบแพทย์ตามนัด ร้อยละ 46.1 การช่วยซื้อหาของใช้ ร้อยละ 34.2 และการเตรียม/ประกอบอาหาร ร้อยละ 31.6 ผู้ดูแลที่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยมากกว่าผู้ดูแลที่ไม่เคยได้รับความรู้ สำหรับความต้องการการสนับสนุนจากโรงพยาบาล ด้านการให้ข้อมูล/คำแนะนำ พบว่า ต้องการคู่มือ/เอกสาร ร้อยละ 63.2 ต้องการได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรค ร้อยละ 61.8 และข้อมูลการใช้ยาร้อยละ 60.5 ด้านการจัดบริการ พบว่า มีความต้องการสูงสุดใน 3 อันดับแรกคือ บริการส่งต่อผู้ป่วยร้อยละ 80.3 บริการฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง ร้อยละ 75.0 และการใช้โทรศัพท์เพื่อขอคำปรึกษา 24 ชั่วโมงร้อยละ74.3 ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐาน สำหรับใช้ในศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุของผู้ดูแล และใช้ในการพัฒนารูปแบบคุณภาพบริการ ในการสนับสนุนช่วยเหลือ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการในการดูแลผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป |
Other Abstract: | The purposes of this cross sectional descriptive study were to study caring behavior, factors involved in caring behavior and hospital supporting needs of geriatric psychiatric patients caregivers in Nonthaburi province. The study population was geriatric psychiatric patients caregivers in Srithunya hospital year 2000 in Nonthaburi province. Samples were 223 persons obtained by two stages cluster sampling. The tools of this study were constructed interview questionnaire. The response rate was 68.2%. The data were analyzed in terms of count, percentage, mean, standard deviation. The results showed that top-three ranking of caring activities were : took the patients to see the doctors 46.1%, brought things needed 34.2% and prepared food 31.6%. The caregivers who had been trained gave higher mean scores of caring activities than those non trained caregivers. Supporting needs from hospital in information/counseling dimension found as follow : manual/leaflets 63.2%, disease knowledge 61.8% and drug use information 60.5%. For service dimension, the top three ranking were patient referral 80.3%, 24 hours emergency care 75.0% and 24 hours telephone consultation 74.3%. The results of this study would be data bases of the caregivers for caring behaviorʼs research and developing service model in supporting future need for better patient caring. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์ชุมชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9487 |
ISBN: | 9740311342 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Narimol.pdf | 980.09 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.