Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9546
Title: | การลดของเสียในกระบวนการพ่นสีโช้คอัพรถจักรยานยนต์ |
Other Titles: | Defect reduction in shock absorber painting process of motorcycles |
Authors: | เขมิกา วันทอง |
Advisors: | ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | damrong.t@chula.ac.th |
Subjects: | การควบคุมความสูญเปล่า ผลิตภัณฑ์ -- ข้อบกพร่อง การควบคุมคุณภาพ จักรยานยนต์ -- การพ่นสี |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียในกระบวนการพ่นสีโช้คอัพรถจักรยานยนต์ โดยการนำการวิเคราะห์แขนงความบกพร่อง และการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบต่อคุณภาพในกระบวนการพ่นสีโช้คอัพรถจักรยานยนต์เป็นเครื่องมือคุณภาพหลัก โดยเริ่มการศึกษาด้วยการรวบรวมปัญหาและข้อบกพร่องต่างๆ ที่ก่อให้เกิดของเสียหลักจากกระบวนการพ่นสีได้แก่ สีเป็นเม็ด สีพอง และสีเป็นรอย โดยอาศัยการระดมความคิด การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาหรือข้อบกพร่อง การศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างปัญหาต่างๆ กับผู้รับผิดชอบ จากนั้นใช้การวิเคราะห์แขนงความบกพร่องเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงในการเกิดปัญหาของเสียหลักแล้วเชื่อมโยงเข้าสู่การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบต่อคุณภาพในกระบวนการพ่นสีโช้คอัพรถจักรยานยนต์ ในการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบต่อคุณภาพนั้น มีการประเมินค่าคะแนนความเสี่ยงชี้นำของแต่ละข้อบกพร่องโดยทีมงานผู้ชำนาญการ ซึ่งคำนึงถึงความรุนแรงของข้อบกพร่อง โอกาสในการเกิดขึ้นของข้อบกพร่อง และการควบคุมกระบวนการในปัจจุบัน ในกรณีที่ข้อบกพร่องหนึ่งมีคะแนนความเสี่ยงชี้นำสูงแสดงถึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อบกพร่องนั้น คะแนนความเสี่ยงชี้นำมีค่าอยู่ระหว่าง 1 ถึง 1000 คะแนน ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จะเน้นแก้ไขข้อบกพร่องที่มีคะแนนความเสี่ยงชี้นำเกินกว่า 100 คะแนนเป็นหลัก ซึ่งการแก้ไขข้อบกพร่องนั้นมีทั้งการกำหนดมาตรฐานการทำงาน การจัดระบบรวบรวมข้อมูล การจัดทำอุปกรณ์ป้องกันพลาด การกำหนดแบบฟอร์มสำหรับการตรวจสอบ การจัดหาเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบ การฝึกอบรมพนักงาน และอื่นๆ หลังจากทางทีมงานผู้ชำนาญการทำการพิจารณาให้คะแนนความเสี่ยงชี้นำหลังจากการปฏิบัติการแก้ไขแล้ว พบว่าคะแนนความเสี่ยงชี้นำของข้อบกพร่องต่างๆ ลดลงมาก โดยมีคะแนนความเสี่ยงชี้นำลดลงต่ำกว่า 100 คะแนนอยู่ 15 รายการ ยังคงเหลืออีก 7 รายการที่สูงกว่า 100 คะแนน แต่เนื่องจากการการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวสามารถลดของเสียได้ตามเป้าหมายของการทำวิทยานิพนธ์ จึงยอมรับการแก้ไขดังกล่าวและทางทีมงานผู้ชำนาญการจะดำเนินการแก้ไขในโอกาสต่อไป ผลจากการปรับปรุงและลดของเสียตามขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวพบว่า จำนวนของเสียทั้งหมดลดลงจากเดิม 21.91% เหลือ 2.83% และ 2.81% ตามลำดับ จำนวนสีเป็นเม็ดลดลงจากเดิม 8.23% เหลือ 0.5% และ 0.66% ตามลำดับ จำนวนสีพองลดลงจากเดิม 5.83% เหลือ 1.11% และ 0.75% ตามลำดับ และสีเป็นรอยลดลงจากเดิม 4.48% เหลือ 0.74% และ 1.06% ตามลำดับ |
Other Abstract: | The objective of this thesis is to reduce defect in shock absorber painting process of motorcycles by using Fault Tree Analysis (FTA) and Failure Mode and Effects Analysis (FMEA) as the main quality tools. First of all, the conclusion of any problem makes main defect in shock absorber painting process, can be separated into granular colour, inflated colour and scratch colour by using quality tools to study the quality factors such as Brain Storming, Affinity Diagram, Relation Diagram and Metrix Diagram. After that FTA have been used to find the root causes of failure and FMEA to monitor and reduce the defect. The detail of FMEA is setting the professional team to evaluate the Risk Priority Number(RPN) of each problem by considering about the Severity, Occurrence and Detection. The highest RPN of problems means that the problem is easy to failure. The value of RPN is normally between 1 to 1,000 points. This thesis mainly concentrates on the correction of defects which is more than 100 points. The alternatives of solving are setting the work standardization, document control system, fool proved tools, check sheet, inspection instrument, training, etc. After the corrective action was done, the professional team had evaluated the RPN again. As the result of the evaluation, the new RPN after action decreased very fast. There are 15 items that lower than 100 points and 7 items still higher than 100 points. Because the corrective action could reduce defect by the target of this thesis so the professional team accepted this corrective action. By using such techniques, the result can be shown as the percentage of total defect before improvement is 21.91% after improvement is 2.83% and 2.81% respectively, the percentage of granular colour defect before improvement is 8.23% after improvement is 0.5% and 0.66% respectively, the percentage of inflated colour defect before improvement is 5.83% after improvement is 1.11% and 0.75% respectively and the percentage of scratch colour defect before improvement is 4.48% after improvement is 0.74% and 1.06% respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9546 |
ISBN: | 9741739702 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Khemiga.pdf | 6.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.