Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9578
Title: ฐานะและความสำคัญของเมืองตรัง พ.ศ. 2352-2440
Other Titles: Trang during 1809-1897 : its status and importance
Authors: ดรุณี แก้วม่วง
Advisors: ปิยนาถ บุนนาค
ณรงค์ พ่วงพิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Piyanart.B@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ตรัง -- ประวัติศาสตร์
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจะศึกษาถึงฐานะทางการเมือง การปกครอง การเศรษฐกิจของเมืองตรัง ที่มีความสำคัญขึ้นเป็นระยะ ๆ แล้วแต่ปัจจัยที่มาเกื้อหนุนในแต่ละครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2352- พ.ศ. 2440 ซึ่งตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจัยที่ส่งเสริมฐานะ และความสำคัญของเมืองตรังมีทั้งปัจจัยภายใน และภายนอกประเทศ ปัจจัยภายในคือ สภาพทางภูมิศาสตร์ของเมืองตรัง ผลจากการที่หัวเมืองไทรบุรีต้องการหลุดพ้นจากการปกครองของไทย ผลจากการก่อความไม่สงบของชาวจีน ผลของการสักเลข (การที่ไพร่ และทาสต้องถูกสักหมายหมู่เพื่อบอกสังกัด โดยทั่วไปจะถูกสักบริเวณข้อมือด้วยวิธีการเอาเหล็กแหลมแทงลงระยะหมึกที่เขียนไว้) ปัญหาโจรผู้ร้าย ผลของการเสด็จประพาสหัวเมืองฝั่งตะวันตกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ ผลของการขยายอำนาจ และอิทธิพลของประเทศจักรวรรดินิยมตะวันตก ปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดเหตุการณ์และปัญหาที่เสริมให้เมืองตรังมีบทบาทสำคัญขึ้นเป็นระยะ ๆ ฐานะและความสำคัญของเมืองตรังในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2352-พ.ศ. 2440 มีดังนี้ ระหว่างปี พ.ศ. 2352-พ.ศ. 2381 มีฐานะเป็นเมืองด่านป้องกันศึกพม่า เป็นฐานทัพเรือแห่งเดียวในหัวเมืองแถบนี้ เป็นเมืองท่าส่งสินค้าของเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองข้างเคียงได้แก่ ช้าง ดีบุก ผลิตภัณฑ์จากป่า ไปขายที่ปีนัง อินเดีย ชวา ระหว่างปี พ.ศ. 2421-พ.ศ. 2440 ความสำคัญของเมืองตรังเปลี่ยนไป คือ มีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของข้าหลวงพิเศษประจำหัวเมืองฝั่งตะวันตกของไทย เมืองท่าค้าขายสินค้าจากเมืองตรัง เมืองเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดของหัวเมืองฝั่งตะวันตก (มณฑลภูเก็ต) เมืองศูนย์กลางการคมนาคมทางบกเมืองหนึ่งทางภาคใต้ของไทย นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ช่วยเกื้อหนุนให้เมืองตรังมีความสำคัญขึ้นแล้ว ยังมีบุคคลสำคัญอีกหลายคนที่มีส่วนทำนุบำรุงเมืองตรังให้เจริญก้าวหน้าขึ้น คือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้) ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้มาทำนุบำรุงเมืองตรังให้เจริญขึ้นจากเมืองเล็กที่ไม่เป็นที่รู้จัก เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ มาก และความคมนาคมไม่สะดวก เมื่อเมืองตรังได้รับการทำนุบำรุงแล้ว ทำให้เมืองตรังมีความสำคัญขึ้นมา โดยมีปัจจัยที่กล่าวมาแล้วช่วยเกื้อหนุนด้วย แต่เมืองตรังไม่เป็นที่รู้จักดีเท่าที่ควร เพราะว่าความสำคัญของเมืองตรังนั้นเกิดเพียงชั่วระยะหนึ่ง แล้วจางหายไป หรือเปลี่ยนไป ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจ นโยบายทางการเมืองการปกครองบางอย่างที่ทำให้กรุงเทพฯ สนใจและมุ่งปรับปรุงเมืองข้างเคียงที่เห็นว่าสำคัญกว่าก่อน เช่น เมืองภูเก็ต พังงา ระนอง สาเหตุดังกล่าวได้ส่งผลกระทบที่ทำให้เมืองตรังหยุดชะงักความสำคัญไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง
Other Abstract: This thesis aims at studying the political and economic status of Trang. Its importance varied periodically in accordance with various factors. The period which is discussed in this thesis includes the years from 1809-1897, in the reigns of King Rama II and King Rama V. There were both internal and external factors. The internal factors were geographical conditions, the desire of Saiburi provinces to gain freedom from the Thai government, the disorder caused by the Chinese, the problem of "Suk-Lek" (Soldiers and slaves had numbers tattooed on them to indicate their units. They were generally tatooed on the wrist with a pointed iron and ink.), the problems of criminals and the fact of King Rama V's visit to the western provinces. The external factors were the expansion of western imperialism. All these factors brought about the circumstances which made Trang important for a period. The status and importance of Trang between the years 1809 and 1897 can be summarised as follows: From 1809-1838: Trang was a fortress town intended to oppose the Burmese enemy, the sole Thai naval base, and a port sending merchandise like rice, tin and products from the forests which came from Nakhon Si Thammarat and neighboring towns to Penang, India, and Java. From 1878-1897: Trang became an administrative center of the commissioner of the western provinces, a port, the biggest agricultural town in the west coast provinces (Monthon Puket), and a land communications center for the south of Thailand. Many important persons were involved in the progress of Trang. They were Chao Phraya Nakhon Si Thammarat (Noi), Somdet Chao Phraya Borom Maha Srisuriyawongse (Chuang), and Phraya Radchadanupraditmahitsornphakdi (Koe Sim Bee). They helped develop Trang, which formerly had been a small town and relatively unknow due to the long distance from Bangkok and the inconvenience of communication. For a time, then, Trang became important, but its fame and its importance were limited in that they existed only for a period. This was due to certain economic and administrative policies as a result of which Bangkok gave importance to neighboring towns such as Phuket, Panga and Ranong. So the importance of Trang faded out after a period of time.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9578
ISBN: 9745626597
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Darunee.pdf31.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.