Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9569
Title: การวิเคราะห์ตำนานสุริยคราสและจันทรคราสของชนชาติไท
Other Titles: Analysis of the eclipse myths of the Tai peoples
Authors: ปฐม หงษ์สุวรรณ
Advisors: ศิราพร ณ ถลาง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Siraporn.N@Chula.ac.th
Subjects: สุริยุปราคา -- ตำนาน
จันทรุปราคา -- ตำนาน
ชาวไท
วรรณกรรมพื้นบ้าน
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาวิเคราะห์ตำนานสุริยคราสและจันทรคราสจำนวนต่างๆ ของชนชาติไทบางกลุ่ม อันได้แก่ ไทพ่าเก ไทใต้คง ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน ไทยยวน ไทยอีสาน ไทลาว ไทดำไทขาว ไทยภาคกลางและไทยภาคใต้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีผู้รวบรวมไว้แล้วส่วนหึ่ง ทั้งที่เป็นสำนวนลายลักษณ์และสำนวนมุขปาฐะ และข้อมูลภาคสนามที่ผู้วิจัยรวบรวมเพิ่มเติม โดยใช้กรอบแนวคิดทางด้านคติชนวิทยา เพื่อทำความเข้าใจในด้านโครงสร้างและเนื้อหาของตำนานสุริยคราสและจันทรคราส รวมทั้งความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับสุริยคราสและจันทรคราส ในการวิเคราะห์โครงสร้างและเนื้อหาของตำนานสุริยคราสและจันทรคราสของชนชาติไทนั้นผู้วิจัยได้อาศัยแนวคิดทฤษฎีของนักคิดสำนักโครงสร้างนิยมคือ Vladimir Propp และ Claude Levi-Strauss มาปรับใช้ในงานวิจัยนี้ ทั้งนี้เพื่อให้เห็นส่วนประกอบของตำนานเรื่องนี้ว่า ในแต่ละช่วงเหตุการณ์มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร หรือมีการผูกเรื่องหรือจัดวางลำดับเหตุการณ์อย่างไร ผลของการศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างของตำนานสุริยคราสและจันทรคราส สามารถแยกเป็นแบบเรื่องประเภทต่างๆ ได้ 4 ประเภทใหญ่ๆ ซึ่งแต่ละแบบเรื่องมีความสัมพันธ์กับคติความเชื่อและศาสนาที่ต่างกัน กล่าวคือ แบบเรื่องกบกินเดือน/ตะวัน เป็นคติความเชื่อดั้งเดิมของคนไทก่อนรับอิทธิพลทางพุทธศาสนา แบบเรื่องพี่น้องทะเลาะ/โกรธกันและแบบเรื่องพี่น้องไปเยี่ยมเยือนกัน เป็นแบบเรื่องที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนา และแบบเรื่องราหูอมจันทร์/อาทิตย์ เป็นแบบเรื่องในคติพราหมณ์-ฮินดู การวิเคราะห์เปรียบเทียบและเชื่อมโยงความคิดความเชื่อในตำนานสำนวนต่างๆ ดังกล่าวนี้ ทำให้เห็นพัฒนาการของตัวละครและพฤติกรรมของตัวละคร ที่สะท้อนพัฒนาการทางความคิดและความเชื่อทางศาสนาในสังคมวัฒนธรรมของชนชาติไท
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study the solar and the lunar eclipse myths of the Tai peoples, namely Tai Phake, Tai Dehong, Tai Yai, Tai Khoen, Tai Yuan (Northern Thai), Tai Isan (Northeastern Thai), Lao, Black Tai, While Tai as well as Central Thai and Southern Thai. Versions of myths, both oral and written were compiled from available sources and additional versions were collected from the field. This thesis uses folklore theories to analyze the structure and the content of these myths and the beliefs and rituals related to the myths. In analyzing the structure and the content of the Tai eclipse myths, Vladimir Propp's and Claude Levi-Strauss's structural theories were used. By comparing the structure of the myths, four myth types can be classified; first, "the frog eating the moon/the sun"; second, "the quarrels between siblings"; third, "the elder brother visiting the younger brother"; and fourth, Rahu eating the moon/the sun." The first myth type is found to be the oldest kind of stories representing Tai indigenous beliefs. The second and the third myth types are the versions that have Buddhist influence, whereas the fourth reflects the Hinduist influence. The analysis of the myths also reflects the transformation of the characters and their behaviors, such transformation sysbolizes the development of the religious beliefs in the Tai cultures.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9569
ISBN: 9743329722
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pathom_Ho_front.pdf780.38 kBAdobe PDFView/Open
Pathom_Ho_ch1.pdf815.4 kBAdobe PDFView/Open
Pathom_Ho_ch2.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Pathom_Ho_ch3.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Pathom_Ho_ch4.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Pathom_Ho_ch5.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Pathom_Ho_ch6.pdf730.59 kBAdobe PDFView/Open
Pathom_Ho_back.pdf874.05 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.