Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9564
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกรรณิการ์ สัจกุล-
dc.contributor.authorเหมราช เหมหงษา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-08-04T03:30:57Z-
dc.date.available2009-08-04T03:30:57Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743310894-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9564-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์บอกเล่า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการการถ่ายทอดการบรรเลงจะเข้ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงปัจจุบัน และศึกษาความรู้ในเชิงทฤษฎีและในเชิงปฏิบัติของกระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงจะเข้ รวมทั้งศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงจะเข้ในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จากการวิเคราะห์ความรู้ในเชิงทฤษฎีและความรู้ในเชิงปฏิบัติของกระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงจะเข้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ถึงปัจจุบัน พบว่า ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ก่อกำเนิดดุริยางคศิลปิน (เอตทัคคะ) ทางการบรรเลงจะเข้ด้วยกันทั้งหมด 6 ท่าน ได้แก่ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) หลวงว่องจะเข้รับ (โต กมลวาทิน) นายชุ่ม กมลวาทิน นายสังวาลย์ กุลวัลกี นายจ่าง แสงดาวเด่น และนายแสวง อภัยวงศ์ ดุริยางคศิลปินทั้ง 6 ท่าน ได้ถ่ายทอดทักษะการบรรเลงจะเข้โดยตรงแบบการสอนอย่างไทยโบราณ คือ 1. วิธีการสอนแบบตัวต่อตัว 2. วิธีการสอนแบบฝึกจำ 3. วิธีการสอนแบบให้เลียนแบบครู โดยเกิดเป็น สายทางการถ่ายทอดด้วยกัน 2 สาย คือสายครูระตี วิเศษสุรการ และสายครูทองดี สุจริตกุล จากการวิเคราะห์ความรู้ในเชิงทฤษฎีและในเชิงปฏิบัติของกระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงจะเข้ สายครูระตี วิเศษสุรการ และสายครูทองดี สุจริตกุล พบว่าครูระตี วิเศษสุรการ ได้ถ่ายทอดทักษะทางการบรรเลงจะเข้โดยตรงแบบ 1. การตรวจสอบพื้นฐานความสามารถของผู้เขียน 2. การปลูกฝังคุณธรรมของนักดนตรีไทย 3. วิธีการสอนแบบไทยโบราณ และครูทองดี สุจริตกุล ได้ถ่ายทอดทักษะทางการบรรเลงจะเข้แบบ 1. วิธีการสอนแบบไทยโบราณ 2. วิธีการสอนแบบการศึกษาอย่างเป็นทางการ 3. การปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมของนักดนตรีไทย โดยแต่เดิมในสมัยโบราณมักนิยมให้เรียนรู้ วิชาทฤษฎีจากให้ปฏิบัติจริง ซึ่งในปัจจุบันความรู้ในเชิงทฤษฎีและความรู้ในเชิงปฏิบัตินั้นนับเป็นสิ่งสำคัญเท่าๆ กัน เพราะเหตุว่าความรู้ในเชิงปฏิบัติได้ถูกนำมาสร้างให้เกิดความรู้ในเชิงทฤษฎีขึ้น เมื่อการศึกษาอย่างเป็นทางการ (Formal Education) มีบทบาทต่อสังคมไทยมากขึ้น จากการวิเคราะห์กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงจะเข้ ในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ พบว่า วิวัฒนาการการถ่ายทอดการบรรเลงจะเข้นั้นได้รับการอุปถัมภ์โดยตรงจากสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่พระองค์ทรงใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพของนักดนตรีไทย อันส่งผลให้วิธีการถ่ายทอดการบรรเลงจะเข้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการจากเดิมตามแบบโบราณซึ่งเป็นวิธีการถ่ายทอดแบบตัวต่อตัวได้กลายเป็นวิชาการศึกษาในระบบ (Formal Education)อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยมีการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของระบบการศึกษาในยุคปัจจุบัน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ที่มีมาแต่โบราณยังได้ถูกนำมาใช้ในกระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงจะเข้อยู่ตลอดเวลา คุณลักษณะที่ดีของครูไทยยังคงมีบทบาทแฝงอยู่ในกระบวนการเรียนการสอนอันก่อให้เกิดการขัดเกลาพฤติกรรมศิษย์ จนทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและความซาบซึ้งขึ้นในตัวศิษย์ และเกิดพัฒนาการในการถ่ายทอดการบรรเลงจะเข้สืบไปen
