Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9588
Title: ความรู้ เจตคติ ค่านิยม ความเชื่อและการรับรู้ กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชนแออัด เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Knowledge, attitudes, values, beliefs, perception and health behaviors of population in congested communities in Bangruk District, Bangkok Metropolis
Authors: ปิยวรรณ ค้ำพันธุ์
Advisors: บดี ธนะมั่น
ทศพร วิมลเก็จ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: fmedbdm@md.chula.ac.th
Thosporn.V@Chula.ac.th
Subjects: พฤติกรรมสุขภาพ
ชุมชนแออัด
ความเชื่อด้านสุขภาพ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่งคุณลักษณะด้านประชากร และปัจจัยด้านความรู้ การรับรู้ กับพฤติกรรมสุขภาพ ของประชาชนในชุมชนแออัด เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยอาศัยกรอบแนวคิดจาก Precede-proceed Model ของกรีนและกรูเธอร์ ทำการเลือกชุมชนตัวอย่างแบบง่าย 5 ชุมชน จากชุมชนแออัด 16 ชุมชนในเขตบางรัก และสุ่มตัวอย่างประชากรแบบเป็นระบบจากชุมชนตัวอย่าง จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยสถิติไคสแคว์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แทน Mann-Whitney U test และ Kruskal-Wallis H test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพในระดับปานกลาง เมื่อแยกวิเคราะห์เป็นรายด้านพบว่า พฤติกรรมสุขภาพที่มีคะแนนเฉลี่ยในระดับดีมาก คือ การไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พฤติกรรมสุขภาพในระดับดี ได้แก่ การบริโภคอาหาร การไม่สูบบุหรี่ และการจัดการกับความเครียด ส่วนพฤติกรรมสุขภาพที่มีระดับไม่เหมาะสม ได้แก่ การออกกำลังกายและการตรวจสุขภาพประจำปี ในด้านปัจจัยด้านความรู้-การรับรู้ ได้แก่ ความรู้ เจตคติ ค่านิยม ความเชื่อและการรับรู้ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ปัจจัย คุณลักษณะด้านประชากร ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพได้แก่ อาชีพ รายได้ครอบครัว และศาสนา (p<.05) ปัจจัยด้านความรู้-การรับรู้ ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000) ได้แก่ ค่านิยมทางสุขภาพ โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (rs = 0.612) ความรู้ และเจตคติ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ (p = .001, .038) ในทิศทางตรงข้ามกัน ความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ (rs = -0.159, -0.104) ส่วนปัจจัยด้านความเชื่อและการรับรู้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .150) จากผลการวิจัย ควรมีกิจกรรมการดำเนินงานส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนแออัดมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย และการตรวจสุขภาพประจำปี มีโครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยคำนึงถึงความแตกต่างของอาชีพ รายได้ครอบครัว และศาสนา และมีการสร้างเสริมค่านิยมทางสุขภาพที่ถูกต้องให้กับประชาชน เพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป
Other Abstract: The purpose of this cross-sectional descriptive study were to assess health behaviors and cognitive-perceptual factors and their relationships with demographic characteristics among population in congested communities of Bangruk District, Bangkok Metropotis. The study framework based on Precede-proceed model (Green and Kreuter, 1991). The sample of 5 communities were selected by simple random sampling from 16 congested communities in Bangkok District. The sample of 400 people was selected by systematic sampling from the five communities. The data collection was done through interview by structured questionnaires and analyzed by descriptive statistics--percentage, mean, standard deviation--and inferential statistics--Chi-square test, Spearman rank correlation coefficient, Mann-Whitney U test and Kruskal-Wallis H test. It was found that the mean score of the studied population's health behaviors was in moderate level. When specific health behaviors were analyzed, the study indicated that avoidance of alcoholic beverages was ranked highest by the mean score. Behaviors with good scores included appropriate food consumption, non-smoking habit and stress management. Behaviors with poor mean scores were exercises or sports, routine annual physical check up. The cognitive-perceptual factors such as knowledge, attitudes, values, belief and perception had moderate mean scores. The demographic characteristics including occupation, family income religion were significantly associated with health behaviors (p<.05). Health values had moderately positive correlation with health behaviors. (rs = 0.612). Whereas knowledge and attitudes had significant negative correlation with health behaviors despite the lower level. (rs = -0.159 and -0.104 respectively). However, belief and perception were not significantly associated with health behaviors (p = .150). In conclusion, it is recommended to promote population in congested communities to change their health behaviors on exercises or sport and routine annual physical check up, in addition to many health behaviors development projects by which the difference of occupation, family income and religion among the population should be taken into consideration in order to enhance the proper health values and behaviors.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9588
ISBN: 9743337105
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyawan_Ka_front.pdf797.32 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ka_ch1.pdf802.34 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ka_ch2.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ka_ch3.pdf807.29 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ka_ch4.pdf934.4 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ka_ch5.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ka_back.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.