Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9504
Title: | การศึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไข ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) |
Other Titles: | Study for Amendment of the Announcement of the National Executive Council No.281 to Comply with GATS requirements |
Authors: | ประพีร์ อภิชาติสกล |
Advisors: | ชุมพร ปัจจุสานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | คนต่างด้าว พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 การค้าเสรี |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จากการที่ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของ WTO รวมทั้งลงนามให้สัตยาบันในความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) ทำให้ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของความตกลง รวมทั้งจะต้องทำการเปิดเสรีการค้าบริการแบบก้าวหน้าตามลำดับ ภายใต้เงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในข้อผูกพันเฉพาะ การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 (ปว.281) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ทำการควบคุมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) ดังกล่าว การศึกษาวิจัยจะทำการพิจารณาถึงหลักการที่กำหนดไว้ใน ปว.281 ว่ามีส่วนใดที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีในความตกลง GATS และไม่สอดคล้องอย่างไร เพื่อที่จะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขหลักการดังกล่าวนั้ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของความตกลงต่อไป และเนื่องจากในขณะที่ทำวิจัยนี้รัฐบาลได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อยกเลิก ปว.281 โดยมีการปรับปรุงแก้ไขหลักการต่างๆ ของ ปว.281 ดังนั้นในการศึกษาวิจัยจึงจะทำการศึกษาถึงหลักการที่มีอยู่ในพระราชบัญญัตินี้ว่ามีหลักการอย่างไรด้วย เพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข ทั้งนี้ศึกษาด้วยว่าหลักการตามพระราชบัญญัตินี้หลังจากที่ได้ทำการปรับปรุงแก้ไขหลักการเดิมใน ปว.281 แล้ว จะมีความสอดคล้องกับบทบัญญัติตามความตกลงหรือไม่ ผลการวิจัยพบว่า หลักเกณฑ์การควบคุมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวทั้งที่มีอยู่ใน ปว.281 และพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ที่มีหลักการใหม่โดยทำการแก้ไขหลักการเดิมของ ปว.281 แล้วนั้น ก็ยังคงมีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นคนต่างด้าวในการเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย รวมถึงการระบุธุรกิจในบัญชีท้ายกฎหมายให้เป็นธุรกิจที่ห้ามไม่ให้คนต่างด้าวทำ โดยรวมถึงธุรกิจบริการด้วยนั้น ได้ก่อให้เกิดปัญหาและเป็นอุปสรรคต่อการเข้าสู่ตลาดของคนต่างด้าวที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย ดังนั้นเพื่อที่จะดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้ความตกลง ประเทศไทยจึงต้องทำการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีการเปิดเสรียิ่งขึ้นตามลำดับ และสอดคล้องกับบทบัญญัติของความตกลงและข้อผูกพันเฉพาะ ความตกลง GATS ยังส่งผลกระทบต่อกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการใน ปว.281 ด้วย ดังนั้นจึงต้องทำการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้เป็นไปตามพันธกรณีของความแตกต่างเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องทำการทบทวนและพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ โดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ |
Other Abstract: | Due to Thailand became a member of WTO and also ratified the General Agreement on Trade in Services (GATS), Thailand has an obligation to follow GATS provisions and should progressively liberalize trade in services under the conditions accorded in the Specific Commitments. This thesis aims to present the regulations of the Announcement of the National Executive Council No.281-NEC.No.281 (Thailand's Alien Business Law) which are inconsistent with GATS's provisions. This study could lead to provide the appropriate measures for amend the NEC.No.281 to be consistent with GATS. Whereas during doing this research, Alien Business Act B.E.2542 (1999) has been promulgated in order to repeal the NEC.No.281. Therefore this thesis has also studied and analyzed the Alien Business Act B.E.2542 as well. As a result of the research found that both NEC.No.281 and Alien Business Act B.E.2542 intentionally prescribes business regulations for alien in order to protect the interests of Thai investors by prohibiting or limiting foreign participation in certain sector deemed strategic. The prohibition, which prevent aliens from engaging any business specified in the list of controlled businesses attached to the law including Business in Services cause problems and obstacles for accommodating foreigners engage their business in Thailand. Consequently, in order to compliance with obligations under GATS, Thailand has duty to amend this law to be more liberalize and consistent with GATS's provisions as well as the specific commitments. Furthermore, GATS also gives effect to other Thai laws which related to business services in NEC.No.281 as well. So these laws should be amended and adjusted to follow out the GATS. Nevertheless, all relevant Thai laws should be revised and reviewed carefully to ensure that our laws are able to protect our public interests and reasonable to social requirements. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9504 |
ISBN: | 9743345485 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prapee_Ap_front.pdf | 808.94 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapee_Ap_ch1.pdf | 754.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapee_Ap_ch2.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapee_Ap_ch3.pdf | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapee_Ap_ch4.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapee_Ap_ch5.pdf | 877.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapee_Ap_back.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.