Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9524
Title: | ผลกระทบของการออกนอกระบบราชการจากโรงพยาบาลรัฐ เป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ ต่อการจัดบริการสุขภาพในโรงพยาบาล |
Other Titles: | Impact of hospital autonomization on health service arrangemant of a public hospital |
Authors: | ดวงพร โสภา |
Advisors: | จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ บดี ธนะมั่น |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jiruth.S@Chula.ac.th Bodi.D@Chula.ac.th |
Subjects: | โรงพยาบาลบ้านแพ้ว โรงพยาบาลชุมชน องค์การมหาชน โรงพยาบาลในกำกับของรัฐ โรงพยาบาล -- การบริหาร การรับรู้ |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการจัดบริการสุขภาพในโรงพยาบาล ภายหลังการออกนอกระบบราชการจากโรงพยาบาลของรัฐ เป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ ของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ตามการรับรู้ของผู้รับบริการ งานบริการผู้ป่วยนอกคลินิกฝากครรภ์ คลินิกสุขภาพเด็กดี และผู้ปฏิบัติงานในมิติโครงสร้าง กระบวนการและผลลัพธ์ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม 2544-กุมภาพันธ์ 2545 จากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการจำนวน 1,040 คน (100%) การสำรวจผู้ปฏิบัติงานโรงพยาบาลบ้านแพ้ว โดยใช้แบบสอบถามในจำนวน 364 คนได้รับแบบสอบถามกลับคืน 186 ชุด คิดเป็น 51.1% วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตามลักษณะของข้อมูล ประกอบกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้รับจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงพยาบาล รวมทั้งข้อคิดเห็นและเสนอแนะจากผู้รับบริการและผู้ปฏิบัติงาน ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบของการออกนอกระบบราชการของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ตามการรับรู้ของผู้รับบริการผู้ป่วยนอก และคลินิกฝากครรภ์เห็นว่า โรงพยาบาลมีการเปลี่ยนแปลงจากก่อนออกนอกระบบมาก (71.5% และ 52.5%) ส่วนผู้รับบริการคลินิกเด็กดี เห็นว่าโรงพยาบาลมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย (44.1%) โดยภาพรวมทุกกลุ่มเห็นว่า โรงพยาบาลมีการเปลี่ยนแปลงในทางดีขึ้น ทั้งในมิติโครงสร้าง ได้แก่ อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม เครื่องมือทันสมัย มิติกระบวนการ ได้แก่ การตรวจรักษา การนัดพบแพทย์ การได้รับคำแนะนำจากพยาบาล และการมีเจ้าหน้าที่ต้อนรับช่วยเหลือดูแล และมิติผลลัพธ์ ได้แก่ ความมั่นใจในการรักษา การเสียเวลาตรวจและการได้รับคำแนะนำในการใช้ยา ซึ่งสอดคล้องกับการรับรู้ของผู้ปฏิบัติงานที่เห็นว่า โรงพยาบาลมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ทั้งมิติโครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ นอกจากการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคล (แย่กว่าเดิม 33.5%) ที่มีการย้ายเข้า-ออกมาก เนื่องจากรู้สึกไม่มั่นคงต่อการออกนอกระบบราชการ ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่รับรู้ว่า ปัจจัยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นปัจจัยภายในองค์กรมากกว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ซึ่งได้แก่ปัจจัยผลักดันระดับการจัดการและระดับเทคนิค มากกว่าระดับสถาบัน/นโยบาย จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การรับรู้ของผู้ปฏิบัติงานยังรับรู้เพียงปัจจัยที่ใกล้ตัว การถ่ายทอดนโยบายที่สำคัญอาจยังไม่ครอบคลุม และมีการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรบุคคลในทิศทางที่ยังไม่น่าพอใจ ในขณะที่ผู้รับบริการยังขาดข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเป็นองค์การมหาชน โรงพยาบาลจึงควรดำเนินการด้านการถ่ายทอดนโยบายที่ชัดเจน การจัดทำแผนอัตรากำลัง การพัฒนาบุคลากรเพื่อการบริการ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน |
Other Abstract: | To conduct a one year evaluation evaluate of Banphaew Hosptial after its transformation from a public hosptial into an autonomous hospital under the government supervision. Clients and prividers' perception on three dimensions of change in hospital service activity were examined : input process and outcome. During October 2001-February 2001, Some 1,040 clients were interviewed at the out-patient department, antenatal care, and well bady clinics, and 364 hospital personal were requsted to fill the self administered questionnaire, of which some of them 51.1% responded. The data were analyzed by frequency and percentage. The results of this study revealed that, overall, the hospital has been improving its arises, although there was some discrepancy in the opinion. Some 71% and 52% of clients at out patient department and antenatal clinic observed noticeable improvement, while 44% of client at well bady clinic observed sight improvement. The improvements included structural aspects - such as facitities and equipment, process aspects - such as treatment, suggestion and outcome. The hospital personnel's opinion was also in agreement with the clients. However, they further noticed about the dynamic of the hospital workforce that the driving foce for improvement was the internal factors, including factors at managerial land technical levels rather than institutional level of drivers. These findings indicated that perception of the hospital personnel on the changes was limited, communication of hospital policies was not clear and personnel management could not reach a satisfactory level. Clients also lacked of information. The hospital personal master plan and personnel development plan in needed. Public relation function also need improvement. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์ชุมชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9524 |
ISBN: | 974701519 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Duangporn.pdf | 11.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.