Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9542
Title: การวิเคราะห์ระบบการวัด : กรณีศึกษาโรงงานผลิตเครื่องเพชรพลอยและเครื่องประดับ
Other Titles: Measurement system analysis : a case study of jewelery and ornament factory
Authors: ชัชวาล พรพัฒน์กุล
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jittra.R@Chula.ac.th
Subjects: เครื่องวัด
การสอบเทียบเครื่องวัด
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานที่มีฝีมือ เป็นจำนวนมาก และเกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัดหลายชนิดที่มีผลต่อคุณภาพและต้นทุนการผลิต ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการวัดของเครื่อง ชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดอุณหภูมิเตาอบแม่พิมพ์ เครื่องวัดอุณหภูมิเตาเหล่อ เครื่องวัดความดัน และกระบองไซค์ แล้วทำการวิเคราะห์ระบบการวัดแบบต่างๆ ในกระบวนการผลิตอย่างละเอียด เพื่อจะได้ทราบถึงแหล่งความผันแปรของระบบการวัด และทำการเสนอแนะเพื่อลดและกำจัดความผันแปรนั้น โดยการศึกษาจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 1) การวิเคราะห์ความถูกต้องของระบบการวัด เนื่องจากพบว่าค่าที่วัดได้จากเครื่องมือวัดที่ทำการศึกษา มีค่าเอนเอียงไปจากค่าจริงแต่อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์คุณสมบัติอื่นๆ ของเครื่องมือวัดคือ ค่าไบอัส ค่าเสถียรภาพของระบบการวัด และค่าคุณสมบัติเชิงเส้นตรง ผลจากการวิเคราะห์พบว่าเครื่องชั่งน้ำหนักอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดความดัน จะมีค่าการวิเคราะห์ความถูกต้อง ไม่เกิน 5% แต่พบว่าเครื่องชั่ง 1200 กรัม 3100 กรัม และเครื่องวัดความดันเครื่องที่ 2 มีค่าการวิเคราะห์ความถูกต้องใกล้เคียง 5% เนื่องมาจากอายุการใช้งานนาน ขาดการบำรุงรักษาและขาดการสอบเทียบจากเครื่องมือมาตรฐาน จึงได้ดำเนินการปรับเทียบจากเครื่องมือมาตรฐาน ทำให้ค่าวิเคราะห์ความถูกต้องหลังการปรับเทียบไม่เกิน 5% ส่วนกระบองไซค์ โดยเฉพาะแผนกแต่งตัวเรือน มีค่าความถูกต้องเกิน 5% 2) การวิเคราะห์ความแม่นยำของระบบการวัด ผลการวิเคราะห์พบว่าเครื่องมือวัดมีค่าการวิเคราะห์ความแม่นยำ (%GR&R) น้อยกว่า 10% และได้พบสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความผันแปรที่เกิดจากพนักงานวัด (Appraiser Variation) ขึ้นได้แก่ พนักงานที่ทำการวัดไม่วางชิ้นงานบริเวณกลางจานของเครื่องชั่ง และไม่ได้ปรับตั้งศูนย์ (Zero Adjust) ก่อนทำการชั่งชิ้นงาน และได้ทำการลดความผันแปรจากเครื่องมือวัด (Equipment Variation) โดยทำการสอบเทียบ เครื่องชั่งน้ำหนักอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 5 เครื่อง เครื่องมือวัดอุณหภูมิเตาอบแม่พิมพ์ 3 เครื่อง เครื่องมือวัดอุณหภูมิเตาหล่อ 2 เครื่อง เครื่องมือวัดความดัน 2 เครื่อง และกระบองไซค์ 27 อัน ตามมาตรฐาน NIS6 จากผลการวิเคราะห์ทั้งหมดทำให้ทราบถึงแหล่งความผันแปร โดยได้ทำการแก้ไขเพื่อลดความผันแปร และได้จัดทำข้อเสนอแนะให้โรงงานตัวอย่าง ทำการบำรุงรักษาเครื่องชั่ง 320 กรัม 1200 กรัม 3100 กรัม และเครื่องมือวัดความดันเครื่องที่ 2 ส่วนกระบองไซค์ในแผนกแต่งตัวเรือนมีค่าความผันแปรเกิน 5% หลังจากใช้งานไป 6 เดือน จึงได้เสนอแนะให้ลดช่วงเวลาการสอบเทียบเหลือเพียง 2-3 เดือน และเลือกใช้วัสดุของกระบองไซค์ ที่มีคุณภาพมากกว่าเดิม ส่วนการสอบเทียบเครื่องชั่งน้ำหนักอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องวัดอุณหภูมิ และเครื่องวัดความดัน ควรสอบเทียบทุก 1 ปี แล้วทำการคำนวณหาความไม่แน่นอนในการวัด นอกจากนั้นยังได้จัดทำคู่มือมาตรฐาน และขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดอย่างละเอียดเพื่อให้ดโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ สามารถนำไปใช้ได้ เช่น การใช้งานและการสอบเทียบเครื่องชั่งน้ำหนักอิเล็กทรอนิกส์ การใช้งานและการสอบเทียบเครื่องมือวัดอุณหภูมิ การใช้งานและการสอบเทียบเครื่องมือวัดความดัน การใช้งานและการสอบเทียบกระบองไซค์ด้วยเวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ และจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานของโรงงานตัวอย่าง
Other Abstract: Jewelery and ornament factory requires skill labor and the accurate measurement tools in order to produce high quality products and low costs. The objective of this research were to study the measurement system analysis, find the variation of the measurement systems and recommend how to reduce the variation. The measurement tools were the single-pan electronic balances, temperature measurements, pressure measurements and diameter ring measurements. This research was divided into two phases: 1) analysis the accuracy of the measurement systems because of we found the actual values from the measurements have error from the true value but there were in the standardization. So we must to analyze the 3 properties of the measurement systems: bias, the system stability and linearity. The result of analysis were found that the %bias of the single-pan electronic balances, temperature measurements, pressure measurements less than 5% but we found the %bias of the single-pan electronic balance range 1200gm, 3100 gm and pressure measurement(2) nearly 5% because of live span, without maintenance and no calibration. So we calibrated all the measurements affer than the %bias were not over than 5%, and the %bias of the diameter ring measurements in the modify section over than 5%. 2) analysis the precision of the measurement systems we found the %GR&R less than 10% and we found the momentous cause in to appraiser variation, they did not place the material job in the middle of the pan and forgot to the zero adjustment before measure the weight of job and reduced the equipment variation by the measurement calibration for the 5 single-pan electronic balances, 3 temperature measurements in mold section, 2 temperature measurements in melt section, 2 pressure measurements and 27 diameter ring measurements by the standard of NIS6. From the total analysis we have knowledge the source of the variation. So we correction measurement for reduced variation and maintenance recommend for 320gm single-pan electronic balance, 1200gm single-pan electronic balance, 3100gm single-pan electronic balance, and pressure measurement(2). For the diameter ring measurements in the modify section over than 5% behind to used 6 months we recommend to reduce calibration period to 2-3 onths and chose the material of the diameter ring measurements to be good quality more than the old diameter ring measurements. And recommend to calibration period to 1 year for the single-pan electronic balances, temperature measurements, pressure measurements so calculate uncertainty of measurement. We could build the standard manual and detail measurement calibration procedure for other factory. etc. the manual and the single-pan electronic balance calibration procedure, the manual and the temperature measurement calibration procedure, the manual and the pressure measurement calibration procedure, the manual and the diameter ring measurement calibration with vernear calipper and make up the training course for operator of sample factory.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9542
ISBN: 9740303552
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatchaval.pdf20.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.