Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9593
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวลัย อารุณี-
dc.contributor.advisorสุวัฒนา อุทัยรัตน์-
dc.contributor.authorชฎาพร พัชรัษเฐียร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-08-04T06:46:43Z-
dc.date.available2009-08-04T06:46:43Z-
dc.date.issued2525-
dc.identifier.isbn9745609846-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9593-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับค่านิยมทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ในเรื่อง การรักษาความอิสระ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย การเคารพระบบอาวุโส การถือพรรคถือพวก การตรงต่อเวลา การประหยัดมัธยัสถ์ การนิยมไทย การบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ และการพึ่งตนเอง 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นด้านค่านิยมทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกับตอนปลาย 3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นด้านค่านิยมทางสังคมของนักเรียนที่มีองค์ประกอบต่อไปนี้ต่างกัน คือฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว พื้นฐานการศึกษาของบิดา มารดา ลักษณะอาชีพของบิดามารดา สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของนักเรียน การอบรมเลี้ยงดูบูตรของบิดามารดา สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และช่วงเวลาเฉพาะที่มีการสอนค่านิยมทางสังคมในโรงเรียนง่ายจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร 8 โรงเรียน เป็นโรงเรียนรัฐบาล 4 โรง โรงเรียนราษฎร์ 4 โรง จำนวน 800 คน ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับค่านิยมทางสังคมแบบมาตราส่วนประเมินค่ามีคำตอบ 5 ระดับ จำนวน 88 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ หาค่ามัชฌิมเลขคณิต (X) หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบค่าไคสแควร์ (X2) สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับค่านิยมทางสังคม 10 ประการ อยู่ในเกณฑ์เห็นด้วย ในการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับค่านิยมทางสังคมระหว่างนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายมีความคิดเห็นเกี่ยวกับค่านิยมทางสังคมไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ในเรื่อง การเคารพอาวุโส การถือพรรคถือพวก การตรงต่อเวลา การประหยัดมัธยัสถ์ และการนิยมไทย นักเรียนทั้งสองระดับมีความคิดเห็นเกี่ยวกับค่านิยมทางสังคมแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ในเรื่อง การรักอิสระ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย การบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ และการพึ่งตนเอง และพบว่านักเรียนที่บิดามารดามีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับค่านิยมทางสังคมต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 แต่ปรากฎว่า นักเรียนที่บิดามารดามีระดับการศึกษา อาชีพ การให้การอบรมเลี้ยงดูบุตรต่างกัน และนักเรียนที่สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย สภาพแวดล้อมของโรงเรียนรวมทั้งช่วงเวลาเฉพาะที่มีการสอนค่านิยมทางสังคมในโรงเรียนที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับค่านิยมทางสังคมไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05en
dc.description.abstractalternativePurpose: The purposes of this research were (1) to determine the opinions concerning the social values of the secondary school students in Bangkok Metropolis on 10 aspects as follows independence, responsibility, discipline, respect for seniority, patronage system, punctuality, thriftiness, Thaism, self-sacrifice and self-dependence, (2) to compare the opinions concerning social values between the lower secondary school students and the upper secondary school students, and (3) to compare the effect of different factors such as parents' economic status, educational background, occupation, residential area, patterns of child rearing, school environment and specific time of teaching social values in school upon students' opinions concerning social values. Procedures: Eight hundred secondary school students from four secondary government schools and four private schools in Bangkok Metropolis were simple randomly sampled. The Likert rating-scale questionnaire with 88 items expressing social values constructed by the writer was administered to the subjects selected. The results of the questionnaire were analyzed by percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test and chi-square test. Conclusions: The results of the study were as follow: The majority of the secondary school students in Bangkok Metropolis agreed with ten social values aspects. By studying comparatively the opinions concerning social values between the lower secondary school students and the upper secondary school students, there were no statistical significances at the level of 0.05 on respect for seniority, patronage system, punctuality, thriftiness, and Thaism. But there were significant differences at the level of 0.05 on the opinions towards independence, responsibility, discipline, self-sacrifice and self-dependence. By studying the different factors affecting students' opinions, there was significant differences at the level of 0.05 between opinions concerning social values of students with different parents' economic status. There was no statistical significances at the level of 0.05 on the opinions concerning social values of students and the different parents' educational background, occupation, residential area, pattern of child rearing, school environment period of teaching social and specific time of teaching social values in schools.en
dc.format.extent16785654 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectค่านิยมสังคมen
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาen
dc.titleความคิดเห็นเกี่ยวกับค่านิยมทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeOpinions concerning social values of secondary school students in Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorSuwattana.U@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chadaporn.pdf16.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.