Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/949
Title: การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติและความตั้งใจเข้ารับการแก้ไขปัญหาสายตาด้วยวิธีเลสิก
Other Titles: Information exposure, knowledge, attitude and intention to participate in lasik eye surgery
Authors: มาริกา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา, 2521-
Advisors: พนา ทองมีอาคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Pana.T@chula.ac.th
Subjects: สายตาผิดปกติ
ทัศนคติ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัย เรื่อง "การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจเข้ารับการแก้ไขปัญหาสายตาด้วยวิธีเลสิก" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และ ความตั้งใจในการเข้ารับการแก้ไขปัญหาสายตาด้วยวิธีเลสิกของผู้มีสายตาผิดปกติ เป็นการวิจัยแบบสืบเสาะ (Exploratory Research) เพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากผู้มีสายตาผิดปกติ อายุ 21-40 ปี แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) การวิจัยเชิงปริมาณ โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบวัดครั้งเดียว และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 131 คน (2) การวิจัยเชิงคุณภาพ รูปแบบการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 7 คน โดยนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเชิงสำรวจมาพูดคุยกับกลุ่มผู้มีสายตาผิดปกติเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก และได้รายละเอียดเพิ่มขึ้น เก็บข้อมูลในเดือนมกราคม 2545 ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า 1. ผู้มีปัญหาสายตามีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการแก้ไขปัญหาสายตาด้วยวิธีเลสิกจากสื่อมวลชนมากกว่า การพูดคุยกับสื่อบุคคล โดยสื่อที่มีความบ่อยครั้งในการเปิดรับมากที่สุด คือ สื่อนิตยสาร 2. ผู้มีปัญหาสายตาส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาสายตาด้วยวิธีเลสิกในส่วนของข้อมูล-เบื้องต้น เช่น ทราบว่าเลสิกเป็นการแก้ไขปัญหาสายตาโดยใช้แสงเลเซอร์ในการผ่าตัด3. ความรู้สึกในทางที่ดีต่อเลสิกส่วนใหญ่อยู่ในประเด็นด้านการช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม 4. ผู้มีปัญหาสายตาร้อยละ 23 มีความตั้งใจแก้ไขปัญหาสายตาด้วยวิธีเลสิก โดยส่วนใหญ่แสดงเจตจำนงว่า จะทำเลสิกภายใน 2 ปี ส่วนผู้ที่แสดงความจำนงว่าไม่ทำและยังไม่ตัดสินใจ เนื่องมาจากกลัวผลข้างเคียง และค่าบริการสูงเกินไป ผู้ที่มีรายได้ 20,001-30,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีการตัดสินใจทำเลสิกมากที่สุด ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า 1. การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเลสิกจากสื่อมวลชนมีส่วนสร้างการตระหนักรู้ และให้ข้อมูลเบื้องต้น การพูดคุยกับสื่อบุคคลเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่ใช้ ในการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม 2. ผู้เข้าร่วมการสนทนาสามารถบอกได้ถึงสาระสำคัญของการแก้ไขปัญหาสายตาด้วยวิธีเลสิก และทราบว่า หลังการทำเลสิกจะมีผลกระทบเกิดขึ้นในแบบชั่วคราว 3. แม้ว่าผู้เข้าร่วมการสนทนาจะมีความรู้สึกที่ดีต่อเลสิกในด้านคุณประโยชน์ แต่กลับรู้สึกไม่มั่นใจใน ความปลอดภัยต่อดวงตา 4. ผู้เข้าร่วมการสนทนาทุกคนยังไม่ตัดสินใจทำเลสิกในช่วง 1-2 ปี เนื่องจากกลัวผลข้างเคียงและต้องการทราบข้อมูลหลังการผ่าตัดของผู้ที่ได้ทำไปแล้ว
Other Abstract: The objectives of this research is to study the information exposure, knowledge, attitude and intention to participate in LASIK eye surgery of people aged 21-40 years with vision problem such as myopia, hyperopia, and astigmatism. The study is an Exploratory Research with both quantitative and qualitative parts. In quantitative part, questionnaires are used to collect data from 131 samples, male and female who came to the clinic, in Bangkok area, for the first time. Frequency, percentage, means and standard deviation are the statistics applied to analyze data. SPSS for Windows program is used for data processing. In qualitative part, Focus Group Discussion is used to extend the results from the quantitative part in more details and to find new aspects from the participants In quantitative part, the results are :1. The samples had more information exposure through mass media than personal media. Magazines were the most frequent media they exposed 2. Most of the samples had little basic knowledge about LASIK 3. Most of the samples had good feelings toward LASIK because of its benefits 4. 23 percent of the samples had intention to participate in LASIK eye surgery within 2 years. Side effects and high price were the reasons for not having surgery. People with salary of 20,001- 30,000 baht a month had more intention than other groups In qualitative part, the results are 1. Information exposure through mass media raised the group participants' awareness of LASIK and gave them basic information about LASIK. The group participants exchanged information through personal media. Moreover, they used internet for further information 2. Most of the group participants had basic knowledge about LASIK's concept and its temporary side effects 3. Even though, all of the group participants had good feeling towards LASIK but they felt insecure to participate in 4. All of the group participants didn't have any intention to participate in LASIK eye surgery within 1-2 years because they were fear of its outcome and side effects. Moreover, they needed more information.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การโฆษณา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/949
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.558
ISBN: 9741713282
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.558
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
marigar.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.