dc.description.abstractalternativeThis historical-oriented research, using the methodology of narrative history, aims to study the evolution of the transmission of Jakhae playing skills from the reign of King Rama VI until the present time and to study the theoretical and practical knowledge in this transmion of these artistic skills as well as the transmission process in both formal and informal manners. This analysis of theoretical knowledge and practical skills in Jakhae playing involved in the transmitting process from King Rama VI until the present time reveals that during the region of King Rama VI, there were 6 Jakhae virtuosos, namely: Phraya Prasaenduriyasap (Plaek Prasarnsap), Luang Wong Jakhae Rub (Toh Kamolawatin), Mr. Chum Kamolwatin, Mr. Chang Saengdaoden, Mr. Sangwan Kulawankee, Mr. Sawaeng Apaiwong. These Jakhae virtuosos transmitted directly skills in Jakhae playing in traditional Thai manner which consists of 1) a person-to-person teaching method 2) a memory-based teaching method 3) a teacher-imitating teaching method. In the transmission of knowledge and skills, two schools distringuished themselves, one under Master Ratee Wiseturakarn and the other under Master Thongdee Sucharikul. The study on theoretical knowledge and practical skills in Jakhae playing in the two schools shows that Master Ratee Wisetsurakarn transmitted musical skills in a direct fashion which consists of 1) checking the basic musical aptitude of the students 2) instilling ethical values of Thai musicians 3) using a traditional teaching method while Master Thongdee Sucharikul transmitted Jakhae-playing skills by 1) using a traditional teaching mehtod 2) using a formal educational method 3) instilling ethical values of Thai musicians. In the past, students were encouraged to derive theoretical knowledge from practice. Nowadays both theoretical knowledge and practical knowledge are of equal importance due to the fact that latter is used to develop theoretical knowledge as formal education gains more and more and more momentum in the Thai society. Analysis of the formal transmitting process of Jakhae-playing skills reveals that the kings were the patrons of these musical skills especially during the regign of King Rama VI who considered education as a means to develop a potential in Thai musicians. As a result, the transmitting process of Jakhae-playing skills shifted from a traditional process to a person-to-person teaching method which has become a subject of study in its own right in formal education with corricular development, a teaching process and the use of information technology in present-day education. However, the master-student relationship always continues to prevail in the transmitting process of Jakhae-playing skills. The characteristics of good Thai musical masters continues though discreetly in the teaching process with its beneficial influences on the students behavior. This leads to a body of knowledge, understanding and deep gratitude on the part of the students; thus contributing to the development of the transmitting process of Jakhae-playing skills.en
dc.format.extent1226538 bytes-
dc.format.extent889228 bytes-
dc.format.extent2081616 bytes-
dc.format.extent809787 bytes-
dc.format.extent2172241 bytes-
dc.format.extent1352573 bytes-
dc.format.extent1265115 bytes-
dc.format.extent1505220 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectระตี วิเศษสุรการen
dc.subjectทองดี สุจริตกุลen
dc.subjectจะเข้en
dc.subjectเครื่องดนตรีไทยen
dc.titleวิวัฒนาการการถ่ายทอดการบรรเลงจะเข้ : การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์en
dc.title.alternativeThe evolution of the transmission in jakhae performance : a historical researchen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพื้นฐานการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKanniga.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Hemarat_He_front.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Hemarat_He_ch1.pdf868.39 kBAdobe PDFView/Open
Hemarat_He_ch2.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Hemarat_He_ch3.pdf790.81 kBAdobe PDFView/Open
Hemarat_He_ch4.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open
Hemarat_He_ch5.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Hemarat_He_ch6.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Hemarat_He_back.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